กระบวนการจัดทำนโยบายเสริมสร้างสันติสุขในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ และกระบวนการแปลงไปสู่การปฏิบัติ: กรณีศึกษาเพื่อพัฒนาตัวแบบการจัดทาและขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะภายใต้สภาวการณ์ความขัดแย้งรุนแรง

Main Article Content

Danai Moosa

Abstract

     สถานการณ์ปัญหาความไม่สงบในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้เป็นปัญหาที่รัฐบาลทุกยุคทุกสมัย ให้ความสาคัญ และประกาศเป็นวาระแห่งชาติ (National Agenda) รวมทั้งมีความพยายามแก้ไขปัญหา มาอย่างต่อเนื่องทั้งในระดับนโยบาย ระดับยุทธศาสตร์ และระดับการปฏิบัติในพื้นที่ ดังนี้


     ระดับของนโยบาย รัฐบาลมีการเสนอแนะนโยบายระดับชาติ เพื่อใช้เป็นกรอบในการแก้ปัญหา มาอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง นโยบายความมั่นคงแห่งชาติ ตั้งแต่ พ.ศ. 2521 และมีการดาเนินการต่อเนื่องจนถึง พ.ศ. 2546 รวมทั้งสิ้น 4 ฉบับ หลังจากนั้น รัฐบาลได้ใช้นโยบายและคาสั่งสานักนายกรัฐมนตรี ที่ไม่ได้กาหนดห้วงเวลาไว้ เป็นกรอบแนวทางแก้ปัญหา โดยปัจจุบัน รัฐบาลดาเนินการแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ในกรอบของคาสั่งสานักนายกรัฐมนตรีที่ 206/2549 เรื่อง นโยบายเสริมสร้างสันติสุขในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้


     ระดับยุทธศาสตร์และแผนการปฏิบัติ ในส่วนของการนานโยบายไปสู่การปฏิบัติในระดับพื้นที่ รัฐบาลได้ขับเคลื่อนโดยมียุทธศาสตร์และแผนการปฏิบัติรองรับ และมีหลายหน่วยงานรับผิดชอบอยู่ในพื้นที่ ได้แก่ กองอานวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร , กองอานวยการรักษาความมั่นคงภายในภาค 4 ส่วนหน้า , ศูนย์อานวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ , ศูนย์ปฏิบัติการตารวจจังหวัดชายแดนภาคใต้ ขณะเดียวกัน ก็มีกระทรวง ทบวง กรมส่วนกลางหลายหน่วยที่เกี่ยวข้อง เช่น แผนการพัฒนาพื้นที่พิเศษ 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ของสานักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ,ยุทธศาสตร์ด้านการอานวยความยุติธรรมของกระทรวงยุติธรรม , ยุทธศาสตร์การศึกษาในพื้นที่พิเศษจังหวัดชายแดนภาคใต้ของกระทรวงศึกษา เป็นต้น


     อย่างไรก็ตาม เป็นที่ประจักษ์และรับรู้ในทุกภาคส่วนมาโดยตลอดว่า การจัดทานโยบายและการนานโยบายไปสู่การปฏิบัติดังกล่าวที่ผ่านมา ยังมีช่องว่างปัญหาอยู่ ซึ่งถูกสะท้อนออกมาใน 2 แง่มุม ที่สาคัญ คือ


     แง่มุมแรก ในมิติของเนื้อหาของนโยบาย มีการสะท้อนว่า นโยบายไม่สอดคล้องกับความต้องการและอัตลักษณ์ของพื้นที่อย่างแท้จริง อันสะท้อนถึงความเข้าใจที่ไม่เพียงพอของผู้กาหนดนโยบายต่อสภาพความเป็นจริงในพื้นที่ และการใช้กระบวนการมีส่วนร่วมเพื่อกาหนดนโยบายของทุกภาคส่วน ยังไม่เกิดขึ้นอย่างแท้จริง จนทาให้ตัวนโยบายเอง กลายเป็นส่วนหนึ่งของปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้


     แง่มุมที่สอง ในมิติของกระบวนการแปลงนโยบายไปสู่การปฏิบัติ มีการสะท้อนจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในพื้นที่ว่า บางครั้ง เนื้อหานโยบายออกมาดีแล้ว และสะท้อนความเข้าใจที่ถูกต้องต่อสภาพปัญหาที่เกิดขึ้นในพื้นที่ เช่น การยึดหลักเข้าใจ เข้าถึง พัฒนา การใช้แนวทางสันติวิธีแก้ปัญหา เป็นต้น อย่างไรก็ตาม เมื่อนานโยบายเหล่านี้ไปปฏิบัติแล้ว พบว่า บางครั้ง การปฏิบัติเป็นไปอย่างสวนทางกับเป้าหมายของนโยบาย ในแง่นี้ การนานโยบายไปปฏิบัติจึงกลายเป็นส่วนหนึ่งของปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้เช่นเดียวกัน


