ข้อสังเกตบางประการ : เมื่อรัฐจะเนรมิตรเทศบาลตาบลทั่วประเทศ

Main Article Content

Sunthonchai Chopyot

Abstract

     บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ข้อสังเกตต่อการที่กระทรวงมหาดไทย (ช่วงมิ.ย. 2555) ที่มีความพยายามในการจัดตั้งองค์การบริหารส่วนตาบล (อบต.) ขึ้นเป็นเทศบาลตาบลทั่วประเทศ โดยมีการตราร่างพระราชบัญญัติจัดตั้งองค์การบริหารส่วนตาบลเป็นเทศบาลตาบล พ.ศ  ทั้งนี้ผู้เขียนมีข้อสังเกตหลักๆอยู่ 4 ประการด้วยกัน นั่นคือข้อสังเกตในมิติทางวิชาการ มิติทางการเมือง มิติทางการบริหารและข้อสังเกตในมิติทางกฎหมาย


     สาหรับข้อสังเกตมิติทางวิชาการนั้น นับเป็นบทสะท้อนอานาจรัฐสมัยใหม่ในการสถาปนาองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น อีกทั้งยังเป็นบทสะท้อนทฤษฎีการปกครองท้องถิ่นรูปแบบประนีประนอม และยังสะท้อนให้เห็นถึงรัฐที่เน้นการปกครอง (Government) ตามตัวบทกฎหมาย มากกว่าที่จะส่งเสริมการบริหารจัดการท้องถิ่นที่เน้นการสร้างท้องถิ่นให้แสวงหาความร่วมมือกับส่วนอื่น (Governance) ในมิติทางการเมืองจะเห็นว่าเป็นการเร่งสร้างความเข้มแข็งของท้องถิ่นในระดับตาบลมากกว่าการส่งเสริมความเข้มแข็งของท้องถิ่นในระดับที่ใหญ่กว่า อีกทั้งยังเกิดการประนีประนอมกับนักการเมืองท้องถิ่น เมื่อเป็นเทศบาลตาบลแล้วนักการเมืองยังสามารถปฏิบัติหน้าที่ต่อได้จนกว่าจะหมดวาระของอบต. นอกจากนี้ในเรื่องการแบ่งเขตเลือกตั้งของเทศบาลตาบล ยังเป็นการจาลองเขตเลือกตั้งทางการเมืองระดับชาติลงไปในพื้นที่อีกด้วย สาหรับข้อสังเกตในมิติทางการบริหาร ปัญหาทางการบริหารท้องถิ่นยังคงปรากฏอยู่ไม่ได้สูญสิ้นไปกับอบต.แต่อย่างใด ในขณะเดียวกันการจัดตั้งอบต.เป็นเทศบาลตาบล ไม่ได้มีหลักประกันใดๆเลยว่าเมื่อจัดตั้งแล้วจะทาให้งบประมาณเพิ่มขึ้นตราบใดที่งบประมาณที่จัดสรรให้กับท้องถิ่นยังคงไม่เปลี่ยนแปลง อีกทั้งอานาจหน้าที่ของเทศบาลตาบลแทบไม่มีความแตกต่างกับอบต. สาหรับประเด็นมิติด้านกฎหมายนั้น อาจพิจารณาถึงประเด็นปัญหาและแนวทางในการเปลี่ยนแปลงฐานะที่ผ่านมาซึ่งไม่เป็นไปตามหลักนิติธรรม ประกอบกับร่างพระราชบัญญัติจัดตั้งองค์การบริหารส่วนตาบลเป็นเทศบาลตาบล พ.ศ. ....นั้น ก็ชัดเจนว่าเป็นการบังคับให้อบต.เป็นเทศบาลตาบลพร้อมกัน แม้จะมีอบต.หลายแห่งที่ไม่มีความพร้อมก็ตาม


     ทั้งนี้ผู้เขียนมีข้อพิจารณาดังนี้ ประการแรก มีความจาเป็นมากน้อยเพียงใดที่จะจัดตั้งอบต.ทั้งหมดทั่วประเทศขึ้นเป็นเทศบาลตาบลทั้งที่หลายอบต.ยังไม่มีความพร้อม ประการที่สอง รัฐควรใส่ใจปัญหาในการบริหารงานท้องถิ่นที่มีอยู่มากกว่าการที่จะปฏิรูปเฉพาะตัวโครงสร้างองค์กรหรือไม่ ประการที่สามควรให้การจัดตั้งเทศบาลเป็นไปตามเจตนารมณ์ของประชาชนจริงๆไม่ใช่เป็นการสั่งการอย่างที่เป็นอยู่ ประการที่สี่ แม้มีกระบวนการเพื่อขอเปลี่ยนแปลงฐานะเป็นเทศบาลตาบลยังมีประเด็นปัญหาเรื่องการรับฟังความเห็นจากประชาชน กรณีเช่นนี้เป็นการรวบรัดและลักลั่นเกินไปหรือไม่ และประการสุดท้าย จะเกิดความท้าทายเรื่องความเป็นตัวแทนของประชาชนอันเนื่องมาจากการแบ่งเขตในการเลือกตั้งในเขตเทศบาลตาบล

