กระบวนการเสริมสร้างสุขภาพแบบองค์รวมอย่างมีส่วนร่วมของผู้สูงอายุ ในชุมชนปางเปา ตำบลขี้เหล็ก อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่

ผู้แต่ง

  • ธีรวัฒน์ กุณาอิ่น นักวิชาการอิสระ
  • นครินทร์ คำดี นักวิชาการอิสระ
  • สถาพร คำแก้ว นักวิชาการอิสระ
  • ศิริลักษณ์ จันทเขต นักวิชาการอิสระ
  • ชุติกาญจน์ งานปรีชาธร นักวิชาการอิสระ

คำสำคัญ:

การเสริมสร้างสุขภาพแบบองค์รวม, การมีส่วนร่วม, ผู้สูงอายุ

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากระบวนการเสริมสร้างสุขภาพแบบองค์รวมอย่างมีส่วนร่วมของผู้สูงอายุ รวมถึงปัจจัยที่เกี่ยวข้อง เพื่อเสนอแนะแนวทางการเสริมสร้างสุขภาพแบบองค์รวมอย่างมีส่วนร่วมของผู้สูงอายุในเขตชุมชนปางเปา ตำบลขี้เหล็ก อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ โดยใช้แนวคิดการมีส่วนร่วมของประชาชน แนวคิดเกี่ยวกับผู้สูงอายุ แนวคิดการเสริมสร้างสุขภาพผู้สูงอายุ และแนวคิดการรักษาสุขภาพแบบองค์รวม เป็นพื้นฐานในการศึกษา กลุ่มเป้าหมายในการศึกษา คือ กลุ่มผู้สูงอายุที่มีอายุตั้งแต่ 60 ปี ขึ้นไป รวมทั้งหมด 165 คน โดยมีแบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการวิจัย และดำเนินการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนาเพื่ออธิบาย บรรยาย และสรุปข้อมูลที่เก็บรวบรวมในลักษณะของการแจกแจงความถี่ การวัดแนวโน้มเข้าสู่ศูนย์กลาง และ  การวัดการกระจายข้อมูล

 ผลการวิจัยพบว่า กระบวนการมีส่วนร่วมในการเสริมสร้างสุขภาพแบบองค์รวมของผู้สูงอายุในชุมชนปางเปา อยู่ในระดับปานกลาง มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.03 (SD = 0.66) ในด้านของการรับผลประโยชน์ในสวัสดิการต่าง ๆ  จากภาครัฐ อาทิ เบี้ยยังชีพ และการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรในป่าชุมชน อย่างไรก็ตาม ผู้สูงอายุยังขาดความต่อเนื่องในการมีส่วนร่วมด้านการตัดสินใจและการประเมินผลต่อการเสริมสร้างสุขภาพ ในขณะที่ปัจจัยที่ส่งผลต่อการเสริมสร้างสุขภาพแบบองค์รวมของผู้สูงอายุ อยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.45 (SD = 0.50) ซึ่งชี้ให้เห็นถึงศักยภาพอันเป็นจุดแข็งจากปัจจัยภายในของปัจเจกบุคคลและชุมชนได้เป็นอย่างดี ในทางกลับกัน ปัจจัยด้านองค์กร ยังมีข้อจำกัดด้านการจัดสรรงบประมาณในการส่งเสริมกิจกรรมต่าง ๆ และแนวทางการเสริมสร้างสุขภาพแบบองค์รวมอย่างมีส่วนร่วมของผู้สูงอายุในชุมชนปางเปา ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก        มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.58 (SD = 0.54)   โดยเป็นผลมาจากการทำงานอดิเรกและการประกอบกิจกรรมต่าง ๆ ร่วมกันภายในชุมชน สะท้อนให้เห็นถึงความเชื่อมโยงและสัมพันธอันดีระหว่างกัน ทั้งนี้ จึงควรมีกลยุทธ์ในการส่งเสริมสุขภาพของผู้สูงอายุแบบองค์รวม โดยหน่วยงานภาครัฐและหน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องเข้าสู่แผนยุทธศาสตร์ระดับท้องถิ่น เพื่อยกระดับความสำคัญสุขภาพของผู้สูงอายุในชุมชนให้เกิดความต่อเนื่องและยั่งยืน

 

References

กิตติศักดิ์ ไกรจันทร์, จิราพร วรวงศ์, สกาวรัตน์ ไกรจันทร์, ผดุงศิษย์ ชำนาญบริรักษ์, พนิดา โยวะผุด,ธีรภัทร นวลแก้ว, พัชรี แวงวรรณ, มนทกานด์ อันสีแก้ว, ณฐพร คำศิริรักษ์, เศวนา ครุนันท์, รัตนา เสนาหนอก, อรุณรัตม์ แสนบุญรัตน์, ขวัญเรือน แก้วเฮ้า, ฐานิตา ศรฬสวรรณ, ปราณี แข็งแรง, สุพจน์ ภูแก้ว, ประคอง แซ่โค้ว, ศศิมา ปักโคสัง, อรพันธุ์ แสนศักดิ์,…...สังคม คำอินทร์. (2555). โครงการวิจัยการสร้างพื้นที่ต้นแบบในการสร้างเสริมสุขภาพของผู้สูงอายุในพื้นที่เมือง ชุมชนสามัคคี ตำบลตลาดอำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

เกวลี เครือจักร, และ สุนทรี สุรัตน์. (2558). รูปแบบการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุโดยกระบวนการมีส่วนร่วมขององค์การปกครองส่วนท้องถิ่น เครือข่ายภาคประชาสังคมและชมรมผู้สูงอายุเทศบาลตำบลแม่จัน อำเภอแม่จัน จังหวัดเชียงราย. วารสารการพัฒนาชุมชนและคุณภาพชีวิต, 3(2), 161-171.

