ภูมิปัญญาพื้นบ้านรักษาโรคความดันโลหิตสูงด้วยสมุนไพรกลั่น ชุมชนบ้านหนองควาย ตำบลหนองควาย อำเภอหางดง จังหวัดเชียงใหม่

ผู้แต่ง

  • ณัฐวรา ศิริปัญญา
  • ประภัสสร จันทร์วิลัย
  • ชนิกา มะเทวิน
  • ธัญญารัตน์ สุขแสวง

คำสำคัญ:

ภูมิปัญญาพื้นบ้าน , สมุนไพรกลั่น , โรคความดันโลหิตสูง

บทคัดย่อ

การวิจัยเรื่องภูมิปัญญาพื้นบ้านรักษาโรคความดันโลหิตสูงด้วยสมุนไพรกลั่น มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประวัติความเป็นมาของนายผไทธง  วงค์สุวรรณ “หมอผิน” (หมอกลั่นสมุนไพร) ศึกษากระบวนการรักษาโรคความดันโลหิตสูงด้วยการใช้สมุนไพรกลั่นของหมอผิน และศึกษาแนวทางการอนุรักษ์สืบทอดความรู้ในการใช้สมุนไพรกลั่นรักษาโรคในอนาคต ชุมชนบ้านหนองควาย ตำบลหนองควาย อำเภอหางดง จังหวัดเชียงใหม่ กลุ่มตัวอย่าง คือ หมอผิน (หมอกลั่นสมุนไพร) ผู้ใกล้ชิดหมอผิน และผู้เข้ารับการรักษาโรคความดันโลหิตสูงด้วยยาสมุนไพรกลั่นของหมอผิน จำนวนทั้งสิ้น 14 คน ด้วยเลือกสุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง (Purposive sampling) โดยการใช้เครื่องมือแบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง การบรรยายและการพรรณนาในการวิเคราะห์ข้อมูลประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการศึกษา โดยใช้ทฤษฎีแนวคิดที่เกี่ยวข้องมาใช้ในการวิเคราะห์ในการศึกษาครั้งนี้ ได้แก่ ทฤษฎีภูมิปัญญาพื้นบ้าน แนวคิดสมุนไพรกลั่น และแนวคิดโรคความดันโลหิตสูง

ผลการวิจัย พบว่า หมอผิน (หมอกลั่นสมุนไพร) เริ่มต้นเป็นหมอตั้งแต่ปี พ.ศ. 2548 (รวมระยะเวลาการเป็นหมอพื้นบ้าน จำนวน 17 ปี) โดยได้รับตำราเกี่ยวกับสมุนไพรจากเพื่อนของบิดา จึงได้ทำการทดลองต้มยารับประทานเพื่อรักษาโรคความดันโลหิตสูงและโรคต่อมลูกหมากโตของตนเองจนอาการดีขึ้น ทำให้เกิดความสนใจและทำการศึกษาเกี่ยวกับสมุนไพรด้วยการศึกษาค้นคว้าศึกษาทางอินเตอร์เน็ต รวมถึงวิธีการกลั่นสมุนไพร ปัจจุบันหมอผินทดลองปรุงสมุนไพรได้ 5 ถึง 600 ชนิด และสามารถทำการรักษาได้หลายโรค เช่น โรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน โรคหัวใจ โรคมะเร็ง รวมถึงไวรัสโควิด-19 เป็นต้น กระบวนการการรักษาโรคความดันโลหิตสูงด้วยการใช้สมุนไพรกลั่นของหมอผิน (หมอกลั่นสมุนไพร) พบว่า กระบวนการรรักษาจะเริ่มต้นจากการซักประวัติของผู้ที่เข้ารับการรักษา โดยใช้แบบฟอร์ม OPD ซึ่งเป็นคำทางการแพทย์ที่ใช้เรียกกลุ่มผู้ป่วยนอก ทั้งนี้ เกณฑ์การวัดความดันของหมอผินได้รับความรู้จากชาวต่างชาติที่นำจำนวนอายุบวกกับจำนวน 110 ดังนั้น จึงไม่จำเป็นต้องยึดค่าความดันปกติตามเกณฑ์ 120 กับ 80 ของโรงพยาบาลทั่วไป และมีการติดตามผลการรักษาด้วยการนัดดูอาการ ส่วนวิธีรับประทานยาจะนำยาสมุนไพรกลั่นผสมกับน้ำธรรมดาหรือน้ำด่าง จากนั้นจึงทำการกระแทกเพื่อผสมยา ทั้งนี้      ผู้ที่เข้ารับการรักษาด้วยสมุนไพรกลั่นของหมอผินจะไม่เสียค่าใช้จ่ายแต่อย่างใด   แต่สามารถให้ได้ตามจิตศรัทธา หมอผินเรียนรู้กระบวนการกลั่นแบบไฮโดรซอ (Hydrosol) จากอาจารย์ชาวต่างชาติ และทำการออกแบบหม้อกลั่นสมุนไพรร่วมกับพี่ชาย ซึ่งยาสมุนไพรกลั่นของหมอผินจะมีลักษณะใส รสชาติขมน้อย และเหมาะกับทุกเพศทุกวัย แนวทางการอนุรักษ์สืบทอดความรู้ในการใช้สมุนไพรกลั่นรักษาโรคในอนาคตนั้น หมอผินได้ทำการถ่ายทอดองค์ความรู้ให้กับผู้ใกล้ชิด ผู้ที่เข้ารับการรักษา และผู้ที่สนใจ ด้วยกระบวนการการสังเกตและลงมือปฏิบัติ เช่น การผสมยา การเก็บสมุนไพรในป่า เป็นต้น

