การมีส่วนร่วมของชุมชนในการจัดการปัญหาอุทกภัย หมู่ที่ 2 บ้านโรงวัว (ศรีบุญเรือง) ในเขตเทศบาลตำบลหนองหอย อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่
คำสำคัญ:
การบิรหารจัดการภัยพิบัติ, ปัญหาอุทกภัย, การมีส่วนร่วมของประชาชนบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัญหาและผลกระทบจากอุทกภัยของชุมชนในพื้นที่ ระดับการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดการอุทกภัยที่ผ่านมา และแนวทางการบริหารจัดการปัญหาอุทกภัยของชุมชนบ้านโรงวัว (ศรีบุญเรือง) ตำบลหนองหอย อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ กลุ่มตัวอย่าง คือ ประชากรในชุมชนหมู่ที่ 2 บ้านโรงวัว (ศรีบุญเรือง) ตำบลหนองหอย อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ จำนวน 292 คน เครื่องมือการวิจัย คือ แบบสอบถาม (Questionnaires) และสถิติที่ใช้ ได้แก่) ค่าเฉลี่ย (Mean) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation)
ผลวิจัยพบว่า ผลกระทบจากปัญหาอุทกภัยของชุมชนในพื้นที่มีผลกระทบทั้งด้านเศรษฐกิจ ด้านสังคม ด้านการคมนาคม และด้านสิ่งแวดล้อม โดยส่วนใหญ่ภายหลังเกิดเหตุการณ์น้ำท่วมได้ส่งผลกระทบต่อสภาพแวดล้อมและเกิดความเสียหายต่อชุมชนมากที่สุด คิดเป็นค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.95 โดยระดับการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดการอุทกภัยที่ผ่านมา ในภาพรวมอยู่ในระดับน้อย คิดเป็นค่าเฉลี่ยเท่ากับ 2.01 ทั้งนี้เพราะชาวบ้านยังขาดการเข้าถึงการมีส่วนร่วมในการดำเนินงานและการประเมินผลในการจัดการอุทกภัย ส่วนแนวทางในการบริหารจัดการปัญหาอุทกภัยของชุมชน ในภาพรวมอยู่ในระดับน้อย คิดเป็นค่าเฉลี่ยเท่ากับ 2.35 โดยการมีส่วนร่วมของประชาชนได้สะท้อนให้เห็นถึงการบริหารจัดการปัญหาอุกทกภัยในชุมชนที่ยังขาดความต่อเนื่องเพราะในเขตพื้นที่ของชุมชนมีความเป็นสังคมเมืองสูงส่งผลให้การให้ความร่วมมือในการบริหารจัดการปัญหาอุทกภัย มีเพียงประชาชนบางส่วนที่ให้ความร่วมมือในการบริหารจัดการปัญหาอุทกภัยที่เกิดขึ้นเพราะเป็นคนที่อาศัยในเขตพื้นที่ชุมชนตั้งแต่กำเนิด ทั้งนี้ ควรมีการจัดตั้งเครือข่ายในชุมชน และการวางแผนการรับมือปัญหาอุทกภัยด้วยการยกระดับการมีส่วนร่วมของชุมชนให้สูงขึ้นผ่านการสนับสนุนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและความร่วมมือจากประชาชนในพื้นที่ให้สามารถเข้าถึงการจัดการกับปัญหาอุทกภัยได้อย่างมีประสิทธิภาพต่อไป
References
กุสุมา ไสยรัตน์, จุฑามาศ ใจชม,ศุภรัตน์ เพชรวงษ์, พรเทพ แซ่ซิว และวราภรณ์ ศรีบุญ. (2557). การมีส่วนร่วมในการแก้ปัญหาอุทกภัยของประชาชนในหมู่ที่ 6 ตำบลกรุงชิง อำเภอนบพิตำ จังหวัดนครศรีธรรมราช.วารสารวิชาการบัณฑิตวิทยาลัยสวนดุสิต. 10(1). 149-161.
