รากเดิมภาษาสู่จินตนาการและการตีความในดนตรีสมัยนิยม

ผู้แต่ง

  • พิษณุ ไชยสุรินทร์

คำสำคัญ:

ดนตรี, จินตนาการ, การใช้ภาษา

บทคัดย่อ

บทความนี้เป็นบทความวิจัยที่ได้จากการศึกษาเรื่อง “การประพันธ์เนื้อร้องเพลงลูกกรุง ลูกทุ่งร่วมสมัย กรณีศึกษานายสุพิชา เทศดรุณ คณะสุเทพการบันเทิง” ในปีการศึกษา 2565 ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของหลักสูตรศิลปะบัณฑิต สาขาวิชาศิลปะการแสดง ภาควิชาศิลปะไทย คณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ บทความนี้นำเสนอเรื่องฐานภาษาสู่จินตนาการและการตีความในดนตรีสมัยนิยม ผู้วิจัยศึกษาข้อมูลโดยกระบวนการวิจัยเชิงคุณภาพ ศึกษาจากหนังสือ บทความ บทความทางวิชาการ งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง เว็บไซต์ออนไลน์ และบทสัมภาษณ์จากผู้ที่มีความเชี่ยวชาญเกี่ยวกับการประพันธ์เนื้อร้องโดยสัมภาษณ์นายสุพิชา เทศดรุณ โดยการเก็บข้อมูลเกี่ยวกับ การประพันธ์เนื้อร้อง การใช้ภาษาในการประพันธ์เพลงมาวิเคราะห์ และเรียบเรียงออกมาเป็นบทความ

          ผลการศึกษา พบว่าการใช้ภาษาในงานประพันธ์เนื้อร้องนั้น นอกจากจะใช้เพื่อการสื่อสารให้มีความชัดเจนและสื่อความหมายตามที่ผู้ประพันธ์ต้องการแล้ว ผู้ฟังจะต้องมีวิจารณญาณในการชื่นชมผลงาน เพราะเนื้อหาในงานประพันธ์เนื้อร้องนั้นมีเนื้อหาที่หลากหลายทั้งเนื้อหาที่สามารถเข้าใจง่ายและเนื้อหาที่ซับซ้อน และดนตรี  ก็เป็นส่วนที่สำคัญและขาดไม่ได้ในการประพันธ์เพลงและเสียงดนตรีที่ผสานกับเนื้อหาจะทำให้ผลงานเพลงมีความสมบูรณ์มากขึ้น

References

คณะสุเทพการบันเทิง. (2563). SUTHEP BAND | คณะสุเทพฯ – ไอ้กล้วย. สืบค้นจาก

https://www.youtube.com/Rf0mfVDyFt8?si=MSENrBfnBTyMq14Q

คณะสุเทพการบันเทิง. (2561). SUTHEP BAND | คณะสุเทพฯ - หมอครับ..ผมชอบหมอครับ. สืบค้นจาก

https://www.youtube.com/uOweZw-ESuY?si=Lqhaf1eNE_j2DmTH

คณะสุเทพการบันเทิง. (2561). SUTHEP BAND | คณะสุเทพฯ – หัวใจหล่น (อยู่สกลนคร) สืบค้นจาก

https://www.youtube.com /fZpiXouzA_o?si=dhqL1fDM_IUvYdju

คณะสุเทพการบันเทิง. (2563). SUTHEP BAND | คณะสุเทพฯ - ซึมบอย คอยรัก feat. เรืองฤทธิ์ บุญรอด

สืบค้นจาก https://www.youtube.com /9QQn0Tus4C0?si=T86mllmP45cMcG_s

คณะสุเทพการบันเทิง. (2561). SUTHEP BAND | คณะสุเทพฯ – ขึ้นดอย สืบค้นจาก

https://www.youtube.com /KEEE92RxvFM?si=8Ue-J8lzOqx4OHmD

จุฬาพรรณภรณ์ ธนะแพทย์. (2560). ศิลปะการใช้ภาษาในงานประพันธ์เพลงของยืนยง โอภากุล (ศึกษาเฉพาะกรณีเพลงในกลุ่มนามบุคคล). วารสารวิชาการบัณฑิตวิทยาลัยสวนดุสิต, 13(1), 159.

จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ ออฟฟิเชียล. (2555). ปาล์มมี่ ส่ง MV นาฬิกาเรือนเก่า หลอน!! กินนอนกับศพ.

สืบค้นจาก https://musicstation.kapook.com/view45796.html

ชนทัช สุริยะชัย และนัฏฐิกา สุนทรธนผล. (2564). การสร้างคู่มือการสอน การแต่งเพลงสมัยนิยมขั้นพื้นฐานตามกระบวนการสอนของอาจารย์ ประภพ ชมถาวร. (การศึกษามหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ คณะศิลปกรรมศาสตร์ สาขาดนตรีศึกษา.

ชลดา เรืองรักษ์ลิขิต. (2559). ภาษาไทยเพื่อการสื่อสาร หน่วยที่ 8-15 (พิมพ์ครั้งที่ 3). นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมมาธิราช.

ดีเจอร์ราร์ด ออฟฟิเชียล. (2565). D GERRARD–LUXURY. สืบค้นจาก

https://www.youtube.com /VUUwBzQrmNQ?si=HbvVK9wMKjXxorWf

พรทิพย์ ฉายกี่ และจันทนา แก้ววิเชียร์. (2561). วิเคราะห์แนวคิดและศิลปะการใช้ภาษาในวรรณกรรมเพลงลูกทุ่งที่แต่งโดยสลา คุณวุฒิ. วารสารราชภัฏเพชรบูรณ์สาร, 20(1), 87-96.

พระอุดมธีรคุณ และบัณฑิกา จารุมา. (2563). ภาษาและวัฒนธรรม: ความหมาย ความสำคัญ และความสัมพันธ์ระหว่างกัน. วารสารมหาจุฬาวิชาการ, 7(2), 53-63.

สวนิต ยมาภัย. (2559). ภาษาไทยเพื่อการสื่อสาร หน่วยที่ 1-7. (พิมพ์ครั้งที่ 3). นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมมาธิราช.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

25-06-2024