Article Details

How to Cite
chopyot, sunthonchai . (2020). ข้อสังเกตบางประการ : เมื่อรัฐจะเนรมิตรเทศบาลตาบลทั่วประเทศ. King Prajadhipok’s Institute Journal, 11(1), 142–164. Retrieved from https://so06.tci-thaijo.org/index.php/kpi_journal/article/view/244360
Section
Original Articles

References

กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น. 2551. รายงานประจำปี 2551. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทยจำกัด.

กรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่น. 2555. ร่างพระราชบัญญัติจัดตั้งองค์การบริหารส่วนตาบลเป็นเทศบาลตาบล พ.ศ. .... ค้นวันที่ 9 กันยายน 2555 จาก http://www.dla.go.th/servlet/PublicHearingServlet?_mode=pub&pub_id=10

โกวิทย์ พวงงาม. 2552. การปกครองท้องถิ่นไทยหลักการและมิติใหม่ในอนาคต. พิมพ์ครั้งที่ 7. กรุงเทพมหานคร: วิญญูชน.

คณะกรรมการปฏิรูป. 2554. แนวทางการปฏิรูปประเทศไทย ข้อเสนอต่อพรรคการเมืองและผู้มีสิทธิเลือกตั้ง. พิมพ์ครั้งที่ 3. นนทบุรี : สำนักงานปฏิรูป (สปร.).

ชยาวุธ จันทร, เยาวลักษณ์ กุลพานิช และชุลีพร เดชขา. 2543. วิวัฒนาการการปกครองท้องถิ่นไทย. กรุงเทพมหานคร: หจก.น่ากังการพิมพ์.

เชิงชาญ จงสมชัย. มปป. การคอรัปชั่นในการสอบและบรรจุแต่งตั้งขององค์การบริหารส่วนตำบล ใน รวมบทความวิชาการฉบับพิเศษ: 5 ปี รัฐศาสตร์และรัฐประศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร. ทิวากร แก้วมณี และคณะ. พิษณุโลก: ดาวเงินการพิมพ์.

ดิเรก ปัทมสิริวัฒน์. 2553. การคลังท้องถิ่น รวมบทความวิจัยเพื่อเพิ่มพลังให้ท้องถิ่น. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพมหานคร : พี.เอ.ลิฟวิ่ง จำกัด.

ธเนศวร์ เจริญเมือง. 2548. 100 ปีการปกครองท้องถิ่นไทย พ.ศ.2440-2540. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพมหานคร: คบไฟ.

ธเนศวร์ เจริญเมือง. 2551ก. ดอกไม้ LDC บานสะพรั่ง: หนึ่งทศวรรษการกระจายอานาจของรัฐไทย (พ.ศ.2540-2550). ใน ก้าว (ไม่) พ้นประชานิยม กระจายอานาจสู่ท้องถิ่น. ณรงค์ เพชรประเสริฐ. เศรษฐศาสตร์การเมือง. กรุงเทพมหานคร: เอเดสันเพรส โปรดักส์.

ธเนศวร์ เจริญเมือง. 2551ข. ทฤษฎีและแนวคิด : การปกครองท้องถิ่นกับการบริหารจัดการท้องถิ่น(ภาคแรก). กรุงเทพมหานคร: คบไฟ.

ธเนศวร์ เจริญเมือง. 2553. การปกครองท้องถิ่นกับการบริหารจัดการท้องถิ่น อีกมิติหนึ่งของอารยธรรมโลกภาคแรกจากยุคกรีกถึงยุคทุนนิยมตะวันตก. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร: คบไฟ.

นครินทร์ เมฆไตรรัตน์ และคณะ. 2552. รายงานการศึกษาความก้าวหน้าของการกระจายอำนาจในประเทศไทย. เอกสารวิจัย เสนอต่อกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น.

นครินทร์ เมฆไตรรัตน์. 2542ข. ปรีดี พนมยงค์กับการปกครองท้องถิ่นไทย. ใน วารสารธรรมศาสตร์. 25, 1 (มกราคม-เมษายน): 35-43.

บุญรงค์ นิลวงศ์. 2522. การปกครองท้องถิ่นเปรียบเทียบ. กรุงเทพมหานคร: เจริญวิทย์การพิมพ์.

