กฎหมายกับการพัฒนาประเทศ
Main Article Content
Abstract
ความท้าทายของรัฐเสรีประชาธิปไตยไม่เว้นแม้แต่ประเทศไทย คือทาอย่างไรให้ “กฎหมาย” เป็นเครื่องมือในการพัฒนาประเทศ ในขณะเดียวกันสร้างความสงบสุข ร่มเย็นของสมาชิกในสังคมได้อย่างถ้วนหน้า ซึ่งจากบทเรียนของสหรัฐอเมริกาและเกาหลีใต้นั้นมีการใช้นโยบายของรัฐเป็นตัวตั้ง โดยมีกฎหมายเป็นเครื่องมือในการขับเคลื่อนเพื่อให้เกิดการปฏิบัติตามนโยบาย ฝ่ายบริหารและฝ่ายนิติบัญญัติ มีความเป็นเอกภาพค่อนข้างสูง ส่วนสหราชอาณาจักร ออสเตรเลีย และสิงคโปร์ มุ่งเน้นที่การพัฒนากฎหมายเป็นหลัก โดยจัดให้มีกลไกเพื่อการพัฒนากฎหมายขึ้นโดยตรง ภายใต้ชื่อ “คณะกรรมการพัฒนากฎหมาย” หรือ “คณะกรรมการปฏิรูปกฎหมาย”
ประเทศไทยเราใช้ทั้งสองรูปแบบ คือ ใช้กฎหมายเป็นเครื่องมือดาเนินการตามนโยบายภาครัฐ ซึ่งมิได้หมายความเพียงเฉพาะนโยบายของรัฐบาลเท่านั้น มีตัวอย่างความสาเร็จจากรัชสมัยของสมเด็จพระปิยมหาราช และยังมีกลไก “คณะกรรมการปฏิรูปกฎหมาย” ทาหน้าที่ปรับปรุงพัฒนากฎหมายตามกรอบอานาจที่รัฐธรรมนูญกาหนด
กฎหมายจะเป็นเครื่องมือในการพัฒนาประเทศอย่างแท้จริง ในสังคมที่เคารพหลักความเป็นกฎหมายสูงสุดของรัฐธรรมนูญ หรือหลักความศักดิ์สิทธิ์ของกฎหมาย ไทยเรามีต้นทุนที่ดีอยู่แล้ว คือ มีรัฐธรรมนูญที่มีเจตนารมณ์ หลักการ และบทบัญญัติเกี่ยวกับการพัฒนากฎหมายที่ล้าสมัยมาก เพียงแต่องค์กรและกระบวนการที่เกี่ยวข้องต้องทาหน้าที่ไปในทิศทางเดียวกัน อีกทั้งต้องยอมรับ “พหุสังคม” ซึ่งจาเป็นต้องผนึกรวมภาคส่วนอื่นๆ เข้าไปในกระบวนการทางกฎหมาย และมีการเสริมพลังให้กลุ่มที่ด้อยกว่า อีกทั้งพระอัจฉริยภาพขององค์พระประมุขในการกล่อมเกลาบุคลากรที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย ในแง่ของกฎหมายกับความยุติธรรม ความเป็นธรรม และความถูกต้องดีงาม
เรายังขาดองค์ประกอบหลัก คือ “ประชาชนไทย” หากปรับเปลี่ยนเป็น “พลเมืองไทย” ที่ตระหนักรู้และเชื่อมั่นในอานาจของตน ไม่ยินยอมตกเป็นผู้อยู่ใต้การปกครองเท่านั้น แต่ใส่ใจต่อการเมืองการปกครอง การออกฎหมาย การบังคับใช้กฎหมาย และการพัฒนาประเทศ รวมทั้งใช้สิทธิเข้าร่วมในกระบวนการออกกฎหมายเพื่อกาหนดทิศทางการพัฒนาประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งวิถีชีวิตและความเป็นอยู่ของตนเองและชุมชนได้ หากทาได้เช่นนี้ สังคมไทยไม่เพียงแต่ใช้ “กฎหมาย” เป็นเครื่องมือในการพัฒนาประเทศเท่านั้น แต่กฎหมายยังเป็นเครื่องมือที่สร้างสันติสุขแก่สังคมอีกด้วย
Article Details
@ 2020 King Prajadhipok's Institute The Government Complex Commemorating All Right Reserved.
