การจัดสวัสดิการชุมชนโดยใช้รูปแบบ สหกรณ์บริการในพื้นที่โครงการบ้านเอื้ออาทร
Main Article Content
Abstract
บทความวิจัยเรื่อง “การจัดสวัสดิการชุมชนโดยใช้รูปแบบสหกรณ์บริการในพื้นที่โครงการบ้านเอื้ออาทร” มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาวิเคราะห์ทัศนคติของสมาชิกสหกรณ์บริการบ้านเอื้ออาทร และผู้อยู่อาศัยในโครงการบ้านเอื้ออาทร เกี่ยวกับหลักการสหกรณ์ อุดมการณ์สหกรณ์ และวิธีดาเนินงานของสหกรณ์ และนาเสนอผลการสารวจความพึงพอใจของผู้อยู่อาศัย ตลอดจนปัญหาและอุปสรรคการดาเนินงานของสหกรณ์เพื่อจัดสวัสดิการให้แก่ผู้อยู่อาศัยในชุมชน วิธีการวิจัยการประเมินผลเน้นการประเมินผลผลิต หรือผลิตผล (Output/Product Evaluation) โดยมีประชากรกลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ ผู้อยู่อาศัยในโครงการบ้านเอื้ออาทร 15 สหกรณ์ และระดับผู้บริหารโครงการ ได้แก่ ผู้บริหารการเคหะแห่งชาติ เจ้าหน้าที่ส่งเสริมสหกรณ์ และเจ้าหน้าที่ตรวจบัญชีสหกรณ์
ผลการวิจัย เกี่ยวกับทัศนคติของผู้อาศัยต่อหลักการสหกรณ์และอุดมการณ์สหกรณ์ พบว่า ผู้อยู่อาศัยมีทัศนคติที่ดีเกือบทุกสหกรณ์บริการ ยกเว้นเฉพาะสหกรณ์บริการบ้านเอื้ออาทรศรีสะเกษ (หนองครก) อยู่ในระดับดีมาก ส่วนการดาเนินงานตามวิธีการสหกรณ์ในโครงการบ้านบ้านเอื้ออาทร พบว่า สหกรณ์บริการบ้านเอื้ออาทรเชียงใหม่ (สันกาแพง) เทพารักษ์ บางบัวทอง ลาลูกกาคลอง 4 ได้นาหลักการสหกรณ์มาประยุกต์ในการดาเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจและสังคม เพื่อประโยชน์ของสมาชิก ส่วนสหกรณ์บริการที่เหลือยังไม่สามารถแสดงให้ถึงเกณฑ์มาตรฐานของสหกรณ์ เช่น การเพิ่มของสมาชิกและการเพิ่มขึ้นของผลกาไรเพื่อจัดสวัสดิการสังคม เป็นต้น
ความพึงพอใจของผู้อยู่อาศัยในการบริหารชุมชนแบบบูรณาการโดยสหกรณ์บริการบ้านเอื้ออาทรที่เกี่ยวกับการจัดสวัสดิการ ซึ่งประกอบด้วย การรักษาความสะอาด การรักษาความปลอดภัย การปฏิบัติงานด้านการพัฒนาคุณภาพชีวิตของสมาชิกในชุมชนและการสร้างวัฒนธรรมเอื้ออาทร การบริหารสัญญาจัดประโยชน์ทรัพย์สินชุมชนและธุรกิจชุมชนของสหกรณ์บริการบ้านเอื้ออาทรและการบริหารกิจการน้าประปา (สาหรับอาคารชุด) พบว่า ผู้อยู่อาศัยมีความพึงพอใจในการจัดสวัสดิการอยู่ในระดับปานกลางเกือบทุกด้าน ยกเว้นด้านการรักษาความปลอดภัยที่มีความพึงพอใจน้อย ส่วนความพึงพอใจในการบริหารงานสหกรณ์ทั้ง 15 แห่ง พบว่า ผู้อยู่อาศัยมีความพึงพอใจอยู่ในระดับปานกลางเช่นกัน ยกเว้น สหกรณ์บริการบ้านเอื้ออาทรเชียงใหม่ (สันกาแพง), เทพารักษ์, และรังสิตคลอง1 มีความพึงใจในระดับน้อย ตามลาดับ
ปัญหาและอุปสรรคในการดาเนินงานของสหกรณ์ได้แก่ คณะกรรมการและบุคลากรของสหกรณ์ขาดความรู้ความเข้าใจ ด้านการบริหารการเงิน การทาบัญชี และการบริหารธุรกิจสหกรณ์ และผู้อยู่อาศัยมีความแตกต่างหลากหลาย โดยไม่ค่อยมีลักษณะความเป็นชุมชน
ดังนั้นแนวทางการแก้ไขปัญหาจะต้องสร้างกระบวนการเรียนรู้ในการบริหารสหกรณ์และสร้างความร่วมมือระหว่างชุมชนโดย คณะกรรมการชุมชน (สหกรณ์) ส่วนราชการและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการพัฒนาเพื่อจัดระบบสวัสดิการผู้อยู่อาศัย
Article Details
@ 2020 King Prajadhipok's Institute The Government Complex Commemorating All Right Reserved.
References
โกวิทย์ พวงงามและคณะ. 2551 รายงานฉบับสมบูรณ์โครงการส่งเสริมสมรรถนะให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการบริหารจัดการด้านที่อยู่อาศัยสำหรับผู้มีรายได้น้อย. คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
การเคหะแห่งชาติ. โครงการติดตามประเมินผลนโยบายและแผนงานที่อยู่อาศัยสาหรับผู้มีรายได้น้อยของรัฐบาล. ใน www.nrdoc.rmutl.ac.th/loadfile.php?id=2554
การเคหะแห่งชาติ. 2552. โครงการวิจัยเพื่อประเมินผลการดำเนินงานของสหกรณ์บริการบ้านเอื้ออาทร.ศูนย์ให้คำปรึกษาทางธุรกิจ คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
ชัยสิทธิ์ ทิพางค์กุล. 2551. การติดตามและประเมินผลการดำเนินงานโครงการบ้านเอื้ออาทรตามความร่วมมือระหว่างกรมธนารักษ์กับการเคหะแห่งชาติ: กรณีศึกษาบ้านเอื้ออาทรสาหรับข้าราชการและลูกจ้างกองทัพเรือ อำเภอสัตหีบ จังหวัดชลบุรี. วิทยานิพนธ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.