ประทาน คงฤทธิศึกษากร. 2534. การปกครองท้องถิ่น. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร: โครงการส่งเสริมเอกสารวิชาการ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

ประหยัด หงส์ทองคา และพรศักดิ์ ผ่องแผ้ว. 2529. ปัญหาและแนวทางปรับปรุงประสิทธิภาพของการบริหารเทศบาลไทย. กรุงเทพมหานคร: เจ้าพระยาการพิมพ์.

พระราชบัญญัติการทะเบียนราษฎร พ.ศ. 2534. ราชกิจจานุเบกษา. ฉบับกฤษฎีกา 108, 203 (22 พฤศจิกายน) : 97-120.

ไพรัช ตระการศิรินนท์ และคณะ. 2546. รายงานวิจัย เรื่อง ปัญหาของเทศบาลตาบลที่ถูกเปลี่ยนฐานะจากสุขาภิบาลในภาคเหนือตอนบน. เชียงใหม่: ภาควิชารัฐศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. 2537. รายงานการวิจัย เกณฑ์การพิจารณาจัดตั้งและยกฐานะหน่วยการปกครองท้องถิ่น. กรุงเทพมหานคร: โครงการวิทยาลัยการเมือง.

มติชน. 2553 (19 ตุลาคม). นายกอบต.จี้มท.ยกฐานะทต: 8.

มติชน. 2555 (10 กรกฎาคม). ขรก.อบจ.ชี้หลังยกฐานะ'ทต.'เหลืองบพัฒนาท้องถิ่นเพียบ : 8.

วีระศักดิ์ เครือเทพ. 2553. ฤาเสียงของประชาชนจะมีความหมายในการจัดทางบประมาณของ อบต.?. กรุงเทพมหานคร: สถาบันพระปกเกล้า.

วีระศักดิ์ เครือเทพ. 2551. การเสริมสร้างสุขภาพทางการคลังขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น. พิมพ์ครั้งที่ 2. นนทบุรี : วิทยาลัยพัฒนาการปกครองท้องถิ่น สถาบันพระปกเกล้า.

วุฒิสาร ตันไชย. 2552. ยุทธศาสตร์การปกครองท้องถิ่น. กรุงเทพมหานคร: เอ็กซเปอร์เน็ท.

วุฒิสาร ตันไชย. 2547. การกระจายอานาจและการปกครองท้องถิ่นความก้าวหน้าหลังรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2550. นนทบุรี: โรงพิมพ์คลังวิชาจำกัด.

สุนทรชัย ชอบยศ. 2554ก. กระบวนการและผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงฐานะจากองค์การบริหารส่วนตำบลเป็นเทศบาลตำบล : กรณีศึกษาเทศบาลตำบลในจังหวัดขอนแก่น. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

สุนทรชัย ชอบยศ. 2554ข. ทศวรรษแห่งการกระจายอานาจและแนวโน้มท้องถิ่นไทย. ใน วารสารรัฐประศาสนศาสตร์. ปีที่ 9 ฉบับที่ 1 มกราคม-มิถุนายน 2554. กรุงเทพมหานคร : คณะรัฐประศาสนศาสตร์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

สุนทรชัย ชอบยศ. 2555. ปัญหาในการกู้ยืมเงินขององค์การบริหารส่วนตำบลในประเทศไทย. ในวารสารรัฐสภาสาร ปีที่ 60 ฉบับที่ 11 เดือนพฤศจิกายน. กรุงเทพมหานคร : สำนักการพิมพ์สานักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร.

อัชกรณ์ วงศ์ปรีดี. 2548. ทศวรรษแห่งการปฏิรูปการปกครองท้องถิ่นไทย : จากการเลือกตั้งผู้ว่าราชการจังหวัดสู่ อบต.และการเลือกตั้งโดยตรงผู้บริหารท้องถิ่น. ใน วารสารสถาบันพระปกเกล้า. 3 (พฤษภาคม-สิงหาคม): 43-57.

อุดม ทุมโฆสิต. 2550. ความเสมอภาคในการจัดสรรเงินอุดหนุนให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นการวิเคราะห์ความเหลื่อมล้าและการแสวงหาทางออก. ใน วารสารรัฐประศาสนศาสตร์ ปีที่ 5. ฉบับพิเศษ (การประชุมวิชาการรัฐประศาสนศาสตร์ระดับประเทศครั้งที่ 1 พฤษภาคม-สิงหาคม เล่มที่ 2). กรุงเทพฯ : คณะรัฐประศาสนศาสตร์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

Anwar Shah and Sana Shah. 2006. The New Vision of Local Governance and Evolving Roles of Local Government. Anwar Shah (Edited). Local Governance in Developing Countries. Washington, D.C. : The World Bank.