การตลาดแบบบูรณาการเพื่อการสร้างภาพลักษณ์การท่องเที่ยวเชิงนิเวศโดยชุมชนปาเกาะญอ จังหวัดเชียงใหม่

ผู้แต่ง

  • ณฐาพัชร์ วรพงศ์พัชร์ ศูนย์ถ่ายทอดองค์ความรู้ เทคโนโลยี นวัตกรรมชุมชน ผู้ประกอบการ การท่องเที่ยว และการศึกษา สถาบันเทคโนโลยีนวัตกรรมทางการศึกษาและการวิจัยแห่งสุวรรณภูมิ

คำสำคัญ:

อัตลักษณ์, การท่องเที่ยวเชิงนิเวศ, ความยั่งยืน

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้เพื่อศึกษาการพัฒนากลยุทธ์ทางการตลาดแบบบูรณาการ การสร้างภาพลักษณ์การท่องเที่ยวเชิงนิเวศ โดยชุมชนปาเกาะญอ จังหวัดเชียงใหม่ เพื่อความยั่งยืน ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง คือ เจ้าหน้าที่ภาครัฐ เอกชน ปราชญ์ชาวบ้าน และกลุ่มผู้มีส่วนได้เสียในชุมชนปาเกาะญอ การสุ่มเลือกกลุ่มตัวอย่างด้วยวิธีการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) จากประชากรที่มีความสนใจในการรวมกลุ่มเพื่อจัดการการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ จำนวน 20 ราย เก็บรวบรวมข้อมูลจากการสัมภาษณ์ และวิเคราะห์ข้อมูลโดยวิธีวิเคราะห์เนื้อหา

ผลการวิจัย พบว่า แนวทางกลยุทธ์ที่เหมาะสมกับการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ โดยชุมชนปาเกาะญอ เพื่อให้เกิดความยั่งยืน ได้แก่ กลยุทธ์เร่งสร้างการเติบโตขยายองค์กร โดยกลยุทธ์ที่นำมาบูรณาการได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม คือ 1. การพัฒนาผลิตภัณฑ์  ได้แก่ การพัฒนาตลาดใหม่ การพัฒนารูปแบบของการท่องเที่ยวเชิงนิเวศให้มีความหลากหลาย เพื่อดึงดูดความสนใจ และ การพัฒนาออกแบบตราอัตลักษณ์ของตราสินค้าที่สื่อความหมายของการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ  2. กลยุทธ์การเจาะตลาด ได้แก่ การสร้างความตระหนักรู้ในอัตลักษณ์การท่องเที่ยวและการให้บริการ โดยกลวิธีการสื่อสารการตลาดผ่านวิถีชีวิตประเพณีความเชื่อ และการสื่อสารองค์กรแบบองค์รวม การให้ข้อมูลข่าวสารหลักปรัชญาวิถี ชีวิตของชาวชุมชน และเพิ่มช่องทางการตลาดออนไลน์ และ 3. การมุ่งพัฒนาการตลาด ได้แก่ การสำรวจวิจัยตลาดเพื่อพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงนิเวศน์ การใช้กลยุทธ์ผลิตภัณฑ์ และการออกแบบรูปแบบการท่องเที่ยวต้นน้ำถึงปลายน้ำ

References

ขนิษฐา พนาวัลย์. (2564). การศึกษาประสิทธิผลของการสื่อสารการตลาดดิจิทัลผ่านแพลตฟอร์มเฟซบุ๊ก (Facebook) ของธุรกิจโรงแรมขนาดเล็กแบรนด์ Eden Boutique Hotel กรณีศึกษาเนื้อหาการสื่อสาร (Content) ที่สามารถดึงดูดผู้บริโภคให้เกิดการมีส่วนร่วมและเกิดยอดขาย. (การค้นคว้าอิสระ). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

ณฐาพัชร์ วรพงศ์พัชร์. (2565). ส่วนประสมทางการตลาดและการตัดสินใจท่องเที่ยวตลาดน้ำวัดตะเคียน นนทบุรี

ในสถานะการณ์โควิค 19. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มมร วิทยาเขตอีสาน [jhsmbuisc], 3(2), 33-53.

ณฐาพัชร์ วรพงศ์พัชร์. (2564). พฤติกรรมการเปิดรับการสื่อสารการตลาดดิจิทัลของนักท่องเที่ยวประเภทวางแผนการเดินทางเอง กรณีศึกษากลุ่มนักท่องเที่ยวชาวเอเชียน. วารสารวิชาการและวิจัย มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ [NEUARJ], 11(1), 304-318.

