โครงการบริการสาธารณะที่เป็นนวัตกรรมท้องถิ่นที่ภาคใต้

Main Article Content

Narong Bunsuaikhwan

Abstract

     บทความนี้มีวัตถุประสงค์ที่ต้องการเสนอผลการสังเคราะห์โครงการบริการสาธารณะที่ถือได้ว่าเป็นนวัตกรรมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในภาคใต้ (อปท.) ด้วยการศึกษาโดยการสัมภาษณ์ สังเกตการณ์ ประชุมกลุ่มย่อย และเอกสาร จากจานวน 108 โครงการ พบว่ามีโครงการที่เป็นนวัตกรรมในการบริการสาธารณะ จานวน 13 โครงการจาก 12 อปท. ใน 2 ประเด็น คือ (1) การก่อเกิดและพัฒนาการของโครงการ (2) ปัจจัยความสาเร็จในการเป็นโครงการบริการสาธารณะ ดังนี้


     การก่อเกิด และพัฒนาการโครงการ มีลักษณะร่วมและ/หรือส่วนใหญ่และ/หรือบางส่วนมีลักษณะที่น่าสนใจ คือ ประการแรก เกิดจากภาวะขาดแคลน ปัญหาหรือวิกฤติที่ ชุมชนท้องถิ่นและ อปท.เผชิญอยู่ โครงการเหล่านี้จึงเป็นสร้างกลไกในการแก้ไขปัญหา วิกฤตในระดับชุมชนท้องถิ่น ประการที่สอง โครงการที่พัฒนาจากการต่อยอดหรือประสานงานโครงการมาจากกลุ่ม องค์กร หน่วยงานอื่นๆ ประการที่สาม พัฒนาโครงการมาจากองค์ความรู้ที่สร้างไว้แล้วหรือขับเคลื่อนให้วิสัยทัศน์ร่วมเกิดเป็นจริง ประการที่สี่ เป็นการริเริ่มให้มีพื้นที่ทางสังคมตามกระแสนิยม เพื่อให้เกิดการยอมรับในทางการเมืองโดยที่ชุมชนท้องถิ่นหรือสาธารณะได้ประโยชน์


     ส่วนปัจจัยความสาเร็จในการเป็นโครงการบริการสาธารณะ ประการแรก มี “การบูรณาการ” ดาเนินงานหรือ “การเชื่อมโยงเครือข่ายแบบไม่เป็นทางการ” กับหน่วยงานองค์กรอื่นๆ ที่ตั้งใจที่จะปฏิบัติภารกิจหรือโครงการร่วมกัน โดย อปท. เป็นแม่ข่ายบริหารข่ายทางสังคมในการปฏิบัติงานร่วมซึ่งพบได้ใน อปท.ระดับบน ส่วน อทป.ระดับล่างต้องสร้างความสัมพันธ์เชิงภาคีในการสร้างข่ายความสัมพันธ์เพื่อปฏิบัติงาน สาหรับ“การเชื่อมโยงเครือข่ายแบบเป็นทางการ” ต้องมีข้อผูกมัดที่เคร่งครัดในการดาเนินงานผูกพันให้ อปท.ต้องปฏิบัติ ประการที่สอง มีลักษณะการบริหารจัดการที่ใช้ทั้งกระบวนการบริหารจัดการภายในแบบใหม่ๆ โดยการให้กลุ่ม องค์กร สถาบันอื่นๆ ภายในชุมชนท้องถิ่น ตลอดจนถึงผู้นาตามแบบธรรมชาติและผู้นาทางการที่ยอมรับของคนในชุมชนท้องถิ่น ทั้งนี้เป็นกระบวนการบริหารจัดการที่ใช้ระบบคุณค่าที่ประกอบด้วยกลุ่มทางสังคมและปัจเจกบุคคลในชุมชนอันเป็นกลไกทางสังคมที่มีศักยภาพในชุมชนท้องถิ่น หรือ กระบวนการดาเนินมาจากการมีส่วนร่วมและความร่วมมือด้วย ประการที่สาม มีเป้าหมายที่แน่ชัดแต่เป้าหมายนั้นอาจจะมีการปรับเปลี่ยนไปสู่เป้าหมายอื่น เช่นเดียวกันมีกลไกกระบวนการดาเนินงานในระยะแรกเริ่ม แต่เมื่อบริบทหรือสถานการณ์เปลี่ยนแปลงไปจึงมีการปรับเปลี่ยนกลไกกระบวนการหรือปรับปรุงกลไกกระบวนการนั้นให้เหมาะสมไปด้วย นั้นคือทั้งเป้าหมายและวิธีการดาเนินงานมีความเป็นพลวัตรอย่างพอเพียง ประการที่สี่ เจตจานงค์ของฝ่ายการเมืองของนักการเมืองท้องถิ่นต้องมีความชัดเจนในอยากสร้างผลงานหรือสร้างการยอมรับจากผลการดาเนินงานตามภารกิจ ขับเคลื่อนความสาเร็จในการยอมรับจากประชาชนทางการเมืองด้วยภารกิจ และโครงการปรากฏอยู่ในแผนและข้อบัญญัติของ อปท. ประการที่ห้า ความสาเร็จของโครงการ คือ การยอมรับจากภาคส่วนต่างๆทั้งภายในและภายนอก โดยที่การได้รับการยอมรับปรากฏชัดเจนด้วยรูปแบบที่หลากหลาย

