การเมืองเรื่องการเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดบุรีรัมย์: สัมพันธภาพและการเปลี่ยนแปลงในเชิงอานาจ

Main Article Content

Titus Mala

Abstract

     บทความนี้มีวัตถุประสงค์ในการอธิบาย ๒ ประการ คือ (๑) สัมพันธภาพในเชิงอานาจทางการเมืองในการเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดบุรีรัมย์ และ (๒) การเปลี่ยนแปลงของสัมพันธภาพในเชิงอานาจของการเมืองท้องถิ่นในจังหวัดบุรีรัมย์โดยการวิเคราะห์ผ่านการเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดบุรีรัมย์


     ผลการศึกษาพบว่า (๑) สัมพันธภาพในเชิงอานาจทางการเมืองมีการผสมผสานทั้งรูปแบบเดิมและรูปแบบใหม่ โดยเฉพาะรูปแบบใหม่นั้น ได้แก่ ชื่อเสียงหรือผลงานทางการเมืองของผู้สมัครแต่ละคน นโยบายของผู้สมัครแต่ละคน กระแสความนิยมต่อกลุ่มเคลื่อนไหวทางการเมืองของผู้สมัคร ชื่อเสียงของพรรคการเมืองที่ผู้สมัครสังกัด รวมทั้งอิทธิพลจากแนวคิดการตลาดการเมืองที่ผู้สมัครเสนอขายแก่ประชาชน (๒) ปัจจัยที่ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงสัมพันธภาพในเชิงอานาจทางการเมือง ได้แก่ ชื่อเสียงของพรรคการเมือง ขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคม การเข้าถึงข้อมูลข่าวสาร การกระจายอานาจสู่ท้องถิ่น และแนวคิดการตลาดการเมือง


     การเปลี่ยนแปลงของสัมพันธภาพในเชิงอานาจที่เกิดขึ้นนั้นได้ส่งผลต่อรูปแบบการหาเสียงและการรักษาฐานเสียงของนักการเมือง โดยเฉพาะอย่างยิ่งฐานอานาจเดิมในจังหวัดบุรีรัมย์ได้มีการปรับตัวต่อกระแสของการเปลี่ยนแปลงเนื่องจากเข้าใจต่อการเปลี่ยนแปลงนี้เป็นอย่างดี

Article Details

How to Cite
mala, titus . . (2020). การเมืองเรื่องการเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดบุรีรัมย์: สัมพันธภาพและการเปลี่ยนแปลงในเชิงอานาจ. King Prajadhipok’s Institute Journal, 11(1), 116–141. Retrieved from https://so06.tci-thaijo.org/index.php/kpi_journal/article/view/244359
Section
Original Articles

References

เจมส์ ซี สกอตต์. ๒๕๔๓. การเมืองในระบบผู้อุปถัมภ์กับผู้รับอุปถัมภ์และการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองใน ตะวันออกเฉียงใต้. ใน ระบบอุปถัมภ์. อมรา พงศาพิชญ์ และปรีชา คุวินทร์พันธ์ (บรรณาธิการ). พิมพ์ครั้งที่ ๒. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ๑๐๐-๑๐๕.

เฉลียว เชียนรัมย์. ชาวบ้าน. 2555 (27 พฤษภาคม). การสัมภาษณ์.

ดารารัตน์ เมตตาริกานนท์และปนัทดา เผือกพันธ์. ๒๕๓๕. ผู้นำท้องถิ่นอีสานกับเครือข่าย ความสัมพันธ์ : การศึกษาเชิงวิเคราะห์จากกรณีศึกษา. รายงานวิจัย เสนอต่อ TDRI และ CIDA.

ถาวร ลับโกษา. อดีตประธานสภาองค์การบริหารส่วนตาบล. 2555 (27 พฤษภาคม). การสัมภาษณ์.

ไททัศน์ มาลา. ๒๕๕๖. สัมพันธภาพและการเปลี่ยนแปลงในเชิงอานาจในการเลือกตั้งนายก องค์การบริหารส่วนจังหวัดบุรีรัมย์. รายงานการวิจัย เสนอต่อ สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์.

บุญชู คงมี. ผู้ใหญ่บ้าน. 2555 (27 พฤษภาคม). การสัมภาษณ์.

สามารถ กาศรัมย์. ชาวบ้าน. 2555 (27 พฤษภาคม). การสัมภาษณ์.

สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้งจังหวัดบุรีรัมย์. ผลการเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด บุรีรัมย์. ค้นวันที่ ๗ เมษายน ๒๕๕๕ จาก http://www2.ect.go.th/Province=buriram

เอนก เหล่าธรรมทัศน์. ๒๕๔๖. สองนคราประชาธิปไตย : แนวทางปฏิรูป การเมือง เศรษฐกิจ เพื่อ ประชาธิปไตย. พิมพ์ครั้งที่ ๒. กรุงเทพฯ: ทิปปิ้ง พอยท์.