พวงมโหตร: สายสัมพันธ์ศิลปะการตัดกระดาษในแต่ละภูมิภาคของไทย
คำสำคัญ:
พวงมโหตร, ศิลปะการตัดกระดาษ, เครื่องแขวนโบราณบทคัดย่อ
พวงมโหตร มีชื่อเรียกแตกต่างกันในแต่ละภูมิภาคของประเทศไทย แต่รูปทรงและวิธีการประดิษฐ์กอปรกับการนำมาใช้งานมีความคล้ายเคียงกัน พวงมโหตรมีอยู่กระจัดกระจายในแต่ละภูมิภาคของประเทศไทย กล่าวคือ สามารถพบในภาคตะวันออก ภาคกลาง และภาคเหนือ ในแต่ละภูมิภาคต่างนับว่าพวงมโหตร เป็นงานศิลปหัตถกรรมที่มีคุณค่า เป็นภูมิปัญญาพื้นถิ่นที่สืบทอดมีมายาวนาน
จากการศึกษาพบว่าชื่อ “พวงมโหตร” ยังคงใช้เรียกในเขตจังหวัดภาคกลางตอนบนบางจังหวัด อาทิ จังหวัดสุโขทัย และจังหวัดพิษณุโลก ส่วนชื่อที่ใช้เรียกในภาคตะวันออกและภาคกลางตอนล่างในกลุ่มเชื้อสายชาวไทยพวน คือ “พวงเต่ารั้ง” หรือ “พวงเต่าร้าง” ในเขตจังหวัดภาคเหนือจะเรียกชื่อว่า “ตุงไส้หมู” เป็นส่วนใหญ่ ส่วนชื่อ“ตุงพญายอ” “ตุงไส้ช้าง” เป็นชื่อเรียกในบางจังหวัด แต่ก็เป็นที่เข้าใจตรงกันว่าหมายถึง พวงมโหตรหรือตุงไส้หมู การนำมาใช้งานนั้นในภาคเหนือพบว่ายังคงรักษาไว้ซึ่งขนบวิถีเดิม คือ การนำมาใช้ในงานประเพณีสงกรานต์ การปักเจดีย์ทราย และในงานอวมงคลโดยใช้สีขาวและสีดำ ในขณะที่ในภูมิภาคอื่น ๆ นั้น จะนำมาเป็นเครื่องประดับตกแต่งบ้านเรือน วัด ในงานมงคล และงานรื่นเริง โดยใช้พวงมโหตรที่ผลิตจากกระดาษที่มีสีสันสดใส นำมาตกแต่งสถานที่เพื่อความสวยงามและเป็นการแจ้งข่าวว่ากำลังมีงานมงคลในสถานที่ นั้น ๆ พวงมโหตรในภาคตะวันออกและภาคกลางปัจจุบันได้รับการพัฒนาประยุกต์ขึ้นให้เป็นหนึ่งในผลิตภัณฑ์ของที่ระลึกประจำชุมชน เพื่อตอบสนองนโยบายการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ มีการปรับเปลี่ยนวัสดุที่นำมาใช้ประดิษฐ์จากกระดาษว่าวเป็นผ้าฝ้ายพิมพ์ลายและผ้าไหมแก้ว และมีการเพิ่มหน้าที่พวงมโหตรให้เป็นเครื่องแขวนที่เป็นเครื่องหอมเพื่อใช้ประดับตกแต่งบ้านเรือน สร้างบรรยากาศผ่อนคลาย มีการพัฒนาให้เป็นโคมไฟแบบแขวนเพดาน โดยประยุกต์เพิ่มหลอดไฟเข้าไปในรูปทรงของพวงมโหตรดั้งเดิม ในภาคเหนือที่จังหวัดแพร่ พบว่า มีการพัฒนาการประดิษฐ์พวงมโหตรขนาดเล็ก (5 นิ้ว) สำหรับประดับจัดตกแต่งในแจกันเพื่อถวายพระ ซึ่งแต่เดิมมักพบว่าพวงมโหตรถูกประดิษฐ์ขึ้นเพื่อใช้เป็นเครื่องตกแต่งใช้ในงานประเพณีสงกรานต์ งานบรรพชาอุปสมบท และงานอวมงคลเท่านั้น
References
กศน.อำเภอศรีสำโรง. (ม.ป.ป.). เรื่องที่ ๙ ประเพณีพวงมโหตร. สืบค้นจาก www.srisamrong-nee.online
กองสวัสดิการสังคม งานพัฒนาชุมชน. (2562). เอกสารคู่มือการทำตุง พุทธศักราช 2562. ลำพูน: เทศบาลเมืองลำพูน.