เกษแก้ว เสียงเพราะ, นิศารัตน์ อุตตะมะ, ประกาศิต ทอนช่วย, และ สายฝน ผุดผ่อง. (2561). การพัฒนารูปแบบการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายในชุมชน ต่อการสร้างเสริมสุขภาพผู้สูงอายุแบบองค์รวมให้กับผู้สูงอายุในชุมชนชนบทของจังหวัดพะเยา. วารสารสาธารณสุขศาสตร์, 48(2), 113-123.

กรวรรณ ยอดไม้. (2562). ประสิทธิผลโปรแกรมเครือข่ายครอบครัวต่อการส่งเสริมพฤติกรรมสุขภาพและคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุของผู้ดูแลผู้สูงอายุ จังหวัดขอนแก่น. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

คิดณรงค์ โคตรทอง. (2564). การพัฒนารูปแบบการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุโดยภาคีผู้สูงอายุในชุมชนบ้านยางเทิงตำบลไร่น้อย อำเภอเมืองอุบลราชธานี จังหวัดอุบลราชธานี [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

ดารารัตน์ จำเกิด, กานต์ชัญญา แก้วแดง, รัชนียา เนติรัตน์, สุพรรณี พิมสุวรรณ, ฉลาด เต ชะ, มณฑาทิพย์ งามเจริญ,กัญจนี กลิ่นพันธ์, ณัฐวัชฑ์ ผ่องเกษม, อทิตยา ใจเตี้ย, สามารถ ใจเตี้ย, สุวัฒน์ ขำสุข, บุญศรี ชิณศิริ, อาวุธ ยิ้มสาระ, วิริยา ไชยมาตร์, และ พิมุกข์พงค์ พลับพลาทอง. (2555). โครงการ “แนวทางการพัฒนารูปแบบการเสริมสร้างภาวะสุขภาพในกลุ่มผู้สูงอายุเทศบาลตำบลสุเทพ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่” (รายงานผลการวิจัย). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

เทศบาลตำบลจอมแจ้ง. (2566). แผนพัฒนาท้องถิ่นห้าปี พ.ศ. 2566 - 2570 ของเทศบาลตำบลจอมแจ้ง ตำบลขี้เหล็กอำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่. เชียงใหม่: เทศบาลตำบลจอมแจ้ง.

นภัค นิธิวชิรธร. (2562). การประเมินระบบการดูแลผู้สูงอายุแบบองค์รวม เขตสุขภาพที่ 9. วารสารศูนย์อนามัยที่ 9, 13(31), 105-118.

พระธรรมนูญ เพชรเลิศ, ภักดี โพธิ์สิงห์, และ ยุภาพร ยุภาศ. (2562). การส่งเสริมสุขภาวะองค์รวมของผู้สูงอายุแบบบูรณาการในจังหวัดบุรีรัมย์. วารสารการจัดการและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี, 6(1), 1-26.

เยาวลักษณ์ วงศ์ประภารัตน์. (2554). โครงการการศึกษาระบบเสริมสร้างสุขภาวะสู่แนวทางการพัฒนาของกลุ่มผู้สูงอายุบ้านสันทรายหลวง อ. สันทราย จ. เชียงใหม่. (รายงานผลการวิจัย). กรุงเทพฯ:มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ศรัณรัตน์ ระหา, คำภีระ แสนกุง, อมร สุวรรณนิมิตร, ชนกพร ศรีประสาน, มลิวัลย์ โคตรโสภา, นำพล วงค์เชียงยืน, เย็นจิต อุทัยดา, ถนอม ชัยสุวรรณ, เพ็ญศรี โคตรโสภา, และ รักคณาวงษ์เดช. (2556). การมีส่วนร่วมของชุมชนในการเสริมสร้างสุขภาวะให้กับผู้สูงอายุและผู้ป่วยเรื้อรัง บ้านสร้างแก้ว ตำบลเชียงยืน อำเภอเชียงยืน จังหวัดมหาสารคาม. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2564). (ร่าง) แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13 “พลิกโฉมประเทศไทยสู่สังคมก้าวหน้า เศรษฐกิจสร้างมูลค่าอย่างยั่งยืน”. กรุงเทพ: สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.

สมบัติ นามบุรี. (2562). ทฤษฎีการมีส่วนร่วมในงานรัฐประศาสนศาสตร์. วารสารวิจัยวิชาการ, 2(1), 183-196.

สมลักษณ์ กอกุลจันทร์ (2558). ผลของโปรแกรมการดูแลสุขภาพแบบองค์รวมต่อพฤติกรรมการดูแลเด็กของผู้ดูเด็กที่มีภาวะบกพร่องด้านการเรียน [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัย ธรรมศาสตร์.

Marketeer Team. (2565). สถิติผู้สูงอายุไทยปี 65 จำนวนผู้สูงวัยเพิ่มต่อเนื่อง แต่อัตราการเกิดต่ำ. สืบค้นจาก https://marketeeronline.com

Downloads

เผยแพร่แล้ว

29-11-2023