การบริหารองค์การและการดารงอยู่ของพรรคการเมือง ศึกษากรณีพรรคประชาธิปัตย์และพรรคมหาชน

Main Article Content

Pornthep Techapaibul

Abstract

     งานวิจัยเรื่อง “ การบริหารองค์การและการดารงอยู่ของพรรคการเมือง ศึกษากรณีพรรคประชาธิปัตย์และพรรคมหาชน” เกิดจากความสนใจในองค์การของพรรคประชาธิปัตย์ ที่สามารถดาเนินการทางการเมืองมาได้จนถึงปัจจุบัน เป็นบทสะท้อนได้เป็นอย่างดีของการมีกลยุทธ์ในการปรับตัวเพื่อความอยู่รอดขององค์การ การวิจัยมีวัตถุประสงค์ในการศึกษาถึงปัจจัยที่ทาให้พรรคประชาธิปัตย์ดารงอยู่เป็นพรรคการเมืองมาจนถึงปัจจุบัน ปัจจัยในการบริหารองค์การของพรรคประชาธิปัตย์ รูปแบบองค์การของพรรคประชาธิปัตย์ตลอดจนกลไกต่างๆของพรรคที่ส่งผลให้พรรคดารงอยู่ นอกจากนี้ยังเปรียบเทียบพรรคประชาธิปัตย์กับพรรคการเมืองอื่นที่มีการดาเนินการทางการเมืองซึ่งมีอายุของพรรคไม่มากนัก เช่น พรรคมหาชน ทั้งนี้ศึกษาจุดร่วมและความแตกต่างของการบริหารองค์การและการดารงอยู่ของพรรคอีกด้วย


     การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยกรณีศึกษาโดยใช้การวิจัยเชิงคุณภาพ ซึ่งมีวีธีการเก็บข้อมูล 2 วิธี คือ การวิเคราะห์เอกสาร (Documentary Analysis) และการสัมภาษณ์แบบเจาะลึก ( In-depth interview)


     ผลการศึกษาพบว่าปัจจัยในการบริหารองค์การของพรรคประชาธิปัตย์ที่ทาให้พรรคยังคงดารงอยู่มีทั้งหมด 6 ปัจจัย คือปัจจัยการยึดมั่นอุดมการณ์ประชาธิปไตยในการบริหารองค์การ ปัจจัยโครงสร้างและสาขาพรรค ปัจจัยการพัฒนาและฝึกอบรมทางการเมือง ปัจจัยการบริหารแหล่งทุน ปัจจัยกลยุทธ์ในการปรับตัวเข้ากับสิ่งแวดล้อม และปัจจัยสุดท้ายคือ ผู้นาพรรคที่ใช้หลักการประชาธิปไตยในการบริหารงานและดูแลสมาชิกพรรค


     สำหรับรูปแบบการบริหารองค์การของพรรคประชาธิปัตย์มีโครงสร้างเป็นแบบทางการ มีพื้นฐานของโครงสร้างตามพระราชบัญญัติพรรคการเมือง พ.ศ. 2550 และโครงสร้างที่นอกเหนือจากกฎหมายกาหนดทางด้านสาขาพรรค ทาให้พรรคมีรากฐานที่เข้มแข็ง อีกทั้งสาขาพรรคยังเป็นกาลังสาคัญในการติดต่อสื่อสารกับประชาชนในท้องถิ่น เพื่อเป็นข้อมูลที่พรรคนามาปรับใช้เป็นกลยุทธ์ในการแก้ไขปัญหาและวางแผนเพื่อนามาเป็นโยบายของพรรคต่อไป


     ประเด็นการเปรียบเทียบการบริหารองค์การของพรรคประชาธิปัตย์กับพรรคมหาชนในหลายประเด็น ประเด็นแรก อุดมการณ์ประชาธิปไตยและนโยบายพรรค ซึ่งทั้งสองพรรคยึดมั่นในอุดมการณ์ประชาธิปไตย แต่หากพิจารณาในประเด็นจุดยืนของพรรคประชาธิปัตย์มีอุดมการณ์ที่ต่อสู้กับระบอบเผด็จการตั้งแต่แรกเริ่ม และสาหรับจุดยืนของพรรคมหาชนคือเป็นพรรคทางเลือกใหม่ของประชาชนหรือพรรคทางเลือกที่สาม


