การแก้ไขปัญหาความรุนแรงทางการเมืองของไทย: พบทางตันจริงหรือ?

Main Article Content

Supattra Jittasathien

Abstract

     “Conflict is not always negative and can be essential to change of the issues it raiser are channeled into the kind of debates and exchanges which help to find solutions”


     ความขัดแย้ง(Conflict) เป็นปรากฏการณ์หนึ่งในสังคมที่เกิดขึ้นได้ตลอดเวลา เพราะตราบใดที่มนุษย์เรายังอยู่ร่วมกัน มีปฏิสัมพันธ์ต่อกันและต้องพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน ที่ผ่านมาการชุมนุมเรียกร้องในประเทศไทยจะเกี่ยวข้องอยู่ 5 เรื่องใหญ่ ๆ คือ ปัญหาที่ดินทากินปัญหาอันเกิดจากการก่อสร้างโครงการของรัฐที่มีผลกระทบต่อทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ปัญหาหนี้สิน ปัญหาเขื่อนหรือโรงไฟฟ้า และการบริหารราชการหรือการดาเนินนโยบายของรัฐบาล เพราะว่าเป็นเรื่องที่อยู่ ใกล้ตัวและเป็นเรื่องปากท้องหรือเรื่องของสิทธิที่ประชาชน ควรจะได้รับ(http://www.isab.go.th/dopa_isab/taksin/17/17 40.pdf. ค้นเมื่อ 15 เมษายน 2553.) จนอาจกล่าวได้อย่างสรุปว่า “ความขัดแย้งกลายเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตมนุษย์ในยุคศตวรรษที่ ๒๑” ที่มาพร้อมกับกระแสโลกาภิวัตน์และแนวคิดการปกครองแบบประชาธิปไตย ที่เน้นการกระจายอานาจการปกครองสู่ท้องถิ่น ดังนั้น ความขัดแย้งระดับชุมชนจึงมิใช่เป็นปัญหาภายในชุมชนเท่านั้น แต่กลายเป็นปัญหาที่มีปฏิสัมพันธ์เกี่ยวข้องกันไปทั่วประเทศ และสามารถสื่อสาร ถ่ายทอดไปได้ทั่วโลก จากเหตุผลนี่เอง ที่ทาให้ความขัดแย้งทางการเมืองไทย ได้ส่งผลเกิด ปัญหาความไร้เสถียรภาพทางการเมืองมากขึ้นและรุนแรง เข้มข้นขึ้น ดังเห็นได้จาก ช่วงระยะเวลากว่า ๗๘ ปีของระบบรัฐสภาไทย มีรัฐธรรมนูญมา ๑๘ ฉบับ ภายใต้การบริหารประเทศด้วยนายรัฐมนตรีมาแล้ว ๒๗ คน มีคณะรัฐมนตรีทั้งหมด ๕๙ ชุด โดยการปฏิวัติและรัฐประหาร ๑๒ ครั้ง มีการก่อกบฏมากถึง ๑๑ ครั้ง(บวรศักดิ์ อุวรรณโณ.ผ่าทางตันวิกฤติประเทศไทย.www.thairath.co.th/content/pol.73086) เป็นสถิติที่พอจะยืนยันได้ว่า ระบอบประชาธิปไตยของไทย ยังต้องมีการพัฒนาอีกมากและการที่การเมืองยังขาดเสถียรภาพ ซึ่งเดิมนั้น เมื่อเกิดการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองในแต่ละครั้งนั้นมักเกิดจากคนเมือง (โดยเฉพาะคนกรุงเทพฯ) คนต่างจังหวัด เป็นเพียงคนส่วนใหญ่ที่รับรู้ การต่อสู้ เปลี่ยนแปลงทางการเมืองสื่อ ของรัฐเท่านั้น แต่ในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา เกิดการพลิกขั้วของการต่อสู้และการเปลี่ยนแปลงทางการเมือง กลับกลายเป็น การขับเคลื่อนพลังโดย คนชนบท โดยผ่านแกนนา กลับกลายเป็นว่า คนชั้นกลางและคนกรุงเทพฯ กลายมาเป็นท่านผู้ชมการประท้วงเรื่อยมาตั้งแต่ การประท้วงของกลุ่มพันธมิตร (เสื้อสีเหลือง) และการประท้วงของกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยขับไล่เผด็จการแห่งชาติ (เสื้อสีแดง) ทาให้สถานการณ์ความขัดแย้งในสังคมไทยที่รุนแรงและยืดเยื้อ มีการแบ่งฝ่าย แบ่งสี ออกจากกันอย่างเด่นชัด สะท้อนให้เห็นว่า สังคมไทยเรากาลังเผชิญกับความขัดแย้งทางการเมืองในระดับที่รุนแรงมากขึ้น ผนวกเข้ากับความขัดแย้งเชิงโครงสร้าง (Structural Conflict) ที่มีมาตลอด ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการแย่งชิงอานาจและการใช้อานาจมิชอบ รวมถึงสถานการณ์ ความขัดแย้งจากผลประโยชน์ (Interest Conflict) ซึ่งประจักษ์ต่อสังคมไปทั่วโลกในเรื่องของการแสวงหาผลประโยชน์ทับซ้อนจากอิทธิพลของนักการเมือง การทุจริต คอรัปชั่นทั้งในภาครัฐและเอกชน โดยเฉพาะสถานการณ์ความขัดแย้งทางการเมือง มีการต่อสู้ และตอบโต้กันอย่างดุเดือด หลายต่อหายครั้งมีการปะทะกันจนถึงมีผู้บาดเจ็บรุนแรง และเสียชีวิต อย่างในกรณี กลุ่ม นปช.(เสื้อแดง) ปะทะกับกาลังทหาร และตารวจ เมื่อวันที่ ๑๑-๑๒ เมษายน ๒๕๕๓ ถือเป็น “ปฏิบัติการความรุนแรงจากมือที่มองไม่เห็น” เพราะฝ่ายที่กาลังเป็นคู่ขัดแย้งกันอยู่ คือ ฝ่ายรัฐบาล และฝ่าย นปช. ต่างไม่ยอมรับว่า เป็นฝีมือของฝ่ายตน ซึ่งเป็นเรื่องธรรมดาของคนเราย่อมไม่มีใครจะกล้ายืดอกรับผิด กับ การใช้ความรุนแรงที่ไร้มนุษยธรรมเยี่ยงนี้ และ ต่อมาฝ่ายรัฐบาลได้เรียก กลุ่มหนึ่ง ซึ่งยังไม่แน่ชัดว่าเป็นใคร ว่า “กลุ่มผู้ก่อการร้าย” ส่งผลให้ คนชั้นกลาง ที่กาลังแสดงความไม่พอใจต่อฝ่าย นปช. อยู่เป็นทุนเดิมอยู่แล้ว เกิดความ “เกลียดชังและคิดว่าเป็นเพราะ การประท้วงของ นปช.นั้นสร้างความเดือดร้อน และเป็นชนวนของการเกิดความรุนแรง” จึงเกิดเป็น “กลุ่มเสื้อหลากสี กลุ่มเสื้อสีชมพู กลุ่มเสื้อสีขาว” ออกมาเคลื่อนไหวตอบโต้กันไปมา เพราะต่างฝ่ายต่างอ้างว่าเป็นการเรียกร้องตามแนวทาง “สันติวิธี”


