การทาให้เป็น “ผีปอบ” และการกีดกันทางสังคม ในมุมมองของการบริหารความขัดแย้ง (Ogre-zation and Social Discrimination in Conflict Management Perspectives)

Main Article Content

Kammales Photikanit

Abstract

     ปัจจุบัน สังคมไทยตกอยู่ท่ามกลางกระแสแห่งการปะทะสังสรรค์ทางความคิดที่แตกต่าง และหลากหลาย การคิดต่าง และการไม่ยอมรับในความแตกต่าง หลากหลายนั้น ผลักสังคมไทยให้เข้าสู่กระแสของ “ความขัดแย้ง” “การแบ่งฝักแบ่งฝ่าย” หรือ “การผลักให้ไปอยู่อีกฝ่ายหนึ่ง” (Group polarization) ภายใต้กระบวนทรรศน์ของการตีความและแปลความหมายให้กับ “ผู้คิดต่างตน” ผ่านการสร้างความแปลกแยก (Alienization) ว่า “การคิดต่าง” คือ “ความขัดแย้ง”“น่ารังเกียจ” และ “ต้องถูกกาจัด” การต่อสู้และแข่งขันกันเพื่อพิสูจน์ ระหว่าง 2 ชุดความจริง และยืนยันถึง “ความปกติ” จึงเริ่มขึ้น และแน่นอนว่า หากชุดความจริงใดความจริงหนึ่ง ได้รับการตอบสนอง หรือสนับสนุนให้ “ปกติ” ชุดความจริงอีกชุดหนึ่งย่อมต้องถูกตีตรา (Labeling) ว่าเป็น “ความผิดปกติ” อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้


     กรณีดังกล่าวถือเป็นกรณีศึกษาที่สาคัญของปัญหาความขัดแย้งของประเทศไทยที่มีลักษณะของความขัดแย้งยืดเยื้อยาวนาน (Protracted conflict) อันมีสาเหตุหลักมาจาก การไม่ยอมรับในความแตกต่างหลากหลายทางความคิด ผ่านการแสดงออกด้วย “ความเคียดแค้น ชิงชัง” แนวคิดการผลิตซ้าของ “วาทกรรม” (Discourse) “ผีปอบ” จึงถูกปลุกขึ้น ในรูปของการกีดกันทางสังคม (Social Discrimination) ที่ตีตรา ”ผู้คิดต่าง” ให้เป็น “ผีปอบ” ยุทธการณ์การไล่ล่า “ผีปอบ” จึงเริ่มขึ้นในหลากหลายรูปแบบ ลุกลามขยายตัวจนกลายเป็นการใช้ “ความรุนแรง” เพื่อขีดวง จากัดพื้นที่ในการแสดงความคิดเห็นให้แคบลง หรือแบ่งแยกออกไปจากส่วนประกอบของสังคมเดิม ก็จะส่งผลให้คนในสังคมจานวนที่น้อยกว่ากลายเป็นอื่น และจะถูกกีดกันออกไปอยู่นอกระบบของกรอบอานาจการปกครอง (ซึ่งมีอิทธิพลครอบงาสังคมโดยรวม) ส่วนพื้นที่สาธารณะของบุคคลก็จะถูกลิดรอนและถูกลดบทบาทความสาคัญไปเรื่อยๆ จนไม่เหลือพื้นที่ที่จะคงอยู่อีกต่อไป


     วาทกรรม “แตกต่าง แต่ไม่แตกแยก” จึงจาเป็นต้องดาเนินการให้เป็นรูปธรรมผ่านการเปิด “ช่องทางการสื่อสาร หรือพื้นที่สาธารณะ” เพื่อยกประเด็นดังกล่าวสู่การถกเถียงกันในทางสาธารณะ (Public Discussion) ควบคู่ไปกับ “การสื่อสารอย่างสร้างสรรค์” เพื่อปิดพื้นที่ของการใช้ความรุนแรงที่อาจจะเกิดขึ้น ภายใต้หลักการของการร่วมรับฟังปัญหาซึ่งกันและกัน ด้วยการฟังอย่างตั้งใจ (Active Listening) ซึ่งจะช่วยสร้างกระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน พร้อมกับการปรับรุงความสัมพันธ์ระหว่างกัน เพื่อร่วมกันหาความเป็นไปได้ในการสร้างทางออกที่ต้องการโดยมิต้องใช้ความรุนแรงเป็นเครื่องมือ ซึ่งหมายถึงบรรยากาศทางการเมืองและสังคมแห่งการรับฟังกันและกันที่จะเริ่มขึ้น และภายใต้บรรยากาศดังกล่าวจะเป็นสภาพแวดล้อมที่เอื้อให้ทุกฝ่ายเดินเข้าสู่ทิศทางของการพิจารณาหาทางออกที่เป็นไปได้ร่วมกัน เพื่อให้ทุกคนสามารถดารงอยู่ในสภาพความเป็นจริงแห่งโลกของความขัดแย้งได้อย่างสันติ


 

Article Details

How to Cite
photikanit, kammales . (2020). การทาให้เป็น “ผีปอบ” และการกีดกันทางสังคม ในมุมมองของการบริหารความขัดแย้ง (Ogre-zation and Social Discrimination in Conflict Management Perspectives). King Prajadhipok’s Institute Journal, 10(2). Retrieved from https://so06.tci-thaijo.org/index.php/kpi_journal/article/view/244393
Section
Original Articles

References

นิธิ เอียวศรีวงศ์. รายการที่นี่ตอบโจทย์. ตอบโจทย์คดีอากง กรณี ม.112 ตอนที่ 3 ออกอากาศทางช่อง Thai PBS วันพุธที่ 14 ธันวาคม 2554.