     ด้วยเหตุนี้ ในขณะที่สถานการณ์ปัญหาความไม่สงบในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้มีมิติของปัญหา ที่ละเอียดอ่อนและสลับซับซ้อน นโยบายที่ใช้ในการแก้ปัญหาและการแปลงไปสู่การปฏิบัติก็อาจเป็นส่วนหนึ่งของการเพิ่มความซับซ้อนให้ปัญหาด้วยเช่นกัน ดังนั้น คณะผู้วิจัยจึงได้กาหนดโครงการวิจัยขึ้นมาภายใต้ การสนับสนุนงบประมาณจากสานักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) เพื่อทาการศึกษาประเด็นเกี่ยวกับนโยบายที่หน่วยงานรัฐใช้เป็นกรอบทิศทางหลักระดับชาติในการแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้อย่างละเอียดและรอบด้าน ซึ่งในช่วงเวลาที่กาหนดโครงการวิจัยขึ้นมานั้น นโยบายที่ใช้เป็นกรอบทิศทางหลักดังกล่าว คือ นโยบายเสริมสร้างสันติสุขในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ตามคาสั่งสานักนายกรัฐมนตรี ที่ 206/2549 โดยการศึกษาวิจัยดังกล่าวดาเนินการควบคู่ไปกับการจัดทานโยบายการบริหารและการพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ พ.ศ. 2555 – 2557 ซึ่ง พ.ร.บ. การบริหารราชการจังหวัดชายแดนภาคใต้ พ.ศ. 2553 กาหนดให้สานักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติเป็นผู้จัดทา และหน่วยงานรัฐที่เกี่ยวข้องนาไปใช้เป็นกรอบแนวทางปฏิบัติร่วมกันอย่างเป็นระบบและต่อเนื่อง โดยคณะผู้วิจัยหลักเป็นผู้ที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับการจัดทานโยบายฉบับนี้ ดังนั้น ผลการวิจัยที่ได้รับมาตลอดทุกขั้นตอนการศึกษาจึงเป็นประโยชน์ต่อการนามาปรับใช้ และประกอบการกาหนดแนวทาง/กระบวนการจัดทานโยบายการบริหารและการพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ พ.ศ. 2555 – 2557 โดยตรง เพื่อให้สามารถกาหนดทิศทางและขับเคลื่อนนโยบายอย่างถูกต้อง มีประสิทธิภาพ


     ในกรอบคิดข้างต้น คณะผู้วิจัยเห็นว่า การศึกษาเพื่อให้เข้าใจปัญหาของนโยบายและการแปลงนโยบายไปสู่การปฏิบัตินั้น จาเป็นต้องหาคาตอบใน 2 เรื่อง คือ


     (1) กระบวนการจัดทานโยบายและเนื้อหาของนโยบาย มีความเหมาะสมมากน้อยเพียงใด และสอดคล้องกับสภาพปัญหา, อัตลักษณ์และความต้องการของคนในพื้นที่หรือไม่ อย่างไร
     (2) การแปลงนโยบายไปสู่การปฏิบัตินั้น ถูกขับเคลื่อนผ่านกลไก และช่องทางต่างๆ ที่มีอยู่อย่างไร และการดาเนินการดังกล่าวมีปัญหา อุปสรรคอย่างไร

Article Details

How to Cite
moosa, danai . (2020). กระบวนการจัดทำนโยบายเสริมสร้างสันติสุขในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ และกระบวนการแปลงไปสู่การปฏิบัติ: กรณีศึกษาเพื่อพัฒนาตัวแบบการจัดทาและขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะภายใต้สภาวการณ์ความขัดแย้งรุนแรง. King Prajadhipok’s Institute Journal, 10(2). Retrieved from https://so06.tci-thaijo.org/index.php/kpi_journal/article/view/244390
Section
Original Articles

References

ทวิดา กมลเวชช, “นโยบายสาธารณะในบริบทการบริหารปกครอง” ใน อัมพร ธารงลักษณ์ (บก.), การบริหารปกครองสาธารณะ (Public Governance) การบริหารรัฐกิจในศควรรษที่ 21. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์,2553, หน้า 35 – 41.

วรเดช จันทรศร, ทฤษฎีการนำนโยบายสาธารณะไปสู่การปฏิบัติ, กรุงเทพฯ: สหายบล็อกและการพิมพ์, 2548.

อรทัย ก๊กผล และคณะ, รายงานสรุปผลการศึกษาและข้อเสนอแนะในการส่งเสริมการมีส่วนร่วมของ ประชาชนในการบริหารราชการแผ่นดิน : ตามโครงการศึกษาการพัฒนาระบบการมีส่วนร่วมของ ประชาชนในการบริหารราชการแผ่นดิน, ไม่ระบุสถานที่พิมพ์, 2553, หน้า 9-31.