ตรีธวัฒน์ มีสมศักดิ์. (2023). การปรับตัวในการจัดงานอีเวนต์เชิงวัฒนธรรมหลังสถานการณ์โรคระบาคโควิด-19 กรณีศึกษา: กิจกรรมงานรําลึกสมเด็จพระนเรศวรมหาราชจังหวัดพระนครศรีอยุธยา. วารสารมนุษยศาสตร์และ สังคมศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา, 17(1), 245-266.

ธนภร จรูญนิมมาน. (2023). 11. กลยุทธ์นวัตกรรมบริการและการตลาดบริการที่ส่งผลต่อการตัดสินใจใช้บริการของ ลูกค้าธุรกิจที่พักแรมในจังหวัดชุมพร. วารสารวิชาการวิทยาลัยสันตพล, 9(1), 106-118.

บุญเพ็ญ สิทธิวงษา, อาทิตย์ แสงเฉวก, และกนกอร บุญมี. (2023). การบริหารจัดการท้องถิ่นเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ตามแนวชายแดนจังหวัดหนองคายและบึงกาฬ. วารสารสังคมศาสตร์มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย, 5(2),

-66.

ปรียา สมพืช, และปรัชญา ทองชุม. (2023). การพัฒนาสติกเกอร์ไลน์เพื่อเพิ่มช่องทางการสื่อสารการตลาด ผลิตภัณฑ์ของชุมชนเมืองมะดันจังหวัดนครนายก. วารสารการพัฒนาชุมชนและคุณภาพชีวิต, 11(1), 21-33.

สมเกียรติ รุ่งเรืองวิริยะ, และกฤษณ์ ทองเลิศ. (2023). การเล่าเรื่องเพื่อการสื่อสารภาพลักษณ์มหาวิทยาลัยรังสิต สู่สังคมธรรมาธิปไตย. วารสารนิเทศศาสตรปริทัศน์, 27(1), 83-94.

สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอปาย จังหวัดแม่ฮ่องสอน. (ม.ป.ป.). ประวัติความเป็นมา. สืบค้นจาก https://district.cdd.

go.th

Sprott, D. E. (2003). Grocery price setting and quantity surcharges. Journal of Marketing,67(3), pp. 34-46.

Department of Tourism. (2015). The study for the development of tourist attraction under the project of increasing water in the reservoir of Mae Kuang Udomthara dam, Chiang Mai. Chiang Mai: Chiang Mai Department of Tourism.

Koster, E. H. (1996). Science culture and cultural tourism. In Mike Robinson, Nigel Evans and Paul Callaghan, eds. Tourism and cultural change: Tourism and culture towards the 21st Century

(pp. 227–238). Sunderland: The Center for Travel and Tourism and Business Education.

Leu, W. (2000). Public-private partnership in tourism development between Wish and Reality. Paper Presented at the ESCAP/TAT/WTO Asia-Pacific Seminar on Public- Private Partnership in Tourism Development, United Nations Conference Center, Bangkok, pp. 20-22.

Ntapat,W. (2021). Capacity building on digital marketing management for sustainable cultural tourism in western provincial communities. Journal of Social Communication Innovation College of Social Communication Innovation Srinakharinwirot University[jcosci], 9(2), 124-131.

Porter, M. E. (1990). The Competitive advantage of nations: With a new introduction. New York: Free Press. pp. 25-28.

Pimonsompong,C. (2017). Tourism Research: Principle to practice in social reflective perspective. Journal of Business Economics and Communications, 12(1), 1-5.

Pongwiritthon, R. (2017). Participatory information system development on hydroelectric energy by the community member to their People: Doi Pu Muen. Journal of Business, Economics and Communications, 12(2), 79-92.

Thai Tambon. (2015). Information of Thung Yao district, Pai, Mae Hong Son. Retrieved September, 15, 2016, from http://thaitambon.com/tambon/580305

Wongsunopparat, S. (2012). Offensive marketing strategy. Retrieved March, 23, 2017, from http:// www.marketeer.co.th/inside_detail.php?inside_id=2893

Yeshin, T. (1998). Integrated marketing communications: The holistic approach. Oxford: Butter worth-Heinemann.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

21-06-2023