การยกระดับภูมิปัญญาผ้าทอชุมชนสู่การค้าเชิงพาณิชย์ กรณีศึกษาผ้าทอไทลื้อ บ้านลวงเหนือ ตำบลลวงเหนือ อำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่

ผู้แต่ง

  • สุนิตา สุติยะ นักวิชาการอิสระ
  • ชนาภา โพธิ์ศรี นักวิชาการอิสระ
  • พัชรพล หงษ์เหาะ นักวิชาการอิสระ
  • คณิศร ตระกูลพิทักษ์กิจ นักวิชาการอิสระ
  • ธนารัตน์ ธนะปัด นักวิชาการอิสระ

คำสำคัญ:

: การยกระดับ , ภูมิปัญญา , ชุมชนท้องถิ่น

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาภูมิปัญญาผ้าทอไทลื้อ ศึกษาความต้องการพัฒนาผลิตภัณฑ์ของชุมชนไทลื้อ และศึกษาแนวทางการยกระดับการนำผ้าทอไทลื้อไปประยุกต์ใช้เป็นผลิตภัณฑ์ กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยครั้งนี้ คือ ตัวแทนสมาชิกในศูนย์การเรียนรู้ภูมิปัญญาไทยไตลื้อบ้านใบบุญ ตำบลลวงเหนือ  อำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่ โดยใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง จำนวน 13 คน สำหรับเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ การสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth interview)  การบรรยายและการพรรณนาความ ในการวิเคราะห์ข้อมูลประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการศึกษา

        ผลวิจัยพบว่า ความเป็นมาของภูมิปัญญาผ้าทอไทลื้อบ้านลวงเหนือ คนไทลื้อจะใช้ชีวิตท่ามกลางความเป็นอยู่ที่เรียบง่าย และอยู่ร่วมกับคนพื้นเมืองล้านนาได้อย่างกลมกลืน แต่มีสิ่งหนึ่งที่ยังคงอยู่และไม่เคยเลือนหาย คือ ภาษาพูด และการแต่งกายด้วยผ้าฝ้ายทอมือแบบไทลื้อ ผู้หญิงไทลื้อจะเรียนรู้การทอผ้าจากมารดาโดยใช้ฐานทรัพยากรที่มีอยู่ในชุมชน ปัจจุบันคนในชุมชนมีต้องการต่อยอดผลิตภัณฑ์ การออกแบบผลิตภัณฑ์ผ้าทอไทลื้อแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ โดยทางกลุ่มต้องการพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้มีความทันสมัย สร้างความพึงพอใจให้กับผู้บริโภค ด้วยการต่อยอดทำเป็นผลิตภัณฑ์อื่น ๆ เช่น ถุงย่าม หมวก      มาสก์ และกระเป๋า โดยมีแนวทางในการยกระดับผ้าทอไทลื้อ คือ ผ้าทอที่มีลวดลายคงความเป็นเอกลักษณ์ของบ้านลวงเหนือ โดยเน้นคุณภาพของผ้าทอให้ดีขึ้นจากเดิม ด้วยการใส่ลายลวงเล่นฝ้าหรือลายลวงเล่นเมฆเข้าไป แต่ยังคงความเป็นอัตลักษณ์ของชาวไทลื้อบ้านลวงเหนือ นั่นคือ “ผ้าซิ่นลายตาหมาควายหลวง” ซึ่งเป็นสัตว์ในตำนานของคนไทลื้อลื้อ  บ้านลวงเหนือ รวมถึงการสร้างลวดลายที่แปลกใหม่ขึ้นในอนาคต

      

References

มลรัตน์ วันไซ กัญญาลักษณื คำเงิน ชลลดา พรสุขสมสกุล และ กัสมา กาซ้อน. (2564). แนวทางพัฒนาผลิตภัณฑ์ผ้าทอไทลื้อศรีดอนชัย อำเภอเชียงของจังหวัดเชียงราย. วารสารบริหารธุรกิจอุตสาหกรรม. 3(2), น. 46 – 54.

กมลวรรณ พัชรพรพิพัฒน์ สารสุข. (2560). แนวทางในการพัฒนาศักยภาพทางการออกแบบผลิตภัณฑ์แฟชั่นประเภทกระเป๋าจากเศษผ้า กรณีศึกษา ผ้าทอไทลื้อบ้านเฮี้ย อำเภอปัว จังหวัดน่าน. วารสารวิจิตรศิลป์. 8(1), น. 60 – 105.

กิตติคุณวัฒนะ จูฑะวิภาต. (2555). ผ้าทอกับชีวิตคนไทย. รายงานวิจัย. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.

นาตยา พรเพ็ชรพราว. (2553). การทอผ้าพื้นเมือง ผ้าสไบลายขิด. สืบค้นจาก https://www.mculture.go.th

รจนา จันทราสา กนิษฐา เรืองวรรณศักดิ์ และ ภานุ พัฒนปณิธิพงศ์. (2553). การศึกษาและพัฒนาเอกลักษณ์ลวดลายบ้านเชียงเพื่อประยุกต์ใช้กับผลิตภัณฑ์ผ้าแปรรูปเพ้นท์บาติกเพื่อพัฒนารูปแบบเป็นผลิตภัณฑ์ หัตถกรรมของที่ระลึกจังหวัดอุดรธานี. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา.

วาสนา ข้างม่วง. (2555). การออกแบบกระเป้าเก็บความร้อนด้วยผ้าฝ้ายทอมือย้อมสีธรรมชาติของกลุ่มน้ำมอญ แจ้ซ้อน. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร.

ศิริพร เวียงเงิน อริสรา ศรีมาลา และ ตุลาภรณ์ แสนปรน. (2562). ผ้าทอไทลื้อ: ภูมิปัญญาบนลายผ้าของชุมชนบ้านป่าปี้ ตำบลบ้านธิ อำเภอบ้านธิ จังหวัดลำพูน. วารสาร มจร.นครนานปริทรรศน์. 3(2), น. 95-103.

เยี่ยมลักษณ์ อุดาการ. (2550). การพัฒนาพิพิธภัณฑ์วิถีชีวิตชาวไทลื้อโดยองค์กรชุมชนบ้านลวงใต้ อำเภอ ดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

21-06-2023