     สถานการณ์ความขัดแย้งที่เรื้อรังมาเกือบ ๓ ปีนั้นได้ปรากฏต่อสายตาชาวไทยและต่างชาติ ผ่านสื่อต่างๆ ส่งผลทาให้ต่างชาติขาดความเชื่อมั่นในการลงทุน ส่งผลกระทบเชิงลบต่ออุตสาหกรรมการท่องเที่ยวอย่างต่อเนื่อง สร้างความเสียต่อระบบเศรษฐกิจ และทาลายภาพลักษณ์ของเมืองพุทธที่มีการเลือกใช้ความรุนแรงในการแก้ปัญหาจนมีผู้คนล้มตาย จากเสพย์ข่าว ภาพและบทวิเคราะห์ต่างๆผ่านสื่อมากมายหลายแหล่ง วันแล้ววันเล่า คนไทยกลุ่มใหญ่ 1เองก็รู้สึกเบื่อหน่ายกับ กระบวนการแก้ไขปัญหาความขัดแย้งในสังคมที่ผ่านมา ซึ่งไม่รู่ว่า จะโทษว่าเป็นความผิดของใคร แต่ที่น่าคิด คือ ความขัดแย้งที่เกิดขึ้นตลอดระยะเวลา ๔-๕ ปีที่ผ่านมานั้น เกี่ยวข้องกับเรื่องของ อานาจ และผลประโยชน์ ของผู้ที่มีบทบาทสาคัญในกระบวนการกาหนดนโยบายสาธารณะอย่างชัดเจน ซึ่งควรแก้ด้วยกระบวนการขับเคลื่อนทางการเมืองนาการทหาร


