วาระเลือกตั้ง :บทวิเคราะห์ว่าด้วยการเลือกตั้ง 2554 กับความเปลี่ยนแปลงของโครงสร้างสังคมการเมืองไทย

Main Article Content

Yuttaporn Issarachai

Abstract

     การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในวันที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ.2554 นับได้ว่าเป็นจุดเปลี่ยนที่สาคัญจุดหนึ่งของการเมืองไทย ผลในเชิงรูปธรรมที่เห็นชัดที่สุดคือ การเข้ามามีบทบาทของ “การเมืองแบบมวลชน” ในการแทรกตัวเข้าสู่อานาจรัฐผ่านการเมืองแบบตัวแทนซึ่งแต่เดิมเป็นพื้นที่ของกลุ่มอานาจเก่าและกลุ่มทุนหรือเป็นปรากฏการณ์ “มวลชนาธิปไตย” การเลือกตั้ง 2554 จึงกลายเป็นเวทีต่อสู้ของแนวคิดและอุดมการณ์ประชาธิปไตยเสรีนิยมสมัยใหม่กับประชาธิปไตยแบบไทย จนเป็นที่วิพากษ์วิจารณ์อย่างกว้างขวางว่า ความกระตือรือร้นและการไปใช้สิทธิเลือกตั้งอย่างคึกคักในการเลือกตั้งครั้งนี้สะท้อนให้เห็นถึงการที่ผู้เลือกตั้งต่างไปลงคะแนนเสียงในเชิงอุดมการณ์มากกว่าเชิงนโยบายหรือเชิงผลประโยชน์เฉพาะหน้าที่จะได้รับ


     นอกจากนี้ การแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2550 เพื่อกาหนดเทคนิควิธีเกี่ยวกับการเลือกตั้งและสัดส่วนจานวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรได้ส่งผลต่อโครงสร้างการลงคะแนนเสียงที่เปลี่ยนไปและไม่ได้แก้ไขปัญหาการกระจุกตัวของคะแนนเสียงให้ลดลงหรือเปิดพื้นที่ให้กับพรรคการเมืองหน้าใหม่ๆ ขณะที่พรรคการเมืองในปัจจุบันที่กาลังถูกการเมืองแบบมวลชนแทรกตัวเพื่อเข้าสู่อานาจรัฐก็จาเป็นที่จะต้องบริหารจัดการทางการเมืองให้ตอบสนองต่อทุกฝ่ายได้ดีภายใต้ภาวะทางสองแพร่งของพรรคการเมืองไทยในระยะเปลี่ยนผ่านเช่นนี้ อีกทั้งโครงสร้างสังคมในชนบทที่เปลี่ยนไปก็ส่งผลต่อการเลือกตั้งและโครงสร้างสังคมการเมืองไทยในระยะยาวอีกด้วย


     นอกจากการพัฒนาประชาธิปไตยผ่านพรรคการเมืองและกระบวนการเลือกตั้งแล้ว แนวคิดประชาสังคมที่เคลื่อนไหวในประเทศไทยช่วงที่ผ่านมา เป็นแนวคิดที่มาพร้อมกับแนวคิดประชาธิปไตยรูปแบบรัฐสภาและประชาธิปไตยพหุนิยม ตลอดจนประชาธิปไตยแบบมีส่วนร่วม หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งคือกรอบความคิดประชาธิปไตยยอมรับแนวคิดประชาสังคมเข้าเป็นส่วนหนึ่งของตน โดยมองว่าขบวนการเคลื่อนไหวประชาสังคมถือเป็นกลไกหนึ่งที่สาคัญในกระบวนการเปลี่ยนผ่านสังคมสู่ความเป็นประชาธิปไตย และการเสริมสร้างระบอบประชาธิปไตยให้เข้มแข็ง การเคลื่อนไหวของประชาสังคมในระบอบประชาธิปไตยดังกล่าวนี้ ปรากฏออกมาในรูปลักษณ์ที่หลากหลาย


