ความขัดแย้งและการแก้ปัญหา
Main Article Content
Abstract
มนุษย์เป็นสัตว์สังคมซึ่งอยู่รวมกันเป็นกลุ่ม ด้วยเหตุผลสาคัญคือ
ประการแรก ความจาเป็นที่ต้องรักษาตัวรอด รวมพละกาลังต่อสู้กับเผ่าพันธุ์อื่นที่อาจจะมาทาลายเผ่าพันธุ์ของตน
ประการต่อมา มีความจาเป็นต้องรวมกาลังเข้าทางานที่ใช้กาลังของคนเพียงคนเดียวหรือจานวนน้อยทาไม่ได้ เช่น การล่าสัตว์ใหญ่เป็นอาหาร ล่ากวาง ล่าวัวกระทิง ล่าปลาวาฬ นอกจากนั้นการก่อสร้างในชุมชน เช่น สะพานข้ามแม่น้า กาแพง หรือรั้วป้องกันสัตว์ร้าย หรือมนุษย์ต่างเผ่า แม้กระทั่งที่อยู่อาศัยขนาดใหญ่ก็ต้องใช้ความร่วมมือจากคนกลุ่มใหญ่
ประการสุดท้าย มีความจาเป็นทางจิตวิทยาที่มนุษย์จะต้องอยู่รวมกันเพื่อให้เกิดความอุ่นใจ เนื่องจากการเป็นสัตว์สังคมก็คือต้องการหาเพื่อน โดยเฉพาะอย่างยิ่งความรู้สึกที่เป็นชุมชน เป็นกลุ่มเดียวกัน เป็นพวกเดียวกัน เป็นเครือญาติ เป็นครอบครัว
แต่เมื่อมนุษย์อยู่กันเป็นกลุ่มในลักษณะของสัตว์สังคม และท่ามกลางทรัพยากรที่จากัดก็หลีกเลี่ยงไม่ได้ที่จะต้องมีความขัดแย้ง ความขัดแย้งในสังคมมนุษย์แยกแยะได้ 4 ประการใหญ่ๆ คือ
1. ความขัดแย้งในเรื่องผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจ เริ่มต้นจากการแบ่งอาหารที่ได้จากการไล่ล่า ใครควรจะได้สัดส่วนเท่าไหร่ มากน้อยเพียงใด จะมีความขัดแย้งเกิดขึ้น ซึ่งในเบื้องต้นก็มักจะตัดสินกันโดยใช้พละกาลัง ผู้แข็งแรงที่สุดจะได้จานวนอาหารมากที่สุด
2. ความขัดแย้งในแง่ของสถานะทางสังคม ในสังคมมนุษย์จะมีความแตกต่างกันในเรื่องเกียรติและศักดิ์ศรี ผู้ซึ่งอยู่ในฐานะได้เปรียบก็จะตั้งตนเองเป็นผู้อยู่ในฐานะสูงกว่า มีโอกาสได้อาศัยอยู่ในถ้าที่ใหญ่โตกว่าและสะดวกสบายกว่า เป็นต้น
3. ความขัดแย้งในเรื่องของอานาจ ใครเป็นผู้มีอานาจในการจัดการกับทรัพยากร ใครเป็นผู้มีอานาจในการตั้งกฎเกณฑ์ต่างๆ ขึ้นมา อันนี้เป็นความสัมพันธ์เชิงอานาจ
4. นอกจาก 3 ประการดังกล่าวแล้ว ก็อาจมีความขัดแย้งในเรื่องของนามธรรม เช่น ฝ่ายหนึ่งต้องการให้ปล่อยต้นไม้ใหญ่ไว้หน้าปากถ้าเพราะมีร่มเงาและความสวยงาม อีกฝ่ายหนึ่งต้องการตัดทิ้งเพื่อจะได้รับแสงแดดมากกว่าเดิม ความขัดแย้งในเรื่องนี้เป็นความขัดแย้งในทางนามธรรมและค่านิยม แต่ก็อาจจะมีความสาคัญพอๆ กับความขัดแย้งใน 3 ประการแรก หรือในบางกรณีอาจจะมีความสาคัญมากกว่าเสียด้วยซ้า
เมื่อความขัดแย้งเกิดขึ้นต้องมีการหาข้อยุติ ซึ่งในเบื้องต้นก็อาจจะใช้กาลังเข้าต่อสู้กัน ฝ่ายชนะก็จะเป็นผู้กุมอานาจและเริ่มจัดกฎเกณฑ์ต่างๆ เกี่ยวกับตัวแปร 4 ตัวที่กล่าวมาเบื้องต้น กลุ่มบุคคลซึ่งส่วนใหญ่จะมีหัวหน้าที่แข็งแรงที่สุดซึ่งเป็นผู้นานั้นจะเป็นคณะบุคคลที่จัดระเบียบสังคมขึ้น อันรวมไปถึงการจัดแจงถึงผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจ สถานะทางสังคม การแจกแจงเรื่องอานาจ รวมตลอดทั้งการกาหนดค่านิยมที่สมาชิกทุกคนจะถือตาม ทันทีที่ปรากฏการณ์เช่นนี้เกิดขึ้น นั่นคือ การเกิดขึ้นของสิ่งที่เรียกว่า รัฐ (state) รัฐคือระเบียบการเมือง (political order) ที่ตั้งขึ้นมาเพื่อเป็นเสาหลักของการอยู่ร่วมกันในชุมชนมนุษย์
