การตรวจสอบการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญโดยศาลรัฐธรรมนูญในต่างประเทศ

Main Article Content

ปฐมพงษ์ คําเขียว

Abstract

     ขณะที่ประเทศไทยกาลังเผชิญกับปัญหาทางกฎหมายที่สาคัญว่า ศาลรัฐธรรมนูญไทยมีอานาจตรวจสอบการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญได้หรือไม่ หลังจากที่ศาลรัฐธรรมนูญไทยได้มีคาวินิจฉัยที่ 18-22/2555 เมื่อวันศุกร์ที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2555 เข้าไปตรวจสอบร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติมที่กาลังอยู่ในระหว่างการพิจารณาของรัฐสภา เมื่อพิจารณาจากหลักการพื้นฐานของการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญจะพบว่า รัฐธรรมนูญเกิดขึ้นมาจากอานาจสถาปนารัฐธรรมนูญ และการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญจะกระทาโดยอานาจแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญซึ่งไม่ใช่อานาจนิติบัญญัติและอยู่สูงกว่าอานาจนิติบัญญัติ โดยที่อานาจนิติบัญญัติกระทาได้เพียงการตรากฎหมายธรรมดาหรือแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายธรรมดาเท่านั้น อานาจนิติบัญญัติไม่อาจแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญได้ อย่างไรก็ตาม พบว่าการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญยังต้องอยู่ภายใต้หลักเกณฑ์ที่รัฐธรรมนูญเดิมนั้นเองบัญญัติไว้ ทั้งในด้านกระบวนการแก้ไขเพิ่มเติมและข้อห้ามที่ไม่สามารถแก้ไขเปลี่ยนแปลงหลักการบางอย่างที่รัฐธรรมนูญเดิมนั้นกาหนดไว้ด้วย


     ด้วยเหตุนี้ เมื่อทาการค้นคว้าศึกษาเปรียบเทียบศาลรัฐธรรมนูญของต่างประเทศว่ามีอานาจตรวจสอบการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญได้หรือไม่ พบว่า ศาลรัฐธรรมนูญในบางประเทศมีอานาจตรวจสอบการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญได้ โดยรัฐธรรมนูญของประเทศนั้นบัญญัติไว้อย่างชัดแจ้งให้ศาลรัฐธรรมนูญมีอานาจดังกล่าวได้ และศาลรัฐธรรมนูญก็อาศัยอานาจตามบทบัญญัตินั้นของรัฐธรรมนูญเข้าไปตรวจสอบการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ สาหรับในบางประเทศไม่มีบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญอย่างชัดแจ้งให้ศาลรัฐธรรมนูญมีอานาจตรวจสอบการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ แต่ศาลรัฐธรรมนูญอาศัยบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญที่ให้ศาลรัฐธรรมนูญมีอานาจตรวจสอบความชอบด้วยรัฐธรรมนูญของกฎหมาย โดยตีความขยายคาว่า “กฎหมาย” ให้รวมถึงรัฐธรรมนูญซึ่งเป็นกฎหมายประเภทหนึ่งและศาลรัฐธรรมนูญจึงมีอานาจตรวจสอบการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญได้ด้วย อย่างไรก็ตาม ในบางประเทศกลับไม่เป็นเช่นนั้น เมื่อรัฐธรรมนูญไม่ได้บัญญัติให้ศาลรัฐธรรมนูญมีอานาจตรวจสอบการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญแล้ว ศาลรัฐธรรมนูญก็วินิจฉัยว่าศาลรัฐธรรมนูญไม่มีอานาจดังกล่าว


     กรณีเหล่านี้จึงเป็นข้อเท็จจริงที่สาคัญประการหนึ่งสาหรับการย้อนกลับมาพิจารณากันอย่างลึกซึ้งถึงปัญหาของประเทศไทย ที่ว่าศาลรัฐธรรมนูญไทยควรมีอานาจตรวจสอบการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญได้หรือไม่ และขอบเขตแห่งการตรวจสอบนั้นควรกระทาได้เพียงใด ซึ่งเป็นปัญหาสาคัญของประเทศไทยที่จะต้องอภิปรายถึงกันอย่างลึกซึ้งต่อไป