มูลนิธิสารานุกรมวัฒนธรรมไทย. 2542. วัฒนธรรมไทย ภาคอีสาน. เล่ม 8/ มูลนิธิสารานุกรมวัฒนธรรมไทย ธนาคารไทยพาณิชย์, กรุงเทพฯ.

ราชบัณฑิตยสถาน. 2546. พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542. กรุงเทพฯ : นานมีบุ๊ค พับลิเคชั่นส จำกัด.

สงัน สุวรรณเลิศ, 2515. สุขภาพจิตของผีปอบ: ปรากฎการณ์ผีเข้า ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย. วารสารสมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย, ปีที่ 17 ฉบับที่ 1 กรุงเทพฯ.

สถาบันพระปกเกล้า. 2555. “รายงานวิจัยการสร้างความปรองดองแห่งชาติ” นำเสนอต่อ คณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาศึกษาแนวทางการสร้างความปรองดองแห่งชาติ สภาผู้แทนราษฎร.

สุพรรณ เผือกพันธ. 2543. “การศึกษาเรื่องผีปอบในบริบทสังคมไทยพุทธ : ศึกษาเฉพาะกรณี หมู่บ้านหนองทามน้อย จังหวัดศรีสะเกษ.” วิทยานิพนธปริญญาอักษรศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาศาสนาเปรียบเทียบ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล. กรุงเทพฯ.

สุวรรณา สถานันท์ และเนื่องน้อย บุณยเนตร. 2535. ความคิด ภูมิปัญญาไทย : ร่องรอยความคิด ความเชื่อไทย. โครงการเผยแพร่ผลงานวิจัยฝ่ายวิจัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. กรุงเทพฯ.

สัมภาษณ์ ไชยตะมาตย์. 2553. กระบวนการสร้างพื้นที่ทางสังคมของผู้ถูกกล่าวหาว่าเป็นปอบ. วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาสังคมวิทยาการพัฒนา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

สิริพร สมบูรณ์บูรณะ. (2544). ขยะเก็บชีวิต: ชีวิตขายขยะ “ประสบการณ์เมืองคนเก็บและรับซ้อของเก่าซาเล้ง” ในปริตรตา เฉลิมเผ่า ก่ออนันตกูล (บ.ก.) ชีวิตชายขอบ ตัวตนกับความหมาย. ศูนย์มานายวิทยาสิรินธร (องค์กรมหาชน).

แสงดาว วัฒนาพร. 2545. ความเชื่อเรื่องผีในชุมชนชนบทภาคเหนือ. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยเชียงใหม.

อธิราชย์ นันขันตี. 2551. แนวคิดเชิงปรัชญาในพิธีกรรมหมอธรรม. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยเชียงใหม.

Deuthsch, Morton, 1973, The Resolution of Conflict, New Haven, CT: Yale University Press. Dynamic Theory of Personality. New York & London: McGraw-Hill.

Filley C. Alan, (1975), Interpersonal Conflict Resolution, Illinois: Scott Foreman and Company.Lewin, Kurt. 1935.

Foucault, Michel. 1979. Discipline and Punish: the Birth of the Prison. New York: Vintage. (Translated from the French by Alan Sheridan) Retrieved 22 February 2012 from http://www.scribd.com/doc/26150474/Foucault-M-Discipline-Punish-The-Birth-of-the-Prison-Tr-Sheridan-NY-Vintage-1977-1995

Galtung, J., Jacobsen, C.G. and Brand-Jacobsen, K.F., 2002. Searching for peace: the road to trascend (2. ed.). London,Sterling: Pluto Press.

Habermas, Jürgen. 1989. The structural transformation of the public sphere: An inquiry into a category of bourgeois society. Cambridge, MA: MIT Press.

Habermas Jürgen. 1992. Between Facts and Norms; Contributions to a Discourse Theory of Law and Democracy. Translated by William Rehg. The MIT Press, Cambridge, Massachusetts

Malek, Cate. (NA). International Conflict. Research Assistant, Conflict Research Consortium. University of Colorado. Retrieved 14 January 2012 from http://www.crinfo.org/CK_Essays/ck_international_conflict.jsp

Simmel, Georg, (1955), The Web of Group Affiliations, in Conflict and the Web of Group Affiliations, translated by R. Bendix. New York: Free Press.

Tidwell, Alan. 2001. Conflict Resolved? A critical Assessment of Conflict Resolution; Continuum London.