การสร้างความปรองดองแห่งชาติ
Main Article Content
Abstract
การวิจัยนี้มุ่งตอบคาถามของคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาศึกษาแนวทางการสร้างความปรองดองแห่งชาติ สภาผู้แทนราษฎรว่า “อะไรคือรากเหง้าของความขัดแย้งทางการเมืองที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน และมีปัจจัยหรือกระบวนการใดที่ทาให้คนในสังคมสามารถกลับมาอยู่ร่วมกันได้อย่างสันติ?” โดย (๑) การทบทวนแนวคิดและทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับการแก้ไขความขัดแย้ง กระบวนการสร้างความปรองดอง และความยุติธรรมในระยะเปลี่ยนผ่าน ร่วมกับการศึกษากฎหมาย รูปแบบ และกลไกที่เกี่ยวข้องซึ่งเคยมีการนาไปใช้ในการแก้ไขความขัดแย้งและสร้างความปรองดองทั้งในประเทศไทยและในต่างประเทศ (๒) การสรุปบทเรียนจากเวทีประชาเสวนาหาทางออกซึ่งสถาบันพระปกเกล้าได้ดาเนินการในทุกภูมิภาคทั่วประเทศโดยให้ประชาชนหลายภาคส่วนร่วมกันเสวนาหาทางออกของประเทศไทยร่วมกันในช่วงเดือนธันวาคม ๒๕๕๓ – มิถุนายน ๒๕๕๔ (๓) การศึกษาประสบการณ์การแก้ไขความขัดแย้งและการสร้างความปรองดองในต่างประเทศ ซึ่งคัดเลือกมา ๑๐ กรณีศึกษาจากหลากหลายทวีปในบริบทที่แตกต่างกัน ได้แก่ เกาหลีใต้ โคลอมเบีย ชิลี โบลิเวีย โมร็อกโก เยอรมนี รวันดา สหราชอาณาจักร (กรณีไอร์แลนด์เหนือ) อินโดนีเซีย (กรณีอาเจะห์) และแอฟริกาใต้ (๔) การประมวลวิเคราะห์ข้อมูลปรากฏการณ์ความขัดแย้งทางการเมืองในสังคมไทยตั้งแต่การเปลี่ยนแปลงการปกครองสู่ระบอบประชาธิปไตยจนถึงปัจจุบัน และ (๕) การสัมภาษณ์เชิงลึกผู้เกี่ยวข้อง จานวน ๔๗ คน ซึ่งประกอบด้วยนักการเมืองอาวุโส ผู้มีบทบาทสาคัญในเหตุการณ์ความขัดแย้ง ผู้มีบทบาทเกี่ยวข้องกับกระบวนการสร้างความปรองดอง และผู้เกี่ยวข้องอื่นๆ โดยใช้คาถามปลายเปิดสาหรับการสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง (Semi-structured Interview) ๒ ครั้ง โดยมีระยะเวลาในการศึกษาวิจัยทั้งสิ้น ๑๒๐ วัน
ผลการศึกษาพบว่า ความแตกแยกทางความคิดอย่างกว้างขวางในสังคมไทยที่ยืดเยื้อยาวนานที่แต่ละฝ่ายยังมีพฤติกรรมเหมือนเดิม เช่น มีการเปิดหมู่บ้านมวลชน มีการกระทาที่เข้าข่ายการกระทาละเมิดหรือดูหมิ่นสถาบันเบื้องสูง ตลอดจนการข่มขู่ว่าจะแสดงพลังเพื่อกดดันให้การดาเนินการต่างๆ เป็นไปในแนวทางที่ฝ่ายตนต้องการ ฯลฯ นอกจากนี้ จากการสัมภาษณ์ความเห็นผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายยังพบอีกว่าแต่ละฝ่ายยังคงยึดมั่นอยู่ในจุดยืนเดิมของตนเอง สะท้อนให้เห็นว่าบรรยากาศแห่งความปรองดองยังไม่เกิดขึ้น ด้วยเหตุนี้ สิ่งที่ต้องริเริ่มดาเนินการเพื่อสร้างความปรองดองก็คือรัฐบาล ฝ่ายค้าน และทุกฝ่ายควรช่วยกันสร้างบรรยากาศแห่งการปรองดองโดยการยุติการกระทาที่ถือเป็นการทาลายบรรยากาศแห่งการปรองดองทั้งหมด และไม่รวบรัดใช้เสียงข้างมากเพื่อแสวงหาทางออก แต่จะต้องมีการร่วมกันสร้างเวทีทั่วประเทศเพื่อเปิดพื้นที่ให้ทุกฝ่ายได้มีโอกาสถกเถียงแลกเปลี่ยนในวงกว้าง ต่อข้อเสนอ ทางเลือก และความเป็นไปได้ต่างๆ ในการสร้างความปรองดองในชาติ ทั้งนี้ เพื่อให้เกิดความเข้าใจระหว่างกันมากขึ้น และหาทางเลือกที่เป็นที่ยอมรับของทุกฝ่าย ซึ่งจะส่งผลให้แต่ละฝ่ายสามารถก้าวออกจากจุดยืนที่แตกต่างกันมาสู่จุดร่วมที่จะนาไปสู่การอยู่ร่วมกันอย่างสันติได้ ดังนั้น กระบวนการพูดคุย (dialogue) หาทางออกจึงเป็นหัวใจของการปรองดอง
Article Details
@ 2020 King Prajadhipok's Institute The Government Complex Commemorating All Right Reserved.
