ปัญหาความซ้ำซ้อนในอำนาจหน้าที่ และที่มาของผู้บริหารในองค์กรอิสระภายใต้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ปีพุทธศักราช 2550 : กรณีศึกษาผู้ตรวจการแผ่นดิน และคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ

Main Article Content

Pharkphoom Rukhamate

Abstract

     บทความชิ้นนี้ จะนาเสนอปัญหาความซ้ำซ้อนและความคล้ายคลึงของอำนาจหน้าที่ของผู้ตรวจการแผ่นดินและคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ รวมถึงประเด็นที่มาของผู้บริหารในองค์กรทั้งสอง ที่ถูกกำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 เพื่อนาไปสู่ข้อเสนอแนะในเชิงโครงสร้าง โดยผลการศึกษาพบความเหมือนกันของทั้งสององค์กรในประเด็น 1)อำนาจสั่งการให้บุคคล หรือหน่วยงาน ชี้แจงข้อเท็จจริง หรือมาให้ถ้อยคำ หรือส่งวัตถุ 2) การดำเนินการกรณีไม่ดำเนินการตามข้อเสนอ 3) การกำหนดบทลงโทษ มีความเหมือนกันในอำนาจในการลงโทษผู้ที่ไม่มาให้ข้อมูลหรือส่งหลักฐานและวัตถุพยาน4)พิจารณาสอบสวนหาข้อเท็จจริง และตรวจสอบ เมื่อมีการร้องเรียน 5)การติดตาม ประเมินผลและจัดทำข้อเสนอแนะ ในการปฏิบัติตามรัฐธรรมนูญ 6)รายงานผลการตรวจสอบและผลการปฏิบัติหน้าที่พร้อมข้อสังเกต 7) การเสนอเรื่องต่อศาลรัฐธรรมนูญ 8) การเสนอเรื่องต่อศาลปกครอง สำหรับความแตกต่างอย่างเห็นได้ชัดเจนระหว่างคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนมีอานาจแตกต่างจากผู้ตรวจการแผ่นดินคือ การฟ้องคดีแทนผู้เสียหาย และกรณีผู้ถูกร้องเรียนเป็นบุคคลกลุ่มเดียวกันคือเจ้าหน้าที่ของรัฐ หน่วยงาน ไม่ว่าจะเป็นหน่วยงานภาครัฐ ยกเว้น บุคคลธรรมดา กลุ่มบุคคลหรือเอกชน ที่คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติเท่านั้นที่เข้าไปเกี่ยวข้องโดยตรง ส่วนปัญหาด้านที่มานั้นยังมีปัญหาคณะกรรมการสรรหาที่กำหนดไว้ไม่ได้ยึดโยงกับภาคประชาชน จากปัญหาทั้งความซ้าซ้อนและที่มาของผู้บริหารองค์กรทั้งสอง แนวทางที่เป็นไปได้ในการแก้ปัญหาได้แก่ การมีองค์กรเดียวคือ ผู้ตรวจการแผ่นดินที่ผนวกหน้าที่ของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติเข้าด้วยกัน หรือมีองค์กรที่มีอานาจหน้าที่เฉพาะด้านสิทธิมนุษยชน แต่มีอำนาจในฐานะเป็นส่วนสำคัญในกระบวนการพิพากษาตัดสินคดีเกี่ยวกับสิทธิมนุษยชน หรือทางเลือกที่สาม ที่มีทั้งสององค์กรแต่ต้องพัฒนาระบบการทางานว่าองค์กรทั้งสองจะสามารถทาหน้าที่สอดประสานกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยแบ่งกันทำงานคนละมิติ ในส่วนองค์ประกอบของคณะกรรมการสรรหาต้องมีส่วนหนึ่งมาจากภาคประชาสังคม และสื่อมวลชน (Societal Actor) ส่วนหนึ่งซึ่งถือเป็นตัวแสดงที่ไม่ใช่รัฐ (Non-State Actor)

Article Details

How to Cite
Rukhamate, P. . (2020). ปัญหาความซ้ำซ้อนในอำนาจหน้าที่ และที่มาของผู้บริหารในองค์กรอิสระภายใต้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ปีพุทธศักราช 2550 : กรณีศึกษาผู้ตรวจการแผ่นดิน และคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ. King Prajadhipok’s Institute Journal, 11(1), 92–115. Retrieved from https://so06.tci-thaijo.org/index.php/kpi_journal/article/view/244358
Section
Original Articles

References

กระมล ทองธรรมชาติ. องค์กรตามรัฐธรรมนูญกับการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของประชาชน. วารสารศาลรัฐธรรมนูญ, ปีที่ 7 เล่มที่ 19 มกราคม – เมษายน พ.ศ. 2548 , หน้า 3.

