การยกระดับผลิตภัณฑ์ชุมชนจากภูมิปัญญาสู่อัตลักษณ์ของกาแฟ ชุมชนบ้านปางไฮ ตำบลเทพเสด็จ อำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่

ผู้แต่ง

  • จินต์จุฑา ภูริปัญญาวรกุล นักวิชาการอิสระ
  • ลลิตา โพธาวงค์ นักวิชาการอิสระ
  • กัญญาณัฐ สอนใจ นักวิชาการอิสระ
  • นวียา สุนารัตน์ นักวิชาการอิสระ
  • ประกายดาว วัณโณ นักวิชาการอิสระ

คำสำคัญ:

อัตลักษณ์, ความตระหนัก, ชุมชนบ้านปางไฮ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาวิวัฒนาการการผลิตกาแฟของชุมชนบ้านปางไฮ  และ  2) เพื่อหาแนวทางการยกระดับการส่งเสริมผลิตภัณฑ์ชุมชนบ้านปางไฮสู่สากล กลุ่มเป้าหมายในการวิจัยครั้งนี้ คือประชาชนในหมู่บ้านปางไฮ หมู่ 7 ตำบลเทพเสด็จ อำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่ จำนวน 10 ครัวเรือน กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 10 คน จาก 10 ครัวเรือน วิเคราะห์ข้อมูลจากการสัมภาษณ์เชิงลึกจากกลุ่มตัวอย่างที่เป็นเกษตรกรทั้งหมดจำนวน 10 คน โดยจะวิเคราะห์ข้อมูลจากการถอดเทปสัมภาษณ์ของกลุ่มตัวอย่าง และนำมาจัดเรียงข้อมูลและหมวดหมู่ของแต่ละคำถาม

ผลการวิจัยพบว่า ในปัจจุบันการแข่งขันทางเศรษฐกิจเพิ่มมากขึ้น ทรัพยากรหรือผลิตภัณฑ์ในชุมชนมีเพิ่มมากขึ้นแต่ขาดการส่งเสริมขาดการยกระดับของผลิตภัณฑ์ในชุมชน ทำให้การส่งออกผลิตภัณฑ์ในชุมชนมีการส่งออกที่น้อยลงและราคาถูก ต้องการส่งเสริมผลิตภัณฑ์ในชุมชนให้มีการพัฒนาตัวผลิตภัณฑ์และส่งเสริมด้านการตลาดและการส่งออกของผลิตภัณฑ์ให้เป็นที่รู้จักของคนทั่วไปและเพิ่มมูลค่าของทรัพยากรในชุมชน

References

จิรกิตต์ ปิ่นทอง. (2564). ผ้าใยกัญชงบ้านแม่สาน้อย: ภูมิปัญญษท้องถิ่นของชาวม้งบ้านแม่สาน้อย อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ดำเนิน ปัญญาผ่องใส. (2565). การเสริมสร้างเครือข่ายการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนการเกษตรกาแฟดอยช้าง อำเภอแม่สรวย จังหวัดเชียงราย. เชียงราย: วิทยาลัยสงฆ์เชียงราย.

ทัดพงศ์ อวิโรธนานนท์. (2556). การสร้างความเข้มแข็งแก่ผู้ประกอบการกาแฟอินทรีย์ อำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยแม่โจ้.

ธัญธัช วิภัติภูมิประเทศ. (2553). การถ่ายทอดภูมิปัญญาท้องถิ่นของปราชญ์ชาวบ้าน: กรณีศึกษาวงกลองยาว อำเภอปราณบุรี จังหวัดประจวบคีรีขันธ์. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.

ประสพสุข ฤทธิเดช, สมบัติ ฤทธิเดช และ ดิษยทรรศน์ ศรีบุญเรือง. (2560). การศึกษาการใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น เพื่อพัฒนากองทุนบุญเดือนสาม เสริมสร้างความเข้มแข็งชุมชนตามความต้องการของบ้านกุดแคน ตําบลหนองโน อําเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม. มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.

ประยงค์ มีใจซื่อ. (2542). การศึกษากลยุทธ์การเติบโตของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. นครปฐม: มหาวิทยาลัยมหิดล.

ผกามาศ เพชรสิน และ อุทิศ สังขรัตน์. (2558). ภูมิปัญญาการทำกาแฟโบราณเพื่อสนับสนุนการท่องเที่ยว

บนเส้นทางเส้นทางระหว่าง กระบี่-เกาะลันตา กรณีศึกษา: ชุมชนบ้านร่าหมาด อำเภอเกาะลันตา จังหวัดกระบี่. สงขลา: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.

พรสวรรค์ มณีทอง. (2554). กระบวนการถ่ายทอดภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านดนตรีพื้นบ้านวงสะล้อ ซอ ซึง. ลำปาง: มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง.

เมธาวี จำเนียร. (2562). การสื่อสารอัตลักษณ์ชุมชนเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยว. นครศรีธรรมราช: มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช.

สุทธาภรณ์ ลดาวัลย์ ณ อยุธยา (2558). กลยุทธ์การสื่อสารอัตลักษณ์ท้องถิ่นที่ปะทะกับกระแสโลกาภิวัตน์ผ่านพื้นที่ของกาแฟ. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

สักรินทร์ อินทรวงค์. (2559). การพัฒนาอัตลักษณ์ตลาดชุมชนเทศบาลตำบลตลาดแคเพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็ง

ด้านเศรษฐกิจของชุมชนตลาดแค เทศบาลตำบลตลาดแค อำเภอโนนสูง จังหวัดนครราชสีมา. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

19-12-2024