ความรุนแรงและทางออกกรณีความเห็นต่างทางการเมือง : แสงสว่างที่ปลายอุโมงค์สาหรับสังคมไทย ?

Main Article Content

Chalat Pratheuangrattana

Abstract

     บทความนี้เริ่มต้นด้วยการวิเคราะห์สถานการณ์ความรุนแรงทางการเมืองที่เกิดขึ้นในสังคมไทยในช่วงปี พ.ศ.2549-2553 ใน 3 ลักษณะคือ ความรุนแรงทางตรง ความรุนแรงเชิงโครงสร้างและความรุนแรงทางวัฒนธรรม ความรุนแรงทางตรงเป็นปรากฎการณ์ที่เห็นได้ชัดเจนถึงความสูญเสียที่เกิดขึ้น ความรุนแรงเชิงโครงสร้างหรือความไม่เป็นธรรมในสังคมที่เกิดจากโครงสร้างจนกระทั่งทาให้เกิดรอยแยกแตกร้าวในสังคม และความรุนแรงทางวัฒนธรรมทาให้คนยอมรับได้กับการใช้ความรุนแรงที่เกิดขึ้น เมื่อเราได้ทราบถึงความสลับซับซ้อนของความรุนแรงที่เกิดขึ้นแล้ว บทความได้นาเสนอและวิเคราะห์การใช้สันติวิธีของพลังทางสังคมและรัฐในสองความหมายคือ การเรียกร้องเพื่อให้บรรลุตามเป้าหมายของกลุ่มตนเองและการจัดการความขัดแย้งด้วยแนวทางสันติวิธี โดยนาเสนอการเรียกร้องเพื่อให้บรรลุเป้าหมายของกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยและกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ สาหรับการจัดการความขัดแย้งด้วยแนวทางสันติวิธีเป็นการนาเสนอภาพรวมการดาเนินการของเครือข่ายสานเสวนาเพื่อสันติธรรม เครือข่ายหยุดทาร้ายประเทศไทย และการเจรจา 2 ครั้ง ณ สถาบันพระปกเกล้า นอกจากที่กล่าวมาบทความนี้ได้เสนอแนะทางออกกรณีความเห็นต่างทางการเมืองเพื่อให้สังคมไทยได้พิจารณา บนพื้นฐานที่เชื่อว่าสังคมไทยยังคงมีทางออกโดยเป็นแสงสว่างที่ปลายอุโมงค์ที่มองเห็นทางออกได้ด้วยความร่วมมือ ร่วมใจจากทุกคนในสังคม ร่วมกันผลักดันการสร้างความสมานฉันท์ให้เกิดขึ้น ด้วยการค้นหาความจริงทุกแง่ทุกมุม เร่งเยียวยาผู้สูญเสียอย่างเร่งด่วนไม่ให้รู้สึกว่าถูกทอดทิ้ง พร้อมๆ กับการเปิดพื้นที่สานเสวนาทุกพื้นที่ และบ่มเพาะสันติวัฒนธรรมให้เกิดขึ้นกับประชาชนในทุกระดับ และมุ่งเน้นแก้ปัญหาเชิงโครงสร้างสังคมซึ่งเป็นปัญหาใหญ่อย่างจริงจัง

Article Details

How to Cite
pratheuangrattana, chalat . (2020). ความรุนแรงและทางออกกรณีความเห็นต่างทางการเมือง : แสงสว่างที่ปลายอุโมงค์สาหรับสังคมไทย ?. King Prajadhipok’s Institute Journal, 9(1), 101–118. Retrieved from https://so06.tci-thaijo.org/index.php/kpi_journal/article/view/244431
Section
Original Articles

References

คณะกรรมการอิสระเพื่อความสมานฉันท์แห่งชาติ (กอส.), เอาชนะความรุนแรงด้วยพลังสมานฉันท์. กรุงเทพ ฯ : โรงพิมพ์สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี ,2549.

ชัยวัฒน์ สถาอานันท์. อาวุธมีชีวิตแนวคิดเชิงวิพากษ์ว่าด้วยความรุนแรง. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์ฟ้าเดียวกัน, 2546.

ชัยวัฒน์ สถาอานันท์. สันติทฤษฎี/วิถีวัฒนธรรม .กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์โกมลคีมทอง, 2539.

ชาตรี ประกิตนนทการ. Central World : นัยยะทางการเมืองต่อคนชั้นกลางกรุงเทพ ฯ. วารสารอ่าน ปีที่ 2 ฉบับที่ 4เมษายน-กันยายน (2553):102-116.

ธงชัย วินิจจะกูล. เชื้อร้ายเมื่อร่างกายทางการเมืองไทยติดเชื้อแดง . วารสารอ่าน ปีที่ 2 ฉบับที่ 4เมษายน-กันยายน (2553):186-193.

นักศึกษาหลักสูตรประกาศนียบัตรแนวคิดพื้นฐานเกี่ยวกับการจัดการความขัดแย้งด้านนโยบายสาธารณะโดยสันติวิธีรุ่นที่ 4 สถาบันพระปกเกล้า,รายงานวิชาการเรื่อง ปัญหาความขัดแย้งระหว่างผู้นำรัฐบาลกับกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยและพรรคการเมืองฝ่ายค้าน จัดทำ ณ กรกฎาคม 2549.

นิพนธ์ แจ่มดวง . คันฉ่องส่องสิทธิมนุษยชนและความสมานฉันท์ของ ส.ศิวรักษ์ .กรุงเทพมหานคร : สานักพิมพ์ศึกษิตสยาม ,2553.

บวรศักดิ์ อุวรรณโณ.บทบาทสื่อมวลชนกับการปฏิรูปการเมือง .เอกสารประกอบการปาฐกถาพิเศษ อิศรา อมันตกุล ประจาปี 2552.

เปิดภาพหลักฐานใหม่กรณีเผา “เซ็นทรัลเวิลด์” และคดี 6 ศพ วัดปทุม ฯ ข้อมูลจาก ตร.แตงโม”. มติชนสุดสัปดาห์ (10-16 ธันวาคม 2553 ปีที่ 31 ฉบับที่ 1582).

ลุค ไรเลอร์ และทาเนีย พาฟเฟนโฮล์ซ. คู่มือภาคสนามการสร้างสันติภาพ peace building แปลโดย พรรณงาม เง่าธรรมสาร กรุงเทพฯ : ศูนย์การพิมพ์แก่นจันทร์ จากัด, 2548.

ฤกษ์ ศุภสิริ . ประวัติย่อการเมืองไทยในรอบทศวรรษ . กรุงเทพฯ : โพสต์บุ๊กส์, 2553.

วันชัย วัฒนศัพท์ .ความขัดแย้ง : หลักการและเครื่องมือแก้ปัญหา... นนทบุรี : ศิริภัณฑ์ ออฟเซ็ท,2550.

วาสนา นาน่วม. ลับลวงเลือด .กรุงเทพมหานคร : สานักพิมพ์มติชน, 2553.

สำนักระงับข้อพิพาท. ทำเนียบหน่วยงานด้านการระงับข้อพิพาททางเลือก. นนทบุรี : ศูนย์การพิมพ์เพชรรุ่ง, 2553.

สำนักกฎหมายอัมสเตอร์ดัม แอนด์ เปรอฟ . การสังหารหมู่ที่กรุงเทพฯ . กรุงเทพฯ : ภาพพิมพ์ ,2553

สรุปประเด็นเจรจา 2 รอบ รัฐบาล vs นปช. จัดทำโดยสถาบันพระปกเกล้า, มติชนรายวัน 2 เมษายน 2553 .