13 ความลับ และสันติวิธีในสังคมไทย
Main Article Content
Abstract
นับตั้งแต่วันที่ 12 มีนาคม 2553 เมื่อ “คนเสื้อแดง” หรือกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) ประกาศระดมพลเพื่อจัดการชุมนุมใหญ่ในพื้นที่กรุงเทพมหานคร ผู้คนในสังคม โดยเฉพาะที่ใช้ชีวิตอยู่ในเมืองหลวง ต่างพากันตื่นตัว เฝ้าติดตามปรากฏการณ์ทางการเมืองครั้งสาคัญนี้ด้วยความห่วงใย ผลการสารวจความคิดเห็นของประชาชน จานวน 1,134 คน ในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑลโดยสวนดุสิตโพล พบว่าเหตุการณ์การชุมนุมส่งผลให้ผู้คนกว่าร้อยละ 51 ติดตามข่าวสารจากสื่อต่างๆ เพิ่มขึ้น ในจานวนนี้ ร้อยละ 40 รู้สึกเครียดมากเพราะเป็นห่วงบ้านเมือง ขณะที่อีกร้อยละ 33 รู้สึกกังวลเพราะไม่รู้ว่าสถานการณ์บ้านเมืองจะจบลงอย่างไร1 ท่ามกลางบรรยากาศอันตึงเครียด ทั้งรัฐบาลและกลุ่มผู้ชุมนุมต่างคอยตอกย้าจุดยืนและอ้างความชอบธรรมของตนผ่านแนวทางสันติวิธี เช่นเดียวกันกับอีกหลากหลายกลุ่มในสังคมที่ทยอยกันออกมาเคลื่อนไหวเรียกร้องให้ฝ่ายต่างๆ ไม่ใช้ความรุนแรงต่อกัน สันติวิธีกลายเป็นคาที่ได้รับความสนใจจากสังคมไทยอย่างกว้างขวาง หากความสนใจดังกล่าวอาจมาพร้อมกับความไม่แน่ใจและสับสนว่าสันติวิธีคืออะไรแน่ หรือทาอะไรได้บ้าง
หนึ่งในบรรดาความพยายามที่จะทาความเข้าใจกับสังคมเกี่ยวกับแนวคิดสันติวิธี คือ การจัดทาสื่อสิ่งพิมพ์ขนาดเล็ก “13 ความลับสันติวิธี” โดยศูนย์ข่าวสารสันติภาพ มูลนิธิเพื่อการศึกษาประชาธิปไตยและการพัฒนา เพื่อเผยแพร่แก่กลุ่มผู้ชุมนุม เจ้าหน้าที่ตารวจ-ทหาร และบุคคลทั่วไป นับตั้งแต่ช่วงสัปดาห์แรกของการชุมนุม ปฏิกิริยาของผู้ได้รับแจกเอกสารดังกล่าวนั้นหลากหลายและน่าสนใจไม่น้อย ผู้คนจานวนหนึ่งรับเอกสารไปด้วยความยินดี บ้างอิดออดและอธิบายว่า “สิ่งที่เราทาเป็นสันติวิธีอยู่แล้ว” กระทั่งชายคนหนึ่งฉีกเอกสารทิ้งต่อหน้าอาสาสมัครทันทีที่ได้รับ ปฏิกิริยาเหล่านี้เป็นกระจกอีกด้านที่สะท้อนว่าผู้คนในสังคมมีทัศนคติและความรับรู้เกี่ยวกับสันติวิธีแตกต่างกันเพียงใด
บทความนี้เป็นความพยายามทาความเข้าใจแนวคิดสันติวิธีในสังคมไทยผ่าน 13 “ความลับ” พื้นฐาน โดยอาศัยกรณีศึกษาของกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) นับตั้งแต่มีการชุมนุมใหญ่เมื่อวันที่ 12 มีนาคม 2553 จวบจนเหตุการณ์การปะทะกันระหว่างเจ้าหน้าที่ทหารและกลุ่มผู้ชุมนุมในคืนวันที่ 10 เมษายน 25532 ประหนึ่งว่าสถานการณ์ความขัดแย้งทางการเมืองที่กาลังดาเนินอยู่เป็นเครื่องทดสอบว่าสังคมไทยได้เดินทางมาไกลเพียงใดในแง่ความรู้ความเข้าใจและการยึดมั่นในหลัก “การต่อสู้” โดยไม่ใช้ความรุนแรงนี้
Article Details
@ 2020 King Prajadhipok's Institute The Government Complex Commemorating All Right Reserved.