     สิ่งที่น่าขบคิดประการหนึ่ง คือ จากอดีตจวบจนปัจจุบัน สังคมไทยมีความผูกพันธ์แบบฉันท์มิตรแบบครอบครัวและเครือญาติกันมานานภายใต้ระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นพระประมุข เราอยู่ร่วมกันได้ท่ามกลางความหลากหลายทางเชื้อชาติ ศาสนา และภาษา อย่างสงบสุขมาช้านาน แล้วเกิดอะไรขึ้นกับสังคมไทย? ความรู้สึกมั่นคง ร่มเย็น หายไปไหน? ทาไมคนไทยทะเลาะ และขัดแย้งกันด้วยเรื่องอะไร?.... หลายๆๆคาถามผุดขึ้นมาในความคิดของผู้เขียน วันแล้ว วันเล่า และมีคาถามที่ผู้เขียนให้ความสาคัญมาก คือ สถานการณ์ความขัดแย้งทางการเมืองที่กาลังสร้างความรุนแรงนี้ เกี่ยวข้องกับบทบาทผู้นาชุมชนอย่างไรบ้าง? คาถามนี้เกิดขึ้นมาจากเหตุผลสาคัญ ๓ ประการ ได้แก่ ประการแรก คือ กลุ่มคนที่เข้ามาประท้วงในกรุงเทพฯและปริมณฑลนั้น ส่วนใหญ่มาจากต่างจังหวัด ซึ่งผู้นาชุมชนมีส่วนในการระดมคนและกระตุ้นให้เกิดการมีส่วนร่วมทางการเมืองหรือไม่? ประการที่สอง ผู้นาชุมชน มีส่วนเกี่ยวข้องกับอานาจและผลประโยชน์ของนักการเมืองระดับชาติหรือไม่? และประการสุดท้าย ผู้นาชุมชนในท้องถิ่นต่างๆควรมีบทบาทในการยับยั้งและป้องกันการระดมกาลังคนเพื่อการประท้วง (ไม่ว่าจะเป็นประเด็นใดๆก็ตาม) อย่างไรบ้าง?” แล้ว คาว่า “ผู้นาชุมชน” ที่ผู้เขียนให้ความสนใจในบทความนี้ หมายถึงใคร? มีความสาคัญกับการแก้ไขปัญหาความขัดแย้งในสังคมอย่างไรบ้าง?


     ผู้นาชุมชน (Community Leaders) หมายถึง ผู้ที่ทาหน้าที่เป็นหัวหน้า ดูแลเอาใจใส่ และปกครองให้ชาวชุมชนมีความเป็นอยู่ที่ดี รวมทั้งเป็นผู้ที่เผชิญกับสถานการณ์ของความขัดแย้งในท้องถิ่นอย่างใกล้ชิดอยู่ตลอดเวลา และมีบทบาทสาคัญในการเผชิญกับปัญหาความขัดแย้งและได้ทาหน้าที่ในการจัดการความขัดแย้งมาตลอดตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน อาทิเช่น การแย่งแหล่งน้าเพื่อการเพาะปลูก การรุกที่ป่าสงวน การขัดแย้งทางการเมือง และการทะเลาะวิวาทกัน เป็นต้น จากอดีตจวบจนปัจจุบัน พบว่า ผู้นาชุมชน มักเป็นผู้ทรงอิทธิพล กล้าคิด กล้าทา หรือไม่ก็เป็นที่มีฐานะดี เพราะชาวบ้านจะได้เกรงใจ และเป็นที่เกรงขาม เมื่อ ชาวบ้านเกิดความไม่เข้าใจกัน ทะเลาะกัน หรือ ขัดแย้งกันรุนแรงจนตกลงกันไม่ได้ ก็มักจะใช้ผู้ทรงอิทธิพลในชุมชน เป็นคนกลางในการเจรจาไกล่เกลี่ย เช่น ในกรณีที่ หญิง ชาย ที่เป็นคู่รักกัน มีการทาผิดประเวณี ก็มีการเชิญผู้ใหญ่ ที่เคารพนับถือ ของทั้งสองฝ่าย มาเจรจาไกล่เกลี่ย เพื่อ ทาการขอขมา หรือ เรียกค่าเสียหาย ได้ ทาให้คนในชุมชนอยู่ร่วมกันได้อย่างสงบสุข

Article Details

How to Cite
jittasathien, supattra . (2020). การแก้ไขปัญหาความรุนแรงทางการเมืองของไทย: พบทางตันจริงหรือ?. King Prajadhipok’s Institute Journal, 8(1). Retrieved from https://so06.tci-thaijo.org/index.php/kpi_journal/article/view/244491
Section
Original Articles

References

Creighton, L. James .(2548 ). คู่มือการศึกษา การมีส่วนร่วมของประชาชนและการแก้ปัญหาความขัดแย้ง. วันชัย วัฒนศัพท์ และคณะ (แปลและเรียบเรียง). กรุงเทพฯ: สถาบันพระปกเกล้า.

