ความเชื่อในพิธีกรรมกับความเปลี่ยนแปลงในการดำรงชีวิต ของกลุ่มชาติพันธุ์กะเหรี่ยงสะกอ บ้านห้วยตอง ตำบลแม่วิน อำเภอแม่วาง จังหวัดเชียงใหม่
คำสำคัญ:
ความเชื่อ, การดำรงชีวิต, กลุ่มชาติพันธุ์กะเหรี่ยงบทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความเชื่อที่เกี่ยวกับการดำรงชีวิต และกระบวนการปรับเปลี่ยน การดำรงชีวิตของกลุ่มชาติพันธุ์กะเหรี่ยงสะกอบ้านห้วยตอง ตำบลแม่วิน อำเภอแม่วาง จังหวัดเชียงใหม่ เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสัมภาษณ์ ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ คือ ปราชญ์ชาวบ้าน จำนวน 5 คน ผู้นำทางการและไม่เป็นทางการ จำนวน 5 คน และกลุ่มเยาวชนในชุมชน จำนวน 5 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิจัย พบว่า กลุ่มชาติพันธุ์กะเหรี่ยงสะกอบ้านห้วยตอง ตำบลแม่วิน อำเภอแม่วาง จังหวัดเชียงใหม่ มีความเชื่อและประกอบพิธีกรรม จำนวน 2 รูปแบบ ได้แก่ 1) พิธีกรรมปิดที่บุคคลภายนอกไม่สามารถเข้าร่วมกิจกรรมได้ และ 2) พิธีกรรมเปิดเป็นพิธีกรรมที่บุคคลภายนอกสามารถเข้าร่วมกิจกรรมได้ เช่น พิธีมัดมือ พิธีเลี้ยงผีฝาย พิธีการแต่งงาน ซึ่งความเชื่อในพิธีกรรมมีส่วนประกอบที่สำคัญ คือ เหล้า ไก่ และหมู สำหรับใช้ประกอบการเลี้ยงผีต่าง ๆ ยกเว้นพิธีการเกิดที่ไม่มีเหล้า เพราะเชื่อว่าชีวิตแรกของคนเป็นชีวิตที่บริสุทธิ์ ซึ่งความเชื่อเหล่านี้ ยังคงดำเนินอยู่ในวิถีชีวิตของกลุ่มชาติพันธุ์กะเหรี่ยง รวมถึงงการปรับเปลี่ยนอาชีพจากการทำนา เป็นการปลูกผัก และปลูกผลไม้ จึงส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงของพิธีกรรม ทำให้พิธีกรรมที่เกี่ยวเนื่องกับอาชีพค่อย ๆ สูญหาย สืบเนื่องจากพิธีกรรมเหล่านี้ขัดกับอาชีพการทำงานในปัจจุบัน ส่วนการคงอยู่ทางความเชื่อและพิธีกรรมของ กลุ่มชาติพันธุ์กะเหรี่ยง คือ การแต่งงาน โดยผู้หญิงกะเหรี่ยงจะต้องเป็นผู้ที่สู่ขอผู้ชาย และสินสอดนำมาสู่ขอ คือ หมู ดังนั้นผู้หญิงกะเหรี่ยงจึงต้องเลี้ยงหมูเพื่อใช้ในงานแต่งงาน
References
กมลชนก จันทร์แดง, ขวัญฤทัย บุญเนตร และ นัฐพร อุตะมะ. (2561). ความเชื่อ. ลำปาง: วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีนครลำปาง.
จักรพันธ์ เพียรพนัสสัก. (2543). ภูมิปัญญาชาวบ้านในพิธีกรรมของชุมชนกะเหรี่ยง. (วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต) เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
ฉัตรทิพย์ สุวรรณชิน และพนมพร จันทรปัญญา. (2558). การสร้างอัตลักษณ์ของผู้เรียนในระดับอุดมศึกษา. วารสารปัญญาภิวัฒน์. 7(2), 267-280.