     การปรากฏขึ้นของประชาสังคมในบริบทสังคมการเมืองไทย ถือได้ว่าเป็นดุลอานาจใหม่ทางการเมือง ที่ทาหน้าที่ทัดทาน/ตรวจสอบ/ถ่วงดุลอานาจของประชาธิปไตยระบอบรัฐสภาแบบตัวแทน ประชาสังคมนับเป็นประชาธิปไตย ทางตรงรูปแบบหนึ่งซึ่งมิได้เข้ามาทดแทนประชาธิปไตยระบอบรัฐสภา แต่เข้ามาเสริมระบอบประชาธิปไตยไทยในภาพรวมให้แข็งแกร่งขึ้น จากเดิมที่โครงสร้างอานาจทางการเมืองแบ่งแยกออกเป็นอานาจ 3 ฝ่าย ได้แก่ ฝ่ายบริหาร ฝ่ายนิติบัญญัติ และฝ่ายตุลาการ แต่บทบาทที่เพิ่มขึ้นในทางการเมืองของพลังประชาสังคม ส่งผลให้ระบอบการเมืองไทยเคลื่อนตัวเข้าสู่มิติใหม่ทางการเมือง นั่นคือ การที่ประชาสังคมเข้าไปถ่วงดุลอานาจกับอานาจสามฝ่ายข้างต้น เป็นเสมือนขั้วอานาจที่สี่เพิ่มเข้ามา ซึ่งนับเป็นการพัฒนาการอีกขั้นหนึ่งของระบอบประชาธิปไตยไทย

Article Details

How to Cite
issarachai ั. . (2020). วาระเลือกตั้ง :บทวิเคราะห์ว่าด้วยการเลือกตั้ง 2554 กับความเปลี่ยนแปลงของโครงสร้างสังคมการเมืองไทย. King Prajadhipok’s Institute Journal, 9(2), 48–73. Retrieved from https://so06.tci-thaijo.org/index.php/kpi_journal/article/view/244441
Section
Original Articles

References

เกษียร เตชะพีระ. (2551). ทางแพร่งและพงหนาม: ทางผ่านสู่ประชาธิปไตยไทย. กรุงเทพฯ : มติชน.

เกษียร เตชะพีระ. รัฐไทยกาลังล้มเหลว. [ออนไลน์]. มติชนออนไลน์ 10 กันยายน 2553. เข้าถึงได้จาก : http://www.matichon.co.th. (วันที่ค้นข้อมูล 30 กรกฎาคม 2554).

คายส์, ชาร์ล เอฟ "จากชาวนาสู่คนงานโลก : ชีวิตทันสมัยของชาวชนบทอีสาน" (From peasants to Cosmopolitan villagers: The transformation of "rural" northeastern Thailand) บรรยายพิเศษให้กับโครงการปริญญาเอก คณะสังคมวิทยาและมนุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ 14 พฤศจิกายน 2553.

คุปต์ พันธ์หินกอง. “เศรษฐศาสตร์การเลือกตั้ง 2550” บทความนำเสนอในงานโครงการแข่งขันตอบปัญหาทางเศรษฐศาสตร์ และนำเสนอบทความงานวิจัย/บทความย่อ ประจาปี 2550 ณ คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ จ.เชียงใหม่ เมื่อวันที่ 23 มกราคม 2551.

จักรกริช สังขมณี. (2554) “ย้อนคิดว่าด้วยชีวิตทางการเมืองของชาวบ้าน: การเมืองในชนบทที่มากกว่าการเลือกตั้งและการชุมนุมประท้วง” ใน เอกสารประกอบการสัมมนาภูมิทัศน์และการเมืองของการพัฒนาชนบทไทยร่วมสมัย. จัดโดย คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ วันศุกร์ที่ 8 กรกฎาคม 2554. หน้า 7-9.

ชัยอนันต์ สมุทวณิช. “สังคมไทยยุคหลังรัฐธรรมนูญ” ผู้จัดการรายวัน. 9 มิถุนายน 2546.

เชษฐา ทรัพย์เย็น. (2547). “ประชาสังคมไทย: บทสังเคราะห์แนวคิด, การก่อร่างสำนักคิดแบบไทย และนัยเชิงนิติ-พฤตินัยต่อการเมืองไทย” เอกสารประกอบการประชุมวิชาการรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ ครั้งที่ 5 (พ.ศ.2547) หน้า 16 – 24.

ธนชาติ แสงประดับ ธรรมโชติ. (2011). สังคมไทยในระยะเปลี่ยนผ่านกับบทบาทของพรรคการเมือง. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : http://www.prachatai.org. ประชาไท 2011-01-17. (วันที่ค้นข้อมูล 30 กรกฎาคม 2554).

โธมัส คาโรเธอร์ (Thomas Carothers) อ้างใน ปิปปา นอริร์ริส (Pippa Norris). (2005). พรรคการเมืองและประชาธิปไตยจากมุมมองเชิงทฤษฎีและปฏิบัติ: การพัฒนาการสื่อสารของพรรคการเมือง. สหรัฐอเมริกา : สถาบันส่งเสริมประชาธิปไตยแห่งชาติเพื่อการต่างประเทศ (NDI).

นิธิ เอียวศรีวงศ์ และเสกสรรค์ ประเสริฐกุล. (2552). ประชาธิปไตยในระยะเปลี่ยนผ่าน. กรุงเทพฯ : openbooks.