     ประเด็นที่สองคือการบริหารองค์การภายใน สืบเนื่องจากของพรรคประชาธิปัตย์ก่อตั้งมาจากการที่พรรคไม่มีใครเป็นเจ้าของ ทาให้พรรคมีพื้นที่สาธารณะ ( public sphere ) ที่ทุกคนร่วมเป็นเจ้าของได้ และสาหรับการบริหารองค์การแบบพรรคมหาชนมีความแตกต่าง คือเป็นลักษณะของการสั่งการแบบรวมศูนย์ (centralization)


     ประเด็นที่สาม การสนับสนุนจากภายนอกจากแหล่งเงินทุนสนับสนุนและกระแสสังคมที่ค่อยสนับสนุนพรรค และประเด็นสุดท้ายคืออายุของทั้งสองพรรคซึ่งส่งผลต่อการพัฒนาพรรคหรือองค์การในแนวทางต่างๆ

Article Details

How to Cite
techapaibul, pornthep . (2020). การบริหารองค์การและการดารงอยู่ของพรรคการเมือง ศึกษากรณีพรรคประชาธิปัตย์และพรรคมหาชน. King Prajadhipok’s Institute Journal, 9(3). Retrieved from https://so06.tci-thaijo.org/index.php/kpi_journal/article/view/244472
Section
Original Articles

References

กระมล ทองธรรมชาติ. (2514). การเมืองระหว่างประเทศ. กรุงเทพมหานคร : แพร่พิทยา.

โกเมศ ขวัญเมือง. (2543). กฎหมายว่าด้วยระบบพรรคการเมือง. กรุงเทพมหานคร : มหาวิทยาลัยรามคาแหง.

กนก วงษ์ตระหง่าน. (2536). พรรคการเมืองไทย. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

กองบรรณาธิการ Money Magazine. (2543). พรรคประชาธิปัตย์ บนเส้นทางประชาธิปไตย. กรุงเทพมหานคร: Money Magazine.

ขจัดภัย บุรุษพัฒน์. (2511). การเมืองและพรรคการเมืองไทยนับแต่ยุคแรกถึงปัจจุบัน. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์โอเดียนสโตร์.

ขวัญชาติ วงศ์ขจรไพบูลย์. “พรรคการเมืองไทยกับการควบคุมสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในสังกัด: ศึกษาเปรียบเทียบระหว่างพรรคประชาธิปัตย์กับพรรคชาติไทย”. วิทยานิพนธ์ปริญญารัฐศาสตร์มหาบัณฑิต ภาควิชาการปกครอง บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2539.

จรี เปรมศรีรัตน์. (2550). กำเนิดพรรคประชาธิปัตย์ 6 เมษายน พ.ศ. 2489 : 61 ปี ประชาธิปัตย์ยังอยู่ยั้งยืนยง. นนทบุรี: สำนักพิมพ์ใจกาย.

ชัยวัฒน์ วีรานันท์. “บทบาททางการเมืองของสาขาพรรคการเมือง: ศึกษาเฉพาะกรณีพรรคประชาธิปัตย์”. วิทยานิพนธ์ปริญญารัฐศาสตร์มหาบัณฑิต ภาควิชาการปกครอง บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2535.

เชาวนะ ไตรมาศ. (2540) .พรรคการเมืองไทย : ภูมิหลังทางโครงสร้าง-หน้าที่และพัฒนาการ ทางสถาบัน. กรุงเทพมหานคร: สถาบันนโยบายศึกษา.

ณัฐวุฒิ สุทธิสงคราม. (2522). นายควง อภัยวงศ์ กับพรรคประชาธิปัตย์. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์เรืองศิลป์.

แถมสุข นุ่มนนท์. (2539). 50 ปี พรรคประชาธิปัตย์กับการเมืองไทย.