ทวีศักดิ์ กิตฺติญาโณ (วรกิจเจริญวงค์). (2561). การเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตของชุมชนกะเหรี่ยง บ้านพระบาทห้วยต้ม ตำบลนาทราย อำเภอลี้ จังหวัดลำพูน. วารสารปัญญา. 25(1), 51-63.
ทองจันทร์ ลัดวิไล (2556). การจัดการผลกระทบทางสังคม-วัฒนธรรมและสิ่งแวดล้อมจากการเปลี่ยนแปลงกระบวนการทอผ้าพื้นบ้าน บ้านนายางใต้ เมืองน้ำบาก แขวงหลวงพระบาง. สืบค้นจาก: https://cmudc.library.cmu.ac.th
มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี. (ม.ป.ป.). บทที่ 8 ความเชื่อ (Beliefs) พิธีกรรม (Rituals) คาถาอาคม (Magic) ภาษา (Language) และคติชาวบ้าน (Folklore). สืบค้นจาก: http://www.udru.ac.th
มูลนิธิโครงการหลวง. (2555). ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงทุ่งหลวง. สืบค้นจาก https://royalprojectthailand. com/tungluang
ศศิธร ศรีรัตน์. (2561). การเปลี่ยนแปลงและการคงอยู่ทางความเชื่อและพิธีกรรมของกลุ่มชาติพันธุ์กะเหรี่ยง ตำบลสะเมิงใต้ อำเภอสะเมิง จังหวัดเชียงใหม่. (รายงานผลการวิจัย). เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่.
ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอแม่วาง. (2564). ข้อมูลทั่วไปของตำบลแม่วิน. สืบค้นจาก http://cm.nfe.go.th
ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร. (2564). กลุ่มชาติพันธุ์ : กะเหรี่ยง (ปกาเกอะญอ). สืบค้นจาก https://www.sac.or.th
สามารถ รอดสันเทียะ, ประมาณ เทพสงเคราะห์, สืบพงศ์ ธรรมชาติ และอุทิศ สังขรัตน์. (2559). วัฒนธรรมไทยที่ใช้เป็นฐานในการพัฒนาชุมชน : กรณีศึกษา ชุมชนบ้านกำแพงเพชร อำเภอรัตภูมิ จังหวัดสงขลา. วารสารมนุษยศาสตร์สังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ. 11(2), 97-117.
สำนักข่าวแห่งชาติ. (2561). ชนเผ่ากะเหรี่ยงในอำเภอแม่สะเรียง จังหวัดแม่ฮ่องสอน จัดงานประเพณีผูกข้อมือเรียกขวัญเดือนเก้า. สืบค้นจาก http://nwnt.prd.go.th/CenterWeb/News/ NewsDetail?NT01 _NewsID=TNART6108270010001
สำนักสร้างสรรค์โอกาส. (2563). “เลี้ยงผีฝาย” สืบทอดจิตวิญญาณชาวปกาเกอะญอ “บ้านขวัญคีรี”. สืบค้นจาก https://opengrant.thaihealth.or.th/th/News/6/105/“เลี้ยงผีฝาย”-สืบทอดจิตวิญญาณชาวปกาเกอะญอ-“บ้านขวัญคีรี”.html
Worachet. (2551). พิธีแต่งงานของชาวปกาเกอะญอ(กะเหรี่ยง) ณ บ้านแม่กลางหลวง ดอยอินทนนท์. สืบค้นจาก http://topicstock.pantip.com/blueplanet/topicstock/2008/10/E7118954/E7118954.html
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2022 สำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
1. บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ใน “วารสารข่วงผญา” ถือเป็นลิขสิทธิ์ของสำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือกระทำการใดๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจาก สำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
2. เนื้อหาบทความที่ปรากฏในวารสารเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรง ซึ่งกองบรรณาธิการวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วยหรือร่วมรับผิดชอบใดๆ