นิธิ เอียวศรีวงศ์. (2010). พื้นที่การเมืองที่ปิดไม่ลง. [ออนไลน์]. มติชนออนไลน์, 2010-11-30. เข้าถึงได้จาก : http://www.matichon.co.th. (วันที่ค้นข้อมูล 30 กรกฎาคม 2554).

บัณฑิต จันทร์โรจนกิจ. (2549). รัฐธรรมนูญสถาปนา. กรุงเทพฯ : วิภาษา.

พิศาล มุกดารัศมี. “แนวคิดและวิวัฒนาการทางการเมืองการปกครองไทย: ประชาธิปไตย” ใน ประมวลสาระชุดวิชาการเมืองการปกครองไทย หน่วยที่ 1-5. หน้า 4-41 – 4-53.

ฐปนรรต พรหมอินทร์, บรรณาธิการ. นนทบุรี : มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2554.

มติชนออนไลน์ 24 พฤษภาคม 2554. “กลยุทธ์ไม่ธรรมดาของชูวิทย์ กมลวิศิษฎ์ ถึงจะเล็กแต่แตกต่างระวังเสี่ยอ่างชนะมือปราบสายเดี่ยว” [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : http://www.matichon.co.th. (วันที่ค้นข้อมูล 30 กรกฎาคม 2554).

วรเจตน์ ภาคีรัตน์. (2552). “หลักนิติรัฐและหลักนิติธรรม” ใน รัฐศาสตร์สาร 30 ปี เล่ม 1.

วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : http://th.wikipedia.org. การเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร (วันที่ค้นข้อมูล 30 กรกฎาคม 2554).

วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : http://th.wikipedia.org. คดียุบพรรคการเมือง พ.ศ.2549 และ พ.ศ.2551 (วันที่ค้นข้อมูล 31 กรกฎาคม 2554.)

วิชัย ตันศิริ. (2548). วิวัฒนาการของระบอบประชาธิปไตย. กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

เสกสรรค์ ประเสริฐกุล. (2552). การเมืองภาคประชาชนในระบอบประชาธิปไตย. กรุงเทพฯ : วิภาษา.

เสน่ห์ จามริก. (2547). สิทธิมนุษยชนไทยในกระแสโลก. กรุงเทพฯ : สานักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย.

อภิชาต สถิตนิรามัย (ก). (2011). จากไพร่ฟ้าสู่ความเป็นพลเมือง (From Subjects to Citizenship). [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : http://www.prachatai.org. ประชาไท 2011-05-13. (วันที่ค้นข้อมูล 30 กรกฎาคม 2554).

อภิชาต สถิตนิรามัย (ข). (2011). สิทธิเลือกตั้ง เงินซื้อเสียง ใครโง่ ?. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : http://www.prachatai.org. ประชาไท 2011-05-30. (วันที่ค้นข้อมูล 30 กรกฎาคม 2554).

อมรา พงศาพิชญ์ และปรีชา คุวินทร์พันธุ์ (บก.). (2543). ระบบอุปถัมภ์. กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

อัมมาร สยามวาลา. (2547). “ชราภาพของภาคเกษตร: อดีตและอนาคตของชนชทไทย” บทความเสนอในที่สัมมนาวิชาการประจาปี 2547 เรื่อง เหลียวหลังแลหน้า: ยี่สิบปีเศรษฐกิจสังคมไทย จัดโดย มูลนิธิสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (TDRI) วันที่ 27-28 พฤศจิกกยน 2547. หน้า 11.

เอนก เหล่าธรรมทัศน์. (2538). สองนัคราประชาธิปไตย. กรุงเทพ : สำนักพิมพ์มติชน.

John Girling. (1996). Interpreting Development: Capitalism, And The Middle Class in Thailand. New York : SEAP Cornell University.

Jonathan Di John. (2008). Conceptualising the Causes and Consequences of Failed States: A Critical Review of the Literature. London : Crisis State Research Centre, LSE.

Kie-Duck Park. “Concepts of Civil Society and Its Proxies: An East Asian Perspective” Korea : The Sejong Institute. p. 5. (Typewritten).

Robert B. Albritton and Thawilwadee Bureekul. (2002). “Civil Society and The Consolidation of Democracy in Thailand,” Paper Prepared for delivery at the Annual Meeting of the Southern Political Science Association, Savannah, GA, November 6-9, 2002, p. 3. (Mimeographed).

Salvador Giner. (1995). “Civil Society and its Future” In Civil Society: Theory, History, Comparison. ed. John A. Hall. Great Britain : Polity Press.