ปรีชา หงษ์ไกรเลิศ. (2524). พรรคการเมืองและปัญหาพรรคการเมืองไทย. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์ไทยวัฒนาพานิช.

นรนิติ เศรษฐบุตร. (2530). พรรคประชาธิปัตย์ : ความสาเร็จหรือความล้มเหลว. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

บุญธรรม เลิศสุขีเกษม. “ความแตกแยกภายในพรรคการเมืองไทย”. วิทยานิพนธ์ปริญญารัฐศาสตร์มหาบัณฑิต ภาควิชาการปกครอง บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2531.

รัฐการ มิฆเนตร. “ยุวประชาธิปัตย์ในฐานะองค์กรเสริมสร้างพัฒนาการของพรรคประชาธิปัตย์”.วิทยานิพนธ์ปริญญารัฐศาสตร์มหาบัณฑิต ภาควิชาการปกครอง บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2533.

ลิขิต ธีรเวคิน. (2527). การเมืองไทยยุคใหม่. กรุงเทพมหานคร : แพร่พิทยา.

สละ ลิขิตกุล. (2521). เบื้องหน้า-เบื้องหลังของพรรคประชาธิปัตย์ โดย ทหารเก่า. พิมพ์ครั้งที่ 1, กรุงเทพมหานคร : การเวก.

วลัยพร รัตนเศรษฐ. (2545). บทบาทผู้นาทางการเมืองของพลตรีสนั่น ขจรประศาสน์ สารนิพนธ์มหาวิทยาลัยรามคาแหง, คณะรัฐศาสตร์.

หยุด แสงอุทัย . (2517). พรรคการเมือง. กรุงเทพมหานคร : ดวงกมล.

อยุทธ์ เพชรอินทร. “อุดมการณ์ทางการเมืองของพรรคประชาธิปัตย์”. วิทยานิพนธ์ปริญญารัฐศาสตร์มหาบัณฑิต ภาควิชาการปกครอง บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2537.

เอนก เหล่าธรรมทัศน์. (2548). พิศการเมือง.

Askew Marc. (2008). Performing Political Identity : The Democrat Party in Southern Thailand. Chiang Mai:Silkworm Books.

Boulding, K.E. (1956). General systems theory: Foundations, development, applications. New York : George Braziller.

DuBrin, A.J. (1998). Leadership Research Findings, Practice, and Skills. Boston : Houghton Mifflin.

Duverger, Maurice (1967) Political Parties: Their Organization and Activities in the Modern State. London : Methuen.

Hult & Walcott. (1990). Governing Public Organizations: politics, structures and institutional design. The University of Michigan : Brooks/Cole Pub. Co.

Katz,D., & Kahn, R.L. (1966). The social psychology of organizations. New York : Wiley.

Kitschelt, Herbert. (1993). “Class Structure and Social Democratic Party Strategy”.British Journal of Political Science, Vol. 23 No.3 : 299-337.

Levitsky, Steven. 2003. Transforming labor-Based Parties in Latin America: Argentina Peronism in comparative perspective. Cambridge University Press.

Macridis, Roy C. (1967). Political parties: contemporary trends and ideas The Contemporary essays series. Harper & Row,The University of Michigan.

Mintzberg, H. (1983). Power in and around organizations. Englewood Cliffs, NJ : Prentice

Pfeffer, J. (1981). Power in organizations. Boston : Pitman.

Pfeffer & Salancik.(1974). Organizational decision making as a political process: the case of a university budget : University of California.

Robbins,Stephen.(1987). Organization Theory:Structures,Design,and Applications. Englewood Cliffs. New Jersey : Prentice-Hall.

Samuel P. Huntington. (1968). Political Order in Changing Societies. University of Michigan : Yale University Press.

Sirivunnabood, Punchada. “Local Political Party Branches in Thailand”. Dissertation Submitted to The Graduate School in Partial Fulfillment of the Requirements for the degree of Doctor of Philosophy Department of Political Science. Northern Illinois University, 2009.

Thompson, J.D. (1967). Organizations in action. New York : McGraw-Hill.