References
คณะกรรมการปฏิรูป. ๒๕๕๔. แนวทางการปฏิรูปประเทศไทย: ข้อเสนอต่อพรรคการเมืองและผู้มีสิทธิเลือกตั้ง. กรุงเทพฯ: สำนักงานปฏิรูป (สปร.).
คณะกรรมการอิสระตรวจสอบและค้นหาความจริงเพื่อการปรองดองแห่งชาติ. ๒๕๕๔ก. รายงานความคืบหน้าคณะกรรมการอิสระตรวจสอบและค้นหาความจริงเพื่อการปรองดองแห่งชาติ (คอป.) ครั้งที่ ๑ (๑๗ กรกฎาคม ๒๕๕๓ – ๑๖ มกราคม ๒๕๕๔). กรุงเทพฯ: คณะกรรมการอิสระตรวจสอบและค้นหาความจริงเพื่อการปรองดองแห่งชาติ.
คณะกรรมการอิสระตรวจสอบและค้นหาความจริงเพื่อการปรองดองแห่งชาติ. ๒๕๕๔ข. รายงานความคืบหน้าคณะกรรมการอิสระตรวจสอบและค้นหาความจริงเพื่อการปรองดองแห่งชาติ (คอป.) ครั้งที่ ๒ (๑๗ มกราคม ๒๕๕๔-๑๖ กรกฎาคม ๒๕๕๔). กรุงเทพฯ: คณะกรรมการอิสระตรวจสอบและค้นหาความจริงเพื่อการปรองดองแห่งชาติ.
ชัยวัฒน์ สถาอานันท์. ๒๕๔๖. อาวุธมีชีวิต?: แนวคิดเชิงวิพากษ์ว่าด้วยความรุนแรง. กรุงเทพฯ: ฟ้าเดียวกัน.
พระราชกำหนดนิรโทษกรรมแก่ผู้กระทำความผิดเนื่องในการชุมนุมกันระหว่างวันที่ ๑๗ พฤษภาคม ๒๕๓๕ ถึงวันที่ ๒๑ พฤษภาคม ๒๕๓๕.
มอริส, แคธเธอรีน. ๒๕๔๗. การจัดการความขัดแย้งและการขอโทษ. (วันชัย วัฒนศัพท์, ผู้แปล). ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น, สถาบันสันติศึกษา.
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐.
วันชัย วัฒนศัพท์. ๒๕๕๐. ความขัดแย้ง: หลักการและเครื่องมือการแก้ปัญหา. พิมพ์ครั้งที่ ๓. ขอนแก่น: ศิริภัณฑ์ออฟเซ็ท.
Abu-Nimer, Mohammed (ed.). 2001. Reconciliation, Justice, and Coexistence: Theory and Practice. Lanham, MD: Lexington Books.
Bercovitch, Jacob, Victor Kremenyuk, and William I. Zartman (eds.). 2009. The SAGE Handbook of Conflict Resolution. London: Sage.
Bloomfield, David, Teresa Barnes, and Luc Huyse. 2003. Reconciliation After Violent Conflict: A Handbook. Stockholm: International Institute for Democracy and Electoral Assistance.
Rigby, Andrew. 2001. Justice and Reconciliation: After the Violence. Boulder. CO: Lynne Rienner.
Weiner, Eugene (ed.). 1998. The Handbook of Interethnic Coexistence. New York: Continuum.