Bullock C.S., Anderson J.E. and Brady D.W..Public Policy in the Eighties. Monterey C.A.: Brooles/Cole Publishing Company, 1983, p.4-9.

International Association for Public Participation (IAP2), A Model for Engagement. (online), http://www.dse.vic.gov.au/effective-engagement/developing-an-engagement-plan/a-model-for-engagement, access 14 August 2012.

การหารือพูดคุยกับกลุ่มนักโทษคดีความมั่นคงในจังหวัดชายแดนภาคใต้, เรือนจำกลางจังหวัดสงขลา, 21 กรกฎาคม 2554.

การประชุมเฉพาะกลุ่มกับเครือข่ายนโยบายจังหวัดชายแดนภาคใต้เพื่อรับฟังความคิดเห็นนาไป ประกอบการจัดทำนโยบายการบริหารและการพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้, โรงแรม นิวเวิลด์ลอร์ด, 24 พฤษภาคม 2554.

การประชุมเฉพาะกลุ่มกับชาวไทยพุทธในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้เพื่อรับฟังความคิดเห็นนำไป ประกอบการจัดทานโยบายการบริหารและการพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้, โรงแรม ซี.เอส. ปัตตานี จ.ปัตตานี, 8 กุมภาพันธ์ 2554.

การประชุมเฉพาะกลุ่มกับนักวิชาการที่มีผลงานวิจัยเกี่ยวข้องกับปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้เพื่อรับฟังความคิดเห็นนำไปประกอบการจัดทำนโยบายการบริหารและการพัฒนาจังหวัดชายแดน ภาคใต้, สำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ, 17 มีนาคม 2554.

การสัมมนาเฉพาะกลุ่มกับนักวิชาการวิทยาลัยอิสลามศึกษา, มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขต ปัตตานี, 7 กุมภาพันธ์ 2554.

การประชุมเฉพาะกลุ่มกับผู้แทนกระทรวงยุติธรรมเพื่อรับฟังความคิดเห็นนำไปประกอบการจัดทำนโยบายการบริหารและการพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้, กระทรวงยุติธรรม, 14 มีนาคม 2554.

การประชุมเฉพาะกลุ่มกับผู้แทนศูนย์ประสานการปฏิบัติที่ 5 กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายใน ราชอาณาจักรเพื่อรับฟังความคิดเห็นนำไปประกอบการจัดทำนโยบายการบริหารและการพัฒนา จังหวัดชายแดนภาคใต้, กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร, 22 มีนาคม 2554.

การประชุมเฉพาะกลุ่มกับผู้แทนสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เพื่อรับฟังความคิดเห็นนำไปประกอบการจัดทำนโยบายการบริหารและการพัฒนาจังหวัดชายแดน ภาคใต้, สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ, 15 มีนาคม 2554.

การประชุมสัมมนารับฟังความคิดเห็น เรื่อง นโยบายการบริหารและการพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ กับ สภาที่ปรึกษาการบริหารและการพัฒนา จชต. (สปต.), โรงแรมบีพี สมิหลา บีช จ.สงขลา, 21 กรกฎาคม 2554.

การประชุมสัมมนาเพื่อรับฟังข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะจากภาคประชาชนประกอบการจัดทานโยบาย การบริหารและการพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้, โรงแรม ซี.เอส. ปัตตานี จ.ปัตตานี, 25 เมษายน 2554.

การประชุมสัมมนาเพื่อรับฟังความคิดเห็นและข้อเสนอแนะจากภาครัฐประกอบการจัดทานโยบาย การบริหารและการพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้, โรงแรม ซี.เอส. ปัตตานี, 26 เมษายน 2554.

จิราพร บุนนาค, สัมภาษณ์, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์, 12 กรกฎาคม 2554.

ชัยวัฒน์ สถาอานันท์, สัมภาษณ์, โรงแรมสวนสามพราน โรสการ์เด้น จ.นครปฐม, 9 กรกฎาคม 2554.

ซบบรี หะยีเหอะ (อิหม่าม ตาบลบ้านโหนด), มนัส เต็มโซ๊ะ (ผู้ใหญ่บ้าน ตาบลบ้านโหนด), และรีเป็ง (กานัน ตาบล เปียน), สัมภาษณ์, 15 มิถุนายน 2554.

ณรงค์ วุ่นซิ่ว, สัมภาษณ์, โรงแรมสวนสามพราน โรสการ์เด้น จ.นครปฐม, 9 กรกฎาคม 2554.

นาวาตรี พูนศักดิ์ บัวเนียม, สัมภาษณ์, 27 กรกฎาคม 2554.

พลตารวจโทไพฑูรย์ ชูชัยยะ, สัมภาษณ์, 18 พฤษภาคม 2554.