บรรเจิด สิงคะเนติ และ นิรันดร์ พิทักษ์วัชระ. เรื่อง หลักสิทธิและเสรีภาพตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย : แนวความคิดและภาคปฏิบัติ” วารสาร จุลนิติ ปีที่ 8 ฉบับที่ 1 มกราคม-กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555 สำนักงานกฎหมาย สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา, หน้า 11–28.

บวรศักดิ์ อุวรรณโณ. องค์กรอิสระกับผลการปฏิรูปการเมือง. วารสารศาลรัฐธรรมนูญ, ปีที่ 6 เล่มที่ 18 กันยายน - หน้า 13-27.

นันทวัฒน์ บรมนันท์ พนา ทองมีอาคม และ ชลัท จงสืบพันธ์ 2548. การติดตามและประเมินผลการทำงานขององค์กรอิสระ : ศาลปกครอง คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ และผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภา สถาบันพระปกเกล้า.

สุรพล นิติไกรพจน์. บทบาทและภารกิจของผู้ตรวจการแผ่นดิน. วารสารผู้ตรวจการแผ่นดิน, ปีที่ 1 ฉบับที่ 2 เมษายน-มิถุนายน 2551. หน้า 74-78.

ลิขิต ธีรเวคิน. 2556. ความถูกต้องตามกฎหมาย ความชอบธรรมทางการเมืองและธรรมแห่งอำนาจธรรมศาสตร์ เสริมอาวุธทางปัญญาสู่สังคมไทยลำดับที่ 2 กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

พระราชบัญญัติคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ พ.ศ. 2542. สำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ พิมพ์ครั้งที่ 6. (2550).

พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยผู้ตรวจการแผ่นดิน พ.ศ. 2552. http://library2.parliament.go.th/giventake/content_cons50/act50parstate52.pdf [Online]. สืบค้นเมื่อวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2556.

พระราชบัญญัติสานักงานผู้ตรวจการแผ่นดิน พ.ศ. 2552. http://www.ombudsman.go.th/10/documents/law/ombudsman2552.pdf [Online]. สืบค้นเมื่อวันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2556.

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550. สำนักงานเลขาธิการสถาบันพระปกเกล้า สำนักพิมพ์คณะรัฐมนตรีและราชกิจจานุเบกษา.

สถาบันพระปกเกล้า และสำนักงานสถิติแห่งชาติ. รายงานผลการสำรวจความคิดเห็นของประชาชนเกี่ยวกับความพึงพอใจต่อการให้บริการสาธารณะและการทำงานของ หน่วยงานต่าง ๆ ประจำปี พ.ศ. 2550. [Online]. สืบค้นเมื่อวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2556.

สถาบันพระปกเกล้า และสำนักงานสถิติแห่งชาติ. รายงานผลการสำรวจความคิดเห็นของประชาชนเกี่ยวกับความพึงพอใจต่อการให้บริการสาธารณะและการทำงานของ หน่วยงานต่าง ๆ ประจำปี พ.ศ. 2551. [Online]. สืบค้นเมื่อวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2556.

สถาบันพระปกเกล้า และสำนักงานสถิติแห่งชาติ. รายงานผลการสำรวจความคิดเห็นของประชาชนเกี่ยวกับความพึงพอใจต่อการให้บริการสาธารณะและการทางานของ หน่วยงานต่าง ๆ ประจำปี พ.ศ. 2552. [Online]. สืบค้นเมื่อวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2556.

สถาบันพระปกเกล้า และสำนักงานสถิติแห่งชาติ.รายงานผลการสำรวจความคิดเห็นของประชาชนเกี่ยวกับความพึงพอใจต่อการให้บริการสาธารณะและการทำงานของ หน่วยงานต่าง ๆ ประจำปี พ.ศ. 2553. [Online]. สืบค้นเมื่อวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2556.