Article Details

How to Cite
คําเขียว ป. . (2020). การตรวจสอบการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญโดยศาลรัฐธรรมนูญในต่างประเทศ. King Prajadhipok’s Institute Journal, 11(1), 38–56. Retrieved from https://so06.tci-thaijo.org/index.php/kpi_journal/article/view/244355
Section
Original Articles

References

Kemal Gözler, Judicial review of constitutional amendments: a comparative study, (Turkey Bursa, Ekin Press, 2008), pp. 42-47 [Online], Available URL: http://www.anayasa.gen.tr/jrca-html.htm, 2555 (สิงหาคม, 20).

คณะทางานพรรคร่วมรัฐบาล, รายงานของคณะทางานพรรคร่วมรัฐบาล กรณีปัญหาการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ มาตรา 291, (ม.ป.พ. , ม.ป.ป)

คำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญที่ 18-22/2555 วันที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2555.

คำสั่งศาลรัฐธรรมนูญที่ 4/2554 วันที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554.

ธัชชา ร่มรื่นสุขารมย์, “การแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญในประเทศไทย,” วารสารนิติศาสตร์ ปีที่ 14 ฉบับที่ 3 : หน้า 104.

ธีระ สุธีวรางกูร, “คาวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญที่ 18-22/2555 (การตั้งประเด็นแห่งคดีของศาลรัฐธรรมนูญ),” วารสารนิติศาสตร์ ปีที่ 42 ฉบับที่ 1 (มีนาคม 2556) : หน้า 223-230.

บรรเจิด สิงคะเนติ, การแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญกับอานาจของศาลรัฐธรรมนูญ, [Online], Available URL: http://www.manager.co.th/Daily/ViewNews.aspx?NewsID=9550000083594, 2555 (สิงหาคม, 22).

บรรเจิด สิงคะเนติ. ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับศาลรัฐธรรมนูญ, กรุงเทพฯ : สานักพิมพ์วิญญูชน, 2544.

บวรศักดิ์ อุวรรณโณ, คาอธิบายกฎหมายมหาชน (เล่ม 3) ที่มาและนิติวิธี, กรุงเทพฯ : สานักพิมพ์นิติธรรม, 2538.

บุญศรี มีวงษ์อุโฆษ, กฎหมายรัฐธรรมนูญ, พิมพ์ครั้งที่ 2, กรุงเทพฯ : โครงการตาราและเอกสารประกอบการสอน คณะนิติศาสตร์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2551.

พงศ์เพ็ญ ศกุนตาภัย, หลักรัฐธรรมนูญและสถาบันการเมือง, กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคาแหง, 2520.

วิศรุต คิดดี, “ศาลรัฐธรรมนูญตุรกีภายหลังการปฏิรูปรัฐธรรมนูญ ค.ศ. 2010 ตอนที่ 1,” จดหมายข่าวศาลรัฐธรรมนูญ ปีที่ 13, ฉบับที่ 3 (พฤษภาคม - มิถุนายน 2554) : หน้า 12-13.

วิษณุ เครืองาม, กฎหมายรัฐธรรมนูญ, พิมพ์ครั้งที่ 3, กรุงเทพฯ : สานักพิมพ์นิติบรรณาการ, 2530.

วิสุทธิ์ โพธิแท่น, แนวคิดพื้นฐานของประชาธิปไตย, กรุงเทพมหานคร: สานักพิมพ์คณะรัฐมนตรีและราชกิจจานุเบกษา, 2550.

อภิญญา แก้วกำเนิด, การสถาปนารัฐธรรมนูญเพื่อปฏิรูปการเมือง : ศึกษาในเชิงประวัติศาสตร์กฎหมายรัฐธรรมนูญเปรียบเทียบกรณีของประเทศสหรัฐอเมริกา เยอรมัน ฝรั่งเศส และไทย, วิทยานิพนธ์ นิติศาสตร์บัณฑิต คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2544.