Crawley, J., & Graham, K. (2002). Mediation for managers: Resolving conflict and rebuilding relationships at work. London: Nicholas Brealey.

Coffey, R. E., Cook, C. W., & Hunsaker, P. L. (1994). Management and organizational behavior. Burr Ridge, IL: Irwin.

Cook, Curtis W. and Hunsaker, Phillip L. (2001). Management and organizational behavior. Burr Ridge, IL: Irwin.

Dubrin, A.J. (2003). Essentials of management (6th ed.). Mason, OH: South-Western.

Furlong, Gary T. (2005). The Conflict Resolution Toolbox : Models and Maps for analysis diagnosis and resolving conflict . Ontario : John Wiley & Sons Canada ,Ltd.

Galtung, Johan .(1990) . Cultural Violence. Journal of Peace Research. Vol.27 No.3.

Galtung, Johan. (2000). Conflict transformation by Peaceful Means, UN: United Nations Diaster Management Training Program.

Kenton, B and Penn, S .(2009). Change ,Conflict and Community : Challenging Thought and Action. Elsevier Ltd. UK.

Kenton, Barbara and Penn, Suzanne. (2009) Change, Conflict and Community : Challenging thought and action. Singapore: Elsevier Ltd.

Webster’s Dictionary. (1967). p:308

Landau, Barbara and Landau, Daryl (2001) .From conflict to creativity (การจัดการความขัดแย้งอย่างสร้างสรรค์). (2549). นรินทร์ องค์อินทรี และ ธนิกานต์ มาฆะศิรานนท์ (แปลและเรียบเรียง). กรุงเทพฯ: เอ็กซเปอร์เน็ท.

McConnell, A. J. (1995). Mindful meditation handbook for Buddhist peacemaker. Bangkok, Thailand: SEM.

Moore, C. (1996). The mediation process: Practical strategic for resolving conflict (2nd ed.). San Francisco: Jossey-Bass.

Moorhead, G., & Griffin, R. W. (2001). Organization behavior: Managing people and organizations (6th ed.). Boston: Houghton Mifflin.

Morris, C. (2004). Managing conflict in health care settings: Principles, practices & policies. Bangkok, Thailand: Prepared for a workshop at King Prajadhikop’s Institute.

Morrill, Calvin .(1996). The Executive way: Conflict management in corporation. Chicago: The University of Chicago Press.

Van Slyke, E. J. (1999). Listening to conflict: Finding constructive solution to workplace disputes. New York: Library of Congress Cataloging-in-Publication Data.

Weeks ,Dudley (1992) .The Eight essential steps to conflict resolution : preserving relationships at work, at home, and in the community. Los Angeles : J.P. Tarcher.

กัลตุง,โยฮัน. เดชา ตั้งสีฟ้า แปล. (2550) การเปลี่ยนแปลงขับเคลื่อนความขัดแย้งด้วยสันติวิธี. กรุงเทพฯ : คบไฟ.

จอห์น แมคคอนแนล (2538). ศาสตร์และศิลป์แห่งการระงับความขัดแย้ง: คู่มือสาหรับชาวพุทธผู้ใฝ่สันติ. พระไพศาล วิสาโลและคณะ (บรรณาธิการและ แปล) กรุงเทพฯ : สถาบันวิจัยพุทธศาสตร์ มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เสมสิกขาลัย.

จุฑารัตน์ เอื้ออานวย (2548). กระบวนการยุติธรรมเชิงสมานฉันท์: การปรับกระบวนทัศน์ กระบวนการยุติธรรมไทย. กรุงเทพฯ : มูลนิธิพัฒนากระบวนการยุติธรรม.

ฉันทนา บรรพศิริโชติ. (2542). ความขัดแย้งในสังคมไทย: ช่องว่างของการรับรู้และความเข้าใจ. กรุงเทพฯ : คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ฉันทนา บรรพศิริโชติ หวันแก้ว. (2547). ความเข้าใจเบื้องต้นเกี่ยวกับสันติวิธีและธรรมชาติของความขัดแย้งในสังคมไทย. กรุงเทพฯ: สถาบันพระปกเกล้า.

ชัยวัฒน์ สถาอานันท์. (2539). สันติทฤษฎี/วิถีวัฒนธรรม.(Peace theory and cultural elements) . กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มูลนิธิโกมลคีมทอง.

ชัยวัฒน์ สถาอานันท์. (2551). อารยะขัดขืน. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : มูลนิธิโกมลคีมทอง.