กอบเกียรติ ผ่องพุฒิ, วีระศักดิ์ อุดมโชค, ธนพร สุปริยศิลป์ และพงศกร จิวาภรณ์คุปต์. (2552). การขยายเครือข่ายการมีส่วนร่วมของชุมชนและระบบเตือนภัยบริเวณลุ่มน้ำน่านตอนบน เพื่อการป้องกันอุทกภัยและดินถล่ม. (รายงานวิจัย). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
กันต์ เอี่ยมอินทรา. (2559). งานวิจัยแผนรับมือภัยพิบัติ เทศบาลนครเกาะสมุย. [การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
จิราภรณ์ ศรีคำ. (2547). การมีส่วนร่วมของผู้ปกครองในการพัฒนาการจัดการศึกษาของโรงเรียนวชิรวิทย์ ระดับประถมศึกษาจังหวัดเชียงใหม่. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
ทวิดา กมลเวชช. (2554). คู่มือการจัดการภัยพิบัติท้องถิ่น. กรุงเทพฯ: สถาบันพระปกเกล้า.
ปาณิศา บุณยรัตกลิน. (2558). การสังเคราะห์ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความรอบรู้ในการเตรียมพร้อมรับมืออุทกภัย และพฤติกรรมของผู้สูงอายุในชุมชน. วารสารพยาบาล. 71(2). 38-47.
พร้อมวิชญ์ อัศวกฤษนาวิน และเวชสุวรรณ อาจวิชัย. (2559). การบริหารจัดการสาธารณภัยโดยใช้แนวคิดประชาธิปไตยแบบปรึกษาหารือและทุนทางสังคมเป็นฐาน. วารสารสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. 19. 122-145.
มนัส สุวรรณ. (2548). การตอบสนองต่อภัยพิบัติของประชาชน : บทวิเคราะห์กรณีประเทศไทย. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
มโนลี ศรีเปารยะ เพ็ญพงษ์. (2560). บทเรียนจากประสบการณ์อุทกภัยต่อการเตรียมความพร้อมการป้องกัน อุทกภัยในอนาคตของประชาชนบริเวณลุ่มแม่น้ำตาปีตอนล่าง จังหวัดสุราษฎร์ธานี. วารสารวิทยาการจัดการ. 4(1). 203-227.
เรืองฤทธิ์ ประเทียบอินทร์. (2562). การบริหารจัดการอุทกภัยของเทศบาลตำบลบ้านกลาง อำเภอเมืองปทุมธานี จังหวัดปทุมธานี. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
วนารัตน์ กรอิสรานุกูล. (2556). แนวทางการวางแผนด้านผังเมืองเพื่อรองรับความเสี่ยงจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ:กรณีศึกษาปัญหาน้ำท่วมและแนวทางการจัดการน้ำท่วมในเขตผังเมืองรวมพุนพิน จังหวัดสุราษฎร์ธานี. (รายงานวิจัย). กรุงเทพฯ: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.).
ศิรพัชร วัชรภาสกร. (2556). การจัดการปัญหาน้ำท่วมและการมีส่วนร่วมของชุมชน: กรณีศึกษาหมู่บ้านนักกีฬาแหลมทอง เขตสะพานสูง กรุงเทพมหานคร. กรุงเทพฯ: สถาบันพัฒนาบัณฑิตบริหารศาสตร์.
ศิริภา จันทร์เกื้อ, พล เหลืองรังษี, วิภาวรรณา ศรีใหม่, ศรัณย์ภัทร เพชรรักษ์ ธราเทพ คุ้มครองเล็ก, อดิศร สุวาหลำ และไซฟูดีน เปาะเสาะ. (2560). สาเหตุและแนวทางการแก้ไขปัญหาน้ำท่วมในพื้นที่เทศบาลตำบลพะวง อำเภอเมือง จังหวัดสงขลา. การประชุมหาดใหญ่วิชาการระดับชาติและนานาชาติ ครั้งที่ 9. 20 - 21 กรกฎาคม 2561, 217-227.1
สิริอร นิยมเดช. (2556). การมีส่วนร่วมของประชาชนต่อการดำเนินกิจกรรมตามโครงการหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบ
ปี 2555 บ้านหนองอ้อ หมู่ 3 ตำบลมะขาม อำเภอมะขาม จังหวัดจันทบุรี. [ปัญหาพิเศษมหาบัณฑิต]. ชลบุรี: มหาวิทยาลัยบูรพา.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 สำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
1. บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ใน “วารสารข่วงผญา” ถือเป็นลิขสิทธิ์ของสำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือกระทำการใดๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจาก สำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
2. เนื้อหาบทความที่ปรากฏในวารสารเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรง ซึ่งกองบรรณาธิการวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วยหรือร่วมรับผิดชอบใดๆ