วิวัฒนาการจากมนุษย์ซึ่งเป็นสัตว์สังคมและอยู่รวมกันเป็นสังคม จนนามาสู่การเป็นรัฐนี้เป็นวิวัฒนาการที่เกิดขึ้นมาตั้งแต่อดีตจนถึงยุคปัจจุบัน รัฐโดยมีผู้ใช้อานาจรัฐที่ปัจจุบันเรียกว่า รัฐบาล ได้แก่ คณะบุคคลซึ่งมีอานาจเหนือกว่าคนทั่วๆ ไปจะทาหน้าที่ในการตั้งกฎระเบียบด้วยการออกกฎหมาย โดยมีสภาพบังคับสาหรับผู้ละเมิด มีอานาจในการให้คุณให้โทษกับคนในสังคม การจัดระเบียบเช่นนี้คือการก่อตั้งระเบียบทางการเมือง ดังนั้น รัฐในแง่ของนามธรรมก็คือระเบียบของการเมืองที่ชุมชนยอมรับมาใช้เป็นกลไกเพื่อการอยู่ร่วมกัน เอื้ออานวยต่อกัน
การได้มาซึ่งอานาจรัฐจะต้องมีความชอบธรรม (legitimacy) หมายความว่า เป็นที่ยอมรับของคนที่อยู่ในชุมชนภายใต้ระเบียบการเมืองนั้นๆ ความชอบธรรมอาจเกิดจากการใช้กาลังในเบื้องต้น ความชอบธรรมในส่วนนี้มีพื้นฐานมาจากความกลัว จนถึงจุดๆ หนึ่งก็อาจจะกลายเป็นประเพณี เช่น การสืบทอดอานาจจากพ่อไปสู่ลูก จากลูกไปสู่หลาน ซึ่งแม็กซ์ เวเบอร์ (Max Weber) เรียกว่า traditional authority นอกจากที่กล่าวมาก็มีความชอบธรรมที่ถือว่าสอดคล้องกับกฎหมายและความมีเหตุมีผล (legal-rational authority) เช่นภายใต้ระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตย มีการเลือกตั้ง มีกฎกติกาของการได้มาซึ่งอานาจ เหตุผลสาคัญก็คือ ผู้ปกครองต้องผ่านการเลือกตั้งโดยผู้อยู่ใต้ปกครอง เท่ากับการได้อาณัติจากประชาชน ดังนั้นผู้ซึ่งชนะการเลือกตั้งก็จะมีความ ชอบธรรมตามกฎหมายและความมีเหตุมีผล
ความชอบธรรมในส่วนที่สามของอานาจจะขึ้นอยู่กับตัวบุคคลซึ่งคนทั่วไปเชื่อว่ามีบุญญาธิการที่จะมาแก้ปัญหาสังคม บุคคลดังกล่าวนี้บางครั้งถูกเรียกว่า “อัศวินม้าขาว” มักจะปรากฏขึ้นเมื่ออานาจจากประเพณี กฎหมายและความมีเหตุมีผลล่มสลาย กล่าวคือ ความชอบธรรมที่มาจากสิ่งที่เป็นนามธรรม ประเพณีที่สืบทอดหรือกฎหมาย และความมีเหตุมีผลในลักษณะนามธรรมนั้นมาอยู่ที่ตัวบุคคลที่มองเห็นได้อย่างชัดแจ้ง แต่ขณะเดียวกันบุคคลนั้นก็มีคุณลักษณะที่เป็นนามธรรม คือความเชื่อของประชาชนที่เชื่อว่าบุคคลผู้นั้นสามารถแก้ไขปัญหาและเป็นที่พึ่งของประชาชนได้ (charismatic leader) ซึ่งมีอานาจจาก charismatic authority
ตราบเท่าที่ระเบียบการเมือง รัฐและผู้ใช้อานาจรัฐยังคงไว้ซึ่งความชอบธรรมบนฐานใดฐานหนึ่งที่กล่าวมาเบื้องต้น สังคมนั้นก็สามารถจะดาเนินไปได้โดยปกติสุขในระดับหนึ่ง แต่เมื่อใดก็ตามที่ระบบสังคมอันได้แก่องค์กรต่างๆ ที่มนุษย์สร้างขึ้นภายใต้ระเบียบการเมือง เช่น ระบบกฎหมาย ระบบการเมือง ระบบการบริหาร ระบบเศรษฐกิจและธุรกิจ องค์กรศาสนา และองค์กรอื่นๆ ขาดการยอมรับและเสียความชอบธรรมเนื่องจากความขัดแย้งในสังคมเกิดขึ้นรุนแรงถึงจุดที่องค์กรต่างๆ ดังกล่าวไม่สามารถจะแก้ไขปัญหาได้ ก็จะนาไปสู่วิกฤตในทางการเมือง สังคมและเศรษฐกิจ นี่คือจุดเริ่มต้นของการเกิดปัญหา
Article Details
@ 2020 King Prajadhipok's Institute The Government Complex Commemorating All Right Reserved.