ชัยเสฏฐ์ พรหมศรี. (2550). การจัดการความขัดแย้งในองค์การ (Conflict Management). กรุงเทพฯ: เอ็กซ์เปอร์เน็ท.

ชาญชัย ชัยสุขโกศล.( ม.ป.ป.) “อ่าน” สันติวิธีในสังคมไทย : แผนที่นาเที่ยวสาหรับผู้มาใหม่. เป็นส่วนหนึ่งของงานวิจัย เรื่อง “วัฒนธรรมการเมืองไทย ในส่วน สันติวิธี ในชุด โครงการวิจัยองค์ความรู้เรื่องวัฒนธรรมในประเทศไทย. สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ.

พระไพศาล วิสาโล. (2549). สันติวิธี: วิถีแห่งอารยะ. กรุงเทพฯ: มูลนิธิโกมลคีมทอง.

พระไพศาล วิสาโล. (2550). สร้างสันติด้วยมือเรา: คู่มือสันติวิธีสำหรับนักปฏิบัติการไร้ความรุนแรง. ศูนย์ศึกษาและพัฒนาสันติวิธี มหาวิทยาลัยมหิดล.

พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2522.

มัวร์, คริสโตเฟอร์ ดับเบิลยู. (2542). กระบวนการเจรจาไกล่เกลี่ยคนกลาง: ยุทธศาสตร์-การนาไปใช้ เพื่อแก้ปัญหาความขัดแย้ง (วันชัย วัฒนศัพท์, สุวิทย์ เลาหศิริวงศ์ และวงศา คงดี, ผู้แปล). ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น, มูลนิธิเอเชียและมูลนิธีวิเทศพัฒนา, สถาบันสันติศึกษา.

ยูรี, วิลเลียม. (2547). กลยุทธ์การสมานไมตรี เพื่อบรรลุสันติร่วมกัน: ที่บ้าน ที่โรงเรียน ที่ทำงานและทุกแห่งในโลก (เบญจรัตน์ แซ่ฉั่ว, ผู้แปล). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์สวนเงินมีมา.

วิศิษฐ์ วังวิญญู. (2548). สุนทรียสนทนา. กรุงเทพฯ: สำนักพิพม์สวนเงินมีมา

วันชัย วัฒนศัพท์. (2547). ความขัดแย้ง: หลักการและเครื่องมือแก้ปัญหา (พิมพ์ครั้งที่ 2). นนทบุรี: สถาบันพระปกเกล้า.

วันชัย วัฒนศัพท์. (2549). ความขัดแย้ง: ทางออกด้วยสันติวิธี. นนทบุรี: สำนักสันติวิธีและธรรมาภิบาล สถาบันพระปกเกล้า สมาคมสันติวิธีแห่งประเทศไทย.

สมศักดิ์ ศรีสันติสุข. (2550). กลไกการไกล่เกลี่ยระงับข้อพิพาท: แนวคิดการควบคุมทางสังคม (The strategies of the dispute mediation: A social control concept). วารสารการพัฒนาท้องถิ่น ปีที่ 2 ฉบับที่1 มิถุนายน – กันยายน 2550.

สันติวิถี : ยุทธศาสตร์ชาติเพื่อความมั่นคง. กรุงเทพฯ สถาบันยุทธศาสตร์ สำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ ทำเนียบรัฐบาล. พิมพ์ครั้งที่ 3 มีนาคม 2544.

เสริมศักดิ์ วิศาลาภรณ์. (2534). ความขัดแย้ง การบริหารเพื่อความสร้างสรรค์. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์ตะเกียง

โสฬส ศิริไลย์. (2548). วิธีการสนทนาแบบมนุษยสัมพันธ์มนุษย์และการเปลี่ยนวิธีคัดค้านการฟังอย่างลึกซึ้ง. นครปฐม: สำนักงานทรานส์ทีม-เครือข่ายการวิจัยบูรณาการลุ่มน้าท่าจีน-แม่กลอง

อังคณา บุญสิทธิ์. (2551). ความยุติธรรมเชิงสมานฉันท์ในท้องถิ่นไทย.

http://rescom2006.trf.or.th/display/show_colum_print.php?id_colum=1838. print : 12/11/2551

http://www.thairath.co.th/content/pol.73086

http://www.isab.go.th/dopa_isab/taksin/17/17 40.pdf ค้นเมื่อ 15 เมษายน 2553.

http://www.peace.mahidol.ac.th/th/index.php?option=com_content&task=view&id=351&Itemid=155 ค้นเมื่อ 20 เมษายน 2553.

http://www.idis.ru.ac.th/report/index.php?topic=408.0