มหัศจรรย์ของอุทกภัยแบบไทยไทย

Main Article Content

Tavida Kamolvej

Abstract

   วิกฤติอุทกภัยส่งท้ายปีเป็นบททดสอบศักยภาพในการปรับตัวของสังคมไทย และความสามารถในการจัดการของหน่วยงานภาครัฐ ซึ่งได้ทิ้งบทเรียนและคาถามมากมายไว้ให้คนไทยได้คิดทบทวนถึงความไม่พร้อมของสังคมในทุกระดับต่อการรับมือกับภัยพิบัติที่เกิดขึ้น ทั้งจากปัจเจกบุคคล ครัวเรือน ธุรกิจอุตสาหกรรม หน่วยงานภาคส่วนต่างๆ ตลอดจนแม้แต่กระทั่งหน่วยงานที่รับผิดชอบต่อการบริหารจัดการสถานการณ์เองก็ตาม สะท้อนออกมาให้เห็นจากปัญหาและเหตุการณ์ต่างๆที่เกิดขึ้น เช่น ปัญหาการประเมินความเสี่ยงของสถานการณ์ การสื่อสารที่ไม่ชัดเจนทั้งระหว่างหน่วยงานและหน่วยงานกับภาคประชาชน การขาดเอกภาพในการบริหารจัดการ การเกิดความขัดแย้งในพื้นที่ต่างๆ และวัฒนธรรมความปลอดภัยในแบบไทยๆซึ่งมีเงื่อนไขและข้อจากัดมากมายต่อการดาเนินการจัดการสถานการณ์ที่มีความเร่งด่วน และความซับซ้อนสูง อีกทั้งระบบสังคมวัฒนธรรมและความสัมพันธ์ของการเมืองการบริหารแบบไทยๆของเรานั้น ในภาวะปรกติก็เป็นปัจจัยที่ส่งผลต่อการดาเนินงานต่างๆอยู่แล้ว หากแต่เมื่อมามีบทบาทในการจัดการภายใต้ภาวะวิกฤติ ก็ยิ่งเป็นส่วนซ้าเติมให้สถานการณ์อุทกภัยครั้งนี้นั้นมีความซับซ้อนและมีความยากในการจัดการเพิ่มมากยิ่งขึ้นไปอีก บทความนี้เป็นการรวบรวมการเรียนรู้การปรับตัวของสังคมไทย ต่อสถานการณ์ภัยพิบัติอุทกภัย ผ่านมุมมองของหลักการของศาสตร์การจัดการภัยพิบัติ ด้วยหวังว่าบทเรียนจากข้อบกพร่อง และข้อดีที่เกิดขึ้น จะช่วยให้สังคมไทยสามารถปรับตัวและแก้ไขได้ดียิ่งขึ้น หากต้องประสบกับภัยพิบัติครั้งต่อไป

Article Details

How to Cite
kamolvej, tavida . (2020). มหัศจรรย์ของอุทกภัยแบบไทยไทย. King Prajadhipok’s Institute Journal, 9(3). Retrieved from https://so06.tci-thaijo.org/index.php/kpi_journal/article/view/244467
Section
Original Articles

References

ทวิดา กมลเวชช. (2554). คู่มือการจัดการภัยพิบัติท้องถิ่น. วิทยาลัยพัฒนาการปกครองท้องถิ่น สถาบันพระปกเกล้า.

ทวิดา กมลเวชช. (2552). ศาสตร์การบริหารจัดการภัยพิบัติ. รัฐศาสตร์สาร, ล.3.

สุริชัย หวันแก้ว. (2550). สังคมวิทยาสึนามิ : การรับมือกับภัยพิบัติฬ กรุงเทพฯ: สถาบันวิจัยสังคม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยและศูนย์ศึกษาการพัฒนาสังคม คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

พระราชบัญญัติป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย พ.ศ. 2550

“แผนแม่บทการป้องกันและให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยจากอุทกภัย วาตภัย และดินโคลนถล่ม (ระยะ 5 ปี).” กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย กระทรวงมหาดไทย, 2550.

Louise K Comfort. (2000). Shared Risk. UK: Elsevier Science Ltd.

Richard Sylves. (2008). Disaster Policy and Politics. Washington DC: CQ Press.

William Wagh & Tavida Kamolvej. (2007) Principle of Crisis Management. Senior Crisis Management Seminar: State Department Antiterrorist Program, lecture notes. American University.