ลายพิณอีสานร่วมสมัย: การผสมผสานแนวคิดที่เหนือ เส้นกรอบทางวัฒนธรรม

ผู้แต่ง

  • ภูวดล ใจหมั่น

คำสำคัญ:

พิณอีสาน, ดนตรีร่วมสมัย, ลายพิณอีสานร่วมสมัย

บทคัดย่อ

          บทความนี้นำเสนอเกี่ยวกับการสร้างสรรค์ลายพิณอีสานร่วมสมัยผ่านประสบการณ์และเทคนิคของศิลปินเนื้อหาของบทความจะกล่าวถึงเรื่องของการผสมผสานวัฒนธรรมตะวันตก วัฒนธรรมพื้นบ้าน และลักษณะของดนตรีพื้นบ้านอีสานสู่การผสมผสานแนวคิดทางวัฒนธรรมที่ก่อให้เกิดลายพิณอีสานร่วมสมัย โดยใช้แนวคิดและทฤษฎีโครงสร้างเพลงป๊อบในการวิเคราะห์บทเพลง

          ผลการศึกษาพบว่า ศิลปะการแสดงร่วมสมัยเกิดจากกระบวนการผสมผสานแนวคิด และเทคนิคการแสดงที่มีความแตกต่างทางวัฒนธรรม การสร้างสรรค์ลายพิณอีสานร่วมสมัยนั้นเกิดจากการนำรากฐานลายพิณสมัยโบราณมาประยุกต์ และปรับแต่งพัฒนาผ่านยุคสมัยเกิดเป็นลายพิณอีสานร่วมสมัยในรูปแบบต่าง ๆ ก่อให้เกิดความหลากหลายทางวัฒนธรรมดนตรีของภาคอีสานมากขึ้น และทำให้เครื่องดนตรีอีสาน พิณ เป็นที่รู้จักในสังคมปัจจุบันมากขึ้น

References

เฉลิมศักดิ์ พิกุลศรี. (2536). วิธีการศึกษาดนตรีพื้นบ้านอีสาน. ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

ฉัตรชัย โปรดเมธี. (2563). หลักการเรียบเรียงเพลงป๊อบเป็นแจ๊ส. สืบค้นจาก https://aunchatchai.com

ณัธพล ยะปะตัง และสุรพล เนสุสินธุ์. (2562). รูปแบบการสร้างสรรค์ลายพิณในเพลงลูกทุ่งอีสาน ของ เรวัฒน์ สายันเกณะ (หนุ่ม ภูไท). วารสารศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 11(1), 249.

ต้นตระกูล แก้วหย่อง. (14 กุมภาพันธ์ 2566, สัมภาษณ์)

ประดิษฐ์ วิลาส และเจริญชัย ชนไพโรจน์. (2564. การสร้างสรรค์ลายพิณจากศิลปินต้นแบบพื้นบ้านอีสาน. วารสารศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 13(1), 246-247

พัชราพร ดีวงษ์. (2556). การผสมผสานวัฒนธรรมต่างชาติผ่านสื่อโทรทัศน์. วารสารนักบริหารมหาวิทยาลัย กรุงเทพ, 33(1), 87-94.

มิวสิคอาร์ม. (2566) . เอฟเฟคกีต้าร์ไฟฟ้า. สืบค้นจาก https://www.musicarms.net

เย็นจิตร ถิ่นขาม, และมณีมัย ทองอยู่. (2552). การผลิตซ้ำทางวัฒนธรรมข้ามพรมแดนในการแต่งงานข้ามวัฒนธรรมระหว่างหญิงไทยกับชายญี่ปุ่น. วารสารวิจัยมหาวิทยาลัยขอนแก่น, 9(4), 90-101.

ระวีวรรณ ชอุ่มพฤกษ์. (2528). มานุษยวิทยาวัฒนธรรม. ปัตตานี: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.

วิชญ์ บุญรอด. (2564). ดนตรีพื้นบ้านอีสาน: อิทธิพลต่อการเปลี่ยนแปลงมนุษย์. วารสารมนุษย์ศาสตร์และสังคมมหาวิทยาลัยนครพนม, 11(1), 360-362.

สิทธิกุล บุญอิต. (2548). ความสำคัญของเครื่องดนตรีในงานสื่อสารมวลชน. วารสารดนตรีรังสิต, 1(1), 37-46.

อาทิตย์ กระจ่างศรี. (2561). ดนตรีพื้นบ้านอีสานร่วมสมัย วงพาราไดซ์แบงคอกหมอลำอินเตอร์เนชั่นแนล. วารสารศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 10(2), 23-45.

อัครวัตร เชื่อมกลาง. (2561). การเรียบเรียงเสียงประสานเพลงพื้นบ้านอีสานในรูปแบบดนตรีคลาสสิกสำหรับวงแชมเบอร์. (วิทยานิพนธ์ปริญญาบัณฑิต). มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.

Basicmusictheory. (2022). Pentatonic scale. Retrieved from https://www.basicmusictheory.com/ c-major-pentatonic-scale.

Dan Farrant. (2023). Diatonic scale. Retrieved from https://hellomusictheory.com/learn/c-major-scale/.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

25-06-2024