กฎเกณฑ์การสืบราชสมบัติของไทย

Main Article Content

Wisanu Krua-ngam

Abstract

     รัฐทั้งหลายย่อมมีหัวหน้าหรือผู้ปกครอง ในสังคมบรรพกาลซึ่งยังไม่สลับซับซ้อนนัก ผู้ปกครองอาจเป็นหัวหน้าเผ่า ผู้นาพิธีกรรมหรือนักรบผู้กล้าหาญสามารถ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความต้องการของผู้คนในสังคมนั้น ๆ ต่อมาเมื่อสังคมสลับซับซ้อนมากขึ้น ผู้ปกครองกลายเป็นเครื่องหมายแห่งอานาจ การโค่นล้มผู้ปกครองชุมชนใดได้ย่อมหมายถึงการได้อานาจปกครองเหนือชุมชนนั้น การได้เข้าครอบครองชุมชน ทรัพยากร และอานาจสั่งการเหนือชุมชนนั้น จนกระทั่งชุมชนหรือสังคมดังกล่าวพัฒนาไปเป็นแคว้น นคร และรัฐ มีดินแดน ประชากร การปกครอง และอานาจอิสระ ผู้ปกครองจึงกลายเป็นสถาบันซึ่งอาจเรียกว่าเจ้าครองนครหรืออะไรสุดแต่จะกาหนด การเข้าสู่ตาแหน่งมีทั้งประเภทสืบทอดอานาจไปยังวงศ์ญาติของผู้ปกครองเดิม การเลือกหาผู้อื่นให้ดารงตาแหน่ง การมอบหมายให้ทาหน้าที่ การผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนกันเป็นเช่นนครดูบรอฟนิกซึ่งผู้นาผลัดกันเป็นคนละ ๑ เดือน สิ่งที่ตามมาคือกฎเกณฑ์กติกาว่าด้วยคุณสมบัติ วิธีเข้าสู่ตาแหน่ง วาระ และอานาจหน้าที่ของผู้ปกครองซึ่งเริ่มจากกฎเกณฑ์กติกาในรูปของธรรมเนียมปฏิบัติก่อน ต่อมาก็ตราไว้อ้อม ๆ ตรงโน้นนิดตรงนี้บ้างแต่อ่านแล้วเข้าใจได้ว่าเป็นอย่างไร จนถึงการกาหนดไว้ชัดเจนแน่นอน

Article Details

How to Cite
krua-ngam, wisanu . (2020). กฎเกณฑ์การสืบราชสมบัติของไทย. King Prajadhipok’s Institute Journal, 10(2). Retrieved from https://so06.tci-thaijo.org/index.php/kpi_journal/article/view/244388
Section
Original Articles

References

กฤษฎา บุณยสมิต. “พระอัจฉริยภาพด้านนิติศาสตร์ของพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช” ในกฎมณเฑียรบาล ฉบับเฉลิมพระเกียรติ ผลงานวิจัย. กรุงเทพฯ : ห้างหุ้นส่วนจากัดสามลดา, ๒๕๔๘.

เกษม ศิริสัมพันธ์. “การสืบราชสมบัติ ศึกษาจากกฎหมายตราสามดวงและราชประเพณี”, วารสารนิติศาสตร์, (ธันวาคม ๒๕๓๐).

จุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว, พระบาทสมเด็จพระ. “ธรรมเนียมราชตระกูลในกรุงสยาม” ใน รวมเรื่องราชาภิเษก ธรรมเนียมราชตระกูลในกรุงสยามและอธิบายว่าด้วยยศเจ้า. กรุงเทพฯ : บริษัทมอดิสันเพรสโพรดักส์ จำกัด, ๒๕๔๖.