การพัฒนาการท่องเที่ยวโดยชุมชนในวิถีคนกับช้าง บ้านแม่ตะมาน ตำบลกื้ดช้าง อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่

ผู้แต่ง

  • จิระปรียา ดาราพันธ์ นักวิชาการอิสระ
  • มณฑิรา ทิพไทแก้ว นักวิชาการอิสระ
  • ปิยวรรณ โปธิป้อ นักวิชาการอิสระ
  • วรัญญา ยองเพชร นักวิชาการอิสระ
  • ศิริรัตน์ ขัตธิดา นักวิชาการอิสระ
  • สุภัคพิมล จันทร์ผา นักวิชาการอิสระ

คำสำคัญ:

บริบทชุมชน, วิถีชีวิต, ปางช้าง

บทคัดย่อ

 การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและพัฒนาการท่องเที่ยวในวิถีชีวิตคนกับช้างของชุมชน    บ้านแม่ตะมาน ผู้วิจัยได้ศึกษาแนวคิดทฤษฎีและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องเพื่อให้เกิดความรู้ความเข้าใจ และใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) โดยการรวบรวมข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-Depth Interview) จากกลุ่มตัวอย่างในชุมชนบ้านแม่ตะมาน จำนวน 10 คน และวิเคราะห์เชิงพรรณาความ

   ผลการวิจัยพบว่า บริบทชุมชนด้านการท่องเที่ยวในวิถีชีวิตคนกับช้างของชุมชน เกิดจากการพาลูกค้า ไปเที่ยวยังปางช้างต่าง ๆ และปางช้างยังไม่มีการสร้างมาตรฐานใด ๆ นักท่องเที่ยวจึงมีความกังวลสูง ดังนั้น  จึงคิดสร้างปางช้างที่ได้มาตรฐานสามารถสร้างความเชื่อมั่นแก่นักท่องเที่ยวได้ ศักยภาพของชุมชนที่มีต่อการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวโดยชุมชน โดยนำมาวิเคราะห์ SWOT ดังนี้ จุดแข็ง คือ ภายในชุมชนสภาพแวดล้อมมีความหลากหลายที่เอื้อต่อการท่องเที่ยว  จุดอ่อน คือ การสื่อภาษาของพนักงาน โอกาส คือ  การร่วมกันกับนักศึกษาจากสถาบันต่าง ๆ ในการศึกษาวิจัย อุปสรรค คือ สถานการณ์โรคระบาด เศรษฐกิจ และระยะทางที่ค่อนข้างห่างไกลจากตัวเมือง โดยมีแนวทางการพัฒนาการท่องเที่ยว คือ ชุมชนต้องสนับสนุนและส่งเสริมวัฒนธรรมในชุมชนเพื่อไม่ให้จางหายไป และต้องเสริมสร้างศักยภาพของชุมชนเอง

References

กรกรัณย์ ชีวะตระกุลพงษ์. (2563). โควิด-19 กระทบห่วงโซ่เศรษฐกิจโลก. สืบค้นจาก https://www. chula.ac.th

กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2563). สถิตินักท่องเที่ยว. สืบค้นจาก www.mots.go.th

เจตนา พัฒนจันทร์. (2562). การจัดการการท่องเที่ยวโดยชุมชน ชุมชนวัดตาล ตำบลบางเสด็จ อำเภอป่าโมก จังหวัดอ่างทอง. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ธง คำเกิด, อุทุมพร เรืองฤทธิ์, เพียงฤทัย เสงี่ยมศิลป์, จิตราภรณ์ เถรวัตร และ ชิดชนก มากจันทร. (2564). การจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชนบนฐานรากวิถีชีวิตชุมชนอย่างยั่งยืน ของตำบลต้นตาล อำเภอสองพี่น้อง จังหวัดสุพรรณบุรี. นนทบุรี: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ.

นิศา ชัชกุล. (2550). อุตสาหกรรมการท่องเที่ยว. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

บุษบา สิทธิการ วิยะดา เสรีวิชยสวัสดิ์ และ อิสรี แพทย์เจริญ. (2559). โครงการย่อยที่ 1 การศึกษาศักยภาพ/ ความพร้อมของระบบการท่องเที่ยวข้ามพรมแดนในเส้นทาง R3A และ R3B เพื่อรองรับประชาคมอาเซียน. (รายงานวิจัย). กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ.

ปัญญาดา นาดี และ ณัฐธพร เซิบรัมย์. (2565). การพัฒนาภาพลักษณ์ทัวร์ช้างไทยเพื่อความบันเทิงในการท่องเที่ยว. ปทุมธานี: มหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเซีย.

ภกร รงค์นพรัตน์. (2551). การท่องเที่ยวแบบยั่งยืนในประเทศไทย. กรุงเทพฯ: สถาบันพระปกเกล้า.

ราณี อมรินทร์รัตน์. (2551). การพัฒนาบุคลากรในอุตสาหกรรมท่องเที่ยว. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีปทุม.

สมาคมสหพันธ์ช้างไทย. (2565). วิกฤติช้างไทย. สืบค้นจาก https://www.thaielephan talliance.org/

สมเกียรติ ชัยพิบูลย์. (2551). การจัดการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม กรณีศึกษาศักยภาพการท่องเที่ยวชุมชนนครชุม อำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร. (รายงานวิจัย). กำแพงเพชร: มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร.

อรวรรณ เกิดจันทร์ (2557). การมีส่วนร่วมของชุมชนท้องถิ่นในการจัดการการท่องเที่ยวเชิงนิเวศป่าชายเลนคลองโคน จังหวัดสมุทรสงคราม. (ปริญญานิพนธ์มหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.

เอมอร หนูทับ (2553). การวางแผนยุทธศาสตร์เพื่อการพัฒนาการท่องเที่ยวที่ยั่งยืนแบบบูรณาการในจังหวัดนครศรีธรรมราช. พิษณุโลก: มหาวิทยาลัยนเรศวร.

MGR ONLINE. (2561). ฝรั่งชอบมากส่องปางช้างที่ “แม่ตะมานเชียงใหม่” วันนี้ไม่ได้มีแค่ “ช้างโชว์” นักท่องเที่ยว แห่พาช้างแช่โคลนคึกคัก. สืบค้นจาก https://mgronline.com/local/detail/9610000016579

TDRI. (2564). วิเคราะห์ผลกระทบของโควิด – 19 ต่อธุรกิจท่องเที่ยว. สืบค้นจาก https://tdri.or.th /2021/02/covid-112/

Paitiawmalao. (2563). ขึ่ช้าง ล่องแพ กับ ปางช้างแม่ตะมาน อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่. สืบค้นจาก https://travel.trueid.netdetail/brnnKL6bdZvr?fbclid=IwAR16fBRHg7wVt2bPN39v2Q7aGJTWIdXDJl2cChzzR

vjxPgRxLrK_jj55NqE

Downloads

เผยแพร่แล้ว

19-12-2024