กานต์นภัส แสนยศ. (2561). ตุงไส้หมู ศิลปะการตัดกระดาษของชาวล้านนา. สืบค้นจาก http://cmi.nfe.go.th
การตัดกระดาษไทย: ศิลปะพรานกระต่ายที่ใกล้เลือนหาย. สืบค้นจาก http://acc.Khushchev.ac.th
ดอกรัก พยัคศรี. (2558). “ตุง”. ฐานข้อมูลเครื่องมือเครื่องใช้พื้นบ้าน. ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน). สืบค้นจาก http://www.sac.or.th
เนตรชนก แตงทับทิม. (2564. ตุง: ความเป็นมงคลและอวมงคล ความหมายที่ทับซ้อน. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี. 10(2). น. 163-178.
พวงมโหตร: ไปเพชรบุรี เก็บเรื่องดี ๆ มาเล่าให้ฟัง. สืบค้นจาก http://www.trueplookpanya.com
ยศพร จันทองจีน. (2556). “พวงมโหตร” สู่การออกแบบพาวิลเลี่ยนการท่องเที่ยว “ไทยทัศน์”. (วิทยานิพนธ์).ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต. นครปฐม: มหาวิทยาลัยศิลปากร.
ยุพิน เข็มมุกด์. (2553). ช่อและตุง: ศิลป์แห่งศรัทธา ภูมิปัญญาท้องถิ่น. เชียงใหม่: แสงศิลป์.
ราชบัณฑิตยสถาน. (2556). พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.๒๕๔๒. กรุงเทพฯ: นามีบุ๊คส์พับลิเคชั่นส์.
ราชบัณฑิตยสถาน (๒๕๕๖). พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.๒๕๕๔. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: ราชบัณฑิตยสถาน.
สมบุญ ผิวลออ. (2553). พวงมโหตร ศิลปะการตัดกระดาษแบบโบราณ. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: วาดศิลป์.
สำนักส่งเสริมศิลปวัฒนธรรมและล้านนาสร้างสรรค์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. ความหมายของต้นเขืองหรือต้นเต่าร้าง. สืบค้นจาก https://art-culture.cmu.ac.th
หอสมุดแห่งชาติรัชมังคลาภิเษกเชียงใหม่. (2534). องค์ความรู้: วัฒนธรรมอันล้ำค่าของชาวล้านนาไทย เรื่อง ตุงล้านนา. สืบค้นจาก http://www.finearts.go.th
ห้องสมุดประชาชนอำเภอวัฒนานคร. (ม.ป.ป.). มหัศจรรย์พวงมโหตร. สระแก้ว: กศน.อำเภอวัฒนานคร สำนักงานส่งเสริม กศน.จังหวัดสระแก้ว.
อุดม รุ่งเรืองศรี. (2534). พจนานุกรมล้านนา - ไทย ฉบับแม่ฟ้าหลวง. เชียงใหม่: โรงพิมพ์มิ่งเมือง.
Chinese lantern: Their history and modern uses. สืบค้นจาก http://study il.org/chinese-culture
ข้อมูลการสัมภาษณ์
ชฎาภา สุคนธ์พันธุ์. ผู้นำกลุ่มชุมชนด้านกิจกรรมประดิษฐ์พวงมโหตร. วัดจอมสวรรค์ จังหวัดแพร่. วันที่สัมภาษณ์ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2565
วันดี ประกอบธรรม. ประธานส่งเสริมและพัฒนาวิสาหกิจชุมชนบ้านร้อยเสา. ชุมชนตะเคียนเตี้ย จังหวัดชลบุรี. วันที่สัมภาษณ์ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2565
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 สำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
1. บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ใน “วารสารข่วงผญา” ถือเป็นลิขสิทธิ์ของสำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือกระทำการใดๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจาก สำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
2. เนื้อหาบทความที่ปรากฏในวารสารเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรง ซึ่งกองบรรณาธิการวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วยหรือร่วมรับผิดชอบใดๆ