ศักยภาพองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการจัดการสิ่งแวดล้อม

Main Article Content

Soparatana Jarusombat

Abstract

     นับตั้งแต่การประกาศใช้พระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม พ.ศ. 2535 ที่ประกาศให้มีเขตควบคุมมลพิษ เพื่อจัดการคุณภาพสิ่งแวดล้อมในระดับท้องที่และมีการจัดทาแผนปฎิบัติการเพื่อลดและขจัดมลพิษ โดยคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติได้ประกาศให้เขตพื้นที่ในหลายจังหวัดเป็นเขตควบคุมมลพิษโดยเฉพาะในเขตเมืองและชุมชนที่มีประชากรอาศัยอยู่หนาแน่น ซึ่ง 5 จังหวัดในเขตปริมณฑลเป็นพื้นที่หนึ่งที่ได้รับการประกาศเป็นเขตควบคุมมลพิษเช่นเดียวกัน โดยให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีบทบาทหลักในการดาเนินการจัดการคุณภาพสิ่งแวดล้อมในพื้นที่ อย่างไรก็ดี แม้ว่าจะมีการถ่ายโอนภารกิจด้านสิ่งแวดล้อมแล้ว แต่บทบาทองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในภารกิจดังกล่าว ยังคงมีการดาเนินการอย่างค่อยเป็นค่อยไป จึงเป็นที่น่าสนใจว่าองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีศักภาพในการดาเนินการด้านสิ่งแวดล้อมในเขตพื้นที่เช่นไร


     บทความนี้ได้นาเสนอส่วนหนึ่งของผลการศึกษาการบริหารจัดการด้านสิ่งแวดล้อมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในพื้นที่ปริมณฑล เพื่อแสดงให้เห็นถึงสถานการณ์ปัญหาสิ่งแวดล้อมในพื้นที่ในปัจจุบัน อธิบายการดาเนินงานที่เป็นอยู่ และวิเคราะห์ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับศักยภาพขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นด้านการจัดการสิ่งแวดล้อม ตลอดจนเสนอแนวทางในการพัฒนาศักยภาพการบริหารจัดการสิ่งแวดล้อมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นให้มีความเหมาะสม สอดคล้องกับประเด็นปัญหาที่เกิดขึ้น

Article Details

How to Cite
jarusombat, soparatana . (2020). ศักยภาพองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการจัดการสิ่งแวดล้อม. King Prajadhipok’s Institute Journal, 9(1), 5–35. Retrieved from https://so06.tci-thaijo.org/index.php/kpi_journal/article/view/244424
Section
Original Articles

References

โกวิทย์ พวงงาม. การปกครองส่วนท้องถิ่นไทย : หลักการและมิติใหม่ในอนาคต, กรุงเทพฯ: วิญญูชน, 2548.

ดิเรก ปัทมสิริวัฒน์ และกอบกุล รายะนาคร. การขับเคลื่อนองค์กรปกครองสวนท้องถิ่นเพื่อการจัดการบริหารสาธารณะที่ดี. กรุงเทพฯ: บริษัท ทีคิวพี จำกัด, 2552

ชัยอนันต์ สมุทรวณิช. ธรรมาภิบาลการมีส่วนร่วมของประชาชนและกระบวนการทางด้านสิ่งแวดล้อม. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์เดือนตุลา, 2544.

ชัยยศ เอกณัฐพจน์. การจัดการมูลฝอยติดเชื้อที่เหมาะสมสำหรับหน่วยบริการปฐมภูมิ กรณีศึกษา : อำเภอลำลูกกา จังหวัดปทุมธานี. วิทยานิพนธ์สาธารณสุขศาสตร์มหาบัณฑิต คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2552.

ถวิลวดี บุรีกุล. การมีส่วนร่วม : แนวคิด ทฤษฎีและกระบวนการ. กรุงเทพฯ : บริษัท พาณิช พระนคร (2535) จำกัด, 2550.

ธเนศวร์ เจริญเมือง. 100 ปี การปกครองท้องถิ่นไทย พ.ศ. 2440-2540. กรุงเทพฯ : โครงการจัดพิมพ์คบไฟ, 2540.

นครินทร์ เมฆไตรรัตน์ และคณะ. รายงานความก้าวหน้าการกระจายอำนาจในประเทศไทยและข้อเสนอ. รายงานการวิจัยเสนอต่อกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น, กุมภาพันธ์ 2552.

บุษบง ชัยเจริญวัฒนะ และ บุญมี ลี้. ตัวชี้วัดธรรมาภิบาล (Indicators of Good Governance), กรุงเทพฯ: สถาบันพระปกเกล้า, 2544.

ยงยุทธ พึ่งวงศ์ญาติ. รายงานการวิจัยความสามารถในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมของสมาชิก สภาองค์การบริหารส่วนตาบลในเขตจังหวัดภาคกลาง. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2544.

วิทยาลัยพัฒนาการปกครองท้องถิ่น สถาบันพระปกเกล้า, รายงานการวิจัย การศึกษาผลกระทบต่อภาคประชาชนจากการจัดบริการสาธารณะขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นตามนโยบายกระจายอำนาจสู่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น : ศึกษาเฉพาะกรณีองค์การบริหารส่วนตาบล (อบต.) , 2547.

สำนักนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. แผนการจัดการคุณภาพสิ่งแวดล้อม พ.ศ. 2550-2554 หน้า 23-24.

สมคิด เลิศไพฑูรย์. การกระจายอำนาจตามพระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจาย อำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ.2542. พิมพ์ครั้งที่ 2. นครปฐม : มิสเตอร์ก๊อปปี้, 2543.

โสภารัตน์ จารุสมบัติ. นโยบายและการจัดการสิ่งแวดล้อม. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2551.

สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. ชุดคู่มือการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เล่มที่ 1. กรุงเทพฯ: ชินวัฒน์ การพิมพ์, 2542.

สำนักงานปลัดกระทรวงมหาดไทย สถาบันดารงราชานุภาพ. รายงานการศึกษาวิจัยเรื่องกร กระจายอำนาจของกระทรวง ทบวง กรม ลงสู่ภูมิภาคและท้องถิ่น. กรุงเทพฯ : เสมาธรรม, 2543.

อุทัย ขันโอฬาร. ประสิทธิผลในการจัดการขยะมูลฝอยขององค์การบริหารส่วนตาบล : ศึกษากรณีองค์การบริหารส่วนตำบล อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม. วิทยานิพนธ์ มหาบัณฑิต คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคาแหง. 2547.