Article Details

How to Cite
bunsuaikhwan, narong . (2020). โครงการบริการสาธารณะที่เป็นนวัตกรรมท้องถิ่นที่ภาคใต้. King Prajadhipok’s Institute Journal, 9(1), 36–58. Retrieved from https://so06.tci-thaijo.org/index.php/kpi_journal/article/view/244425
Section
Original Articles

References

จรัส สุวรรณมาลา. นามานุกรมนวัตกรรมท้องถิ่นไทย ประจาปี 2547, สานักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย. 2547.

จรัส สุวรรณมาลา, การตรวจสอบผลการดาเนินงานกลยุทธ์ในการปรับปรุงการบริการภาครัฐ. กรุงเทพมหานคร: กราฟฟิค ฟอร์แมทไทยแลนด์. 2539.

ดิเรก ปัทมสิริวัฒน์และกอบกุล รายนาคร. การขับเคลื่อนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเพื่อการจัดบริการสาธารณะที่ดี. สานักงานกองทุนสนับสนุนการเสริมสร้างสุขภาพ (สสส.). 2552.

ดวงพร เฮงบุญสัมพันธ์และคณะ.เบิกฟ้าขุนทะเล ตำนานเมืองนคร ร้อยพลังสร้างสุข. สานักงานสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.). 2552.

วิทยาลัยพัฒนาการปกครองท้องถิ่น สถาบันพระปกเกล้า. เคล็ดลับการบริการสาธารณะท้องถิ่น: บทเรียนจากรางวัลพระปกเกล้า ’51. 2552.

วุฒิสาร ตันไชย และคณะ.แนวทางการสร้างมาตรฐานในการบริการสาธารณะขององค์กรปกครองท้องถิ่น.เอกสารวิชาการชุมที่ 17 . วิทยาลัยการปกครองส่วนท้องถิ่น สถาบันพระปกกล้า. 2547.

ประยูร กาญจนกุล, คุณภาพของการบริการ, วารสารกรมบัญชีกลาง, ปีที่36 ฉบับที่3, พฤษภาคม-มิถุนายน, 2538.

โสภณ พรหมแก้ว , นายกองค์การบริหารส่วนตำบลขุนทะเล ,การสัมภาษณ์ วันที่ 20 พฤษภาคม 2553.

อรทัย ก๊กผล, ฉัตรระวี ปริสุทธิญาณ (บรรณาธิการ). เคล็ดลับการจัดบริการสาธารณะท้องถิ่น : บทเรียนจากรางวัลพระปกเกล้า 51. วิทยาลัยการปกครองท้องถิ่น สถาบันพระปกเกล้า. 2552.

โอปอล์ ประภาวดี(บรรณาธิการ). นวัตกรรมสุขภาพชุมชนดีเด่นระดับจังหวัด เสริมศักยภาพท้องถิ่น สร้างสุขภาพชุมชนให้น่าอยู่. สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ.2552 .

Lawrence Pratchett , David Wilson,1996. Local Democracy and Local Government. New York : St.Martin’s Press.

Loughlin , Martin. The Constitutional Status of Local Government. In Lawrence Pratchett , David Wilson. Local Democracy and Local Government. New York. St.Martin’s Press. 1996.

Piore ,Michael. Local Development on the Progressive Political Agenda . in Colin Crouch , and

David Marquand (ed) . Reinventing Collective Action : From the Global to the Local. Blackwell Publishers. 1995.

Richard D. Bingham & David Hedge. State and Local Government in changing Society .McGraw- Hill .1986.

Stocker , Gerry. Redefining Local Democracy.In Lawrence Pratchett , David Wilson. Local Democracy and Local Government. New York. St.Martin’s Press. 1996.