 

 

References

กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก. (2562). คู่มือการดูแลผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงด้วยการแพทย์ผสมผสาน. นนทบุรี: สำนักการแพทย์ทางเลือก กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก.

กลุ่มพัฒนาระบบสาธารณสุข สำนักโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค. (2561). ประเด็นสารรณรงค์วันความดันโลหิตสูงโลก ปี 2561. สืบค้นจาก http://thaincd.com

ทิพพา ลุนเผ่, วัชรินทร์ สุทธิศัย และเสาวลักษณ์ นิกรพิทยา. (2562). รูปแบบภูมิปัญญาท้องถิ่นหมอพื้นบ้านด้านสมุนไพร จังหวัดมหาสารคาม. บัณฑิตศึกษาปริทัศน์ วิทยาลัยสงฆ์นครสวรรค์, 7(2). 1–16.

เทศบาลตำบลหนองควาย. (2565). ประวัติความเป็นมาของบ้านหนองควาย. สืบค้นจาก https://www.nongkhwai.go.th

นงลักษณ์ ศรีขจรเกียรติ และ ฐิติศักดิ์ เวชกามา. (2560). การวิจัยเชิงปฏิบัติการเพื่อการอนุรักษ์สมุนไพรไทยอายุวัฒนะที่เกี่ยวกับการดูแลภาวะสตรีวัยทอง. [หลักสูตรปรัชญาดุษฎ๊บัณฑิต]. มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

น้ำค้าง ฟักปัญญา. (2563). การศึกษาประสิทธิผลของตำรับยาสมุนไพรแก้ลมขึ้นเบื้องสูง ในผู้ป่วยที่มารับการรักษาในคลินิกการแพทย์แผนไทยแห่งหนึ่ง ระหว่างปี พ.ศ. 2557-2561. [สารนิพนธ์วิทยาศาสตร-มหาบัณฑิต]. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.

บุญศรี เลิศวิริยจิตต์. (2554). คลังภูมิปัญญาหมอพื้นบ้านกับสมุนไพรชุมชนภาคอีสาน. รายงานวิจัย. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา.

ประพิณ ขอดแก้ว และเยี่ยมลักษณ์ อุดาการ. (2561). รูปแบบการจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาทักษะทางสังคม สำหรับนักเรียนระดับประถมศึกษา โดยการมีส่วนร่วมของภูมิปัญญาท้องถิ่นและสถานศึกษา. รายงานวิจัย. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่.

เพ็ญนภา ทิพย์สุราษฎร์. (2559). การศึกษาพืชสมุนไพรท้องถิ่นและภูมิปัญญาด้านการใช้สมุนไพร กรณีศึกษา อุทยานแห่งชาติแก่งกรุง จังหวัดสุราษฎร์ธานี. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. สงขลา: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.

มาลัย กมลสกุลชัย. (2559). บทบาทลดความเชื่อมั่นของผู้บริโภคที่มีต่อสมุนไพรไทย. รายงานวิจัย. นครปฐม: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์.

เมธิรา ไกรนที ศรีสุดา ไชยวิจารณ์ และเดโช แขน้ำแก้ว. (2561). องค์ความรู้ของภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านเครื่องมือจับสัตว์ป่า บริเวณป่า อำเภอพรหมคีรี จังหวัดนครศรีธรรมราช. วารสารนาคบุตรปริทรรศน์. 10(1). 139-149.

มัทนา เครื่องเงิน และ แดนชัย เครื่องเงิน. (2557). การใช้สมุนไพรรักษาโรคเบาหวาน. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. 1(1). 1-9.

รอฮานี เจะแม. (2558). การใช้ประโยชน์พืชสมุนไพรของประชาชนที่อาศัยรอบพื้นที่เขาปกโย๊ะ อำเภอบันนังสตา

จังหวัดยะลา. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. ยะลา: มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา.

อำพล บุญเพียร, สนั่น ศุภธีรกุล, อรทัย เนียมสุวรรณ และธัญญลักษณ์ ศิริยงค์. (2565). ภูมิปัญญาการแพทย์ แผนไทยในการรักษาโรคความดันโลหิตสูง. วารสารชุมชนวิจัย มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา. 16(3). 207-221.

World Health Organization (WHO). (2013). A global brief on hypertension silent killer, global public health crisis. Retrieved from http://www.who.int

Downloads

เผยแพร่แล้ว

29-11-2023