สถาบันพระปกเกล้า และสำนักงานสถิติแห่งชาติ. รายงานผลการสำรวจความคิดเห็นของประชาชนเกี่ยวกับความพึงพอใจต่อการให้บริการสาธารณะและการทำงานของ หน่วยงานต่าง ๆ ประจำปี พ.ศ. 2554. [Online]. สืบค้นเมื่อวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2556.

สถาบันพระปกเกล้า และสำนักงานสถิติแห่งชาติ.รายงานผลการสำรวจความคิดเห็นของประชาชนเกี่ยวกับความพึงพอใจต่อการให้บริการสาธารณะและการทำงานของ หน่วยงานต่าง ๆ ประจำปี พ.ศ. 2555. [Online]. สืบค้นเมื่อวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2556.

สุรพล นิติไกรพจน์. สรุปการสัมมนาทางวิชาการเรื่อง “ผู้ตรวจการแผ่นดิน ( ของรัฐสภา ): ” สำนักวิชาการและยุทธศาสตร์. วารสารผู้ตรวจการแผ่นดิน, ปีที่ 1 ฉบับที่ 2 เมษายน-มิถุนายน 2551. หน้า 74-79.

สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540 . [Online]. สืบค้นเมื่อวันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2556.

สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550 . [Online]. สืบค้นเมื่อวันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2556.

สำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชน. 2550. พระราชบัญญัติคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ พ.ศ. 2542. กรุงเทพมหานคร.

สำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดิน. 2554. รายงานประจาปี 2554 ผู้ตรวจการแผ่นดิน. กรุงเทพมหานคร: อัมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง.

สำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดิน. 2545. วารสารผู้ตรวจการแผ่นดิน. ปีที่ 1 ฉบับที่ 1 เมษายน-กันยายน 2545. กรุงเทพมหานคร: มปพ.

สำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดิน. 2545. วารสารผู้ตรวจการแผ่นดิน. ปีที่ 1 ฉบับที่ 2 เมษายน-มิถุนายน 2551. กรุงเทพมหานคร: มปพ.

สำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดิน. 2545. วารสารผู้ตรวจการแผ่นดิน. ปีที่ 5 ฉบับที่ 2 ตุลาคม 2549 - มีนาคม 2550. กรุงเทพมหานคร: มปพ.

สำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดิน. 2548. วารสารผู้ตรวจการแผ่นดิน. ปีที่ 4 ฉบับที่ 2 ตุลาคม 2548-มีนาคม 2549. กรุงเทพมหานคร: มปพ.

สำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดิน. 2550. วารสารผู้ตรวจการแผ่นดิน. ปีที่ 6 ฉบับที่ 1 เมษายน - กันยายน 2550. กรุงเทพมหานคร: มปพ.

สำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดิน.2553. วารสารผู้ตรวจการแผ่นดิน. ปีที่ 1 ฉบับที่ 3 กรกฎาคม-กันยายน 2551. กรุงเทพมหานคร: ,มปพ.

สำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดิน. 2553. วารสารผู้ตรวจการแผ่นดิน. ปีที่ 2 ฉบับที่ 2 กรกฎาคม- ธันวาคม 2552. กรุงเทพมหานคร: มปพ.

สำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดิน. 2553. วารสารผู้ตรวจการแผ่นดิน. ปีที่ 3 ฉบับที่ 2 กรกฎาคม- ธันวาคม 2553.กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์เดือนตุลา.

สำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดิน. 2553. วารสารผู้ตรวจการแผ่นดิน. ปีที่ 4 ฉบับที่ 1 เมษายน - กันยายน 2548. กรุงเทพมหานคร: มปพ.

สำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ. วารสารศาลรัฐธรรมนูญ. ปีที่ 10 เล่มที่ 30 กันยายน-ธันวาคม 2551.กรุงเทพมหานคร :พี เพรส.

สำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ. วารสารศาลรัฐธรรมนูญ. ปีที่ 11 เล่มที่ 31 มกราคม-เมษายน 2552.กรุงเทพมหานคร :พี เพรส.

สำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ. วารสารศาลรัฐธรรมนูญ. ปีที่ 6 เล่มที่ 18 กันยายน-ธันวาคม 2547.กรุงเทพมหานคร :พี เพรส.

สุรสีห์ โกศลนาวิน. 2547. บทบาทคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติในการคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของบุคคล. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์.