References
ครองภาคย์ ศุขรัตน์. คณะกรรมการปฎิรูปกฎหมายของประเทศอังกฤษ.[ออนไลน์]. 2553. แหล่งที่มา : http://www.lrc.go.th/library/content/Documents/%E0%B8%84%E0%B8%93%E0%B8%B0%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%A1%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%9B%E0%B8%8F%E0%B8%B4%E0%B8%A3%E0%B8%B9%E0%B8%9B%E0%B8%81%E0%B8%8E%E0%B8%AB%E0%B8%A1%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%82%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%AA%E0%B8%AB%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%8A%E0%B8%AD%E0%B8%B2%E0%B8%93%E0%B8%B2%E0%B8%88%E0%B8%B1%E0%B8%81%E0%B8%A3.pdf
ชัยวัฒน์ วงศ์วัฒนศานต์. การพัฒนากฎหมาย. [ออนไลน์]. 2553. แหล่งที่มา : http://www.lawthai.org/read/legal.pdf
โภคิน พลกุล. ท่านปรีดีกับศาลปกครอง.[ออนไลน์]. 2544. แหล่งที่มา : http://www.pub-law.net/article/report_full01.html
บวรศักดิ์ อุวรรณโณ. นิติรัฐกับประชาสังคม. [ออนไลน์]. 2553. แหล่งที่มา : http://www.pub-law.net/article/ac211044a_1.html
บวรศักดิ์ อุวรรณโณ. กฎหมายมหาชน เล่ม 1. พิมพ์ครั้งที่ 8. กรุงเทพฯ : ธรรมดาเพลส, 2548.
บวรศักดิ์ อุวรรณโณ. กฎหมายมหาชน เล่ม 2. พิมพ์ครั้งที่ 3.กรุงเทพฯ : วิญญูชน, 2547.
ปริญดา รุ่งเรืองไพศาลสุข. คณะกรรมการปฏิรูปกฎหมายของประเทศสิงคโปร์. [ออนไลน์]. 2553. แหล่งที่มา :
ลิขิต ธีรเวคิน. หลักนิติธรรมและความสงบเรียบร้อยในสังคม. 2554. แหล่งที่มา : http://www.dhiravegin.com/detail.php?item_id=000962
สานักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา. 120 ปี เคาน์ซิลออฟสเตด จากสถาบันที่ปรึกษาราชการแผ่นดินมาเป็นคณะกรรมการกฤษฎีกา 2417-2535” ในวารสารกฎหมายปกครอง ฉบับพิเศษ เล่ม 13 ตอน 1. กรุงเทพมหานคร : สานักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา, 2537.
อมร จันทรสมบูรณ์. นักนิติศาสตร์หลงทางหรือ?”. [ออนไลน์]. 2544. แหล่งที่มา : http://www.pub-law.net/article/article/ac190944.html
อมร จันทรสมบูรณ์. สภาพวิชาการทางกฎหมาย : สาเหตุแห่งความล้มเหลวของการปฏิรูปการเมือง ครั้งที่ 2 ( กรณีศึกษา – case study : “ร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่” ของสภาร่างรัฐธรรมนูญ ชุดที่สอง (พ.ศ. ๒๕๕๐). [ออนไลน์]. 2550. แหล่งที่มา : http://www.pub-law.net/publaw/view.aspx?ID=1123
อมร จันทรสมบูรณ์. นิติรัฐกับประชาสังคม. [ออนไลน์]. 2553. แหล่งที่มา : http://www.pub-law.net/article/report_full01.html