“เจรจา เจรจา เจรจา” ทางออกของความขัดแย้งในประเทศไทยจริงหรือไม่

Main Article Content

Supanat Permpoonwiwat

Abstract

     ความขัดแย้งทางการเมืองระหว่างกลุ่ม “แนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ” (นปช.) หรือเป็นที่รู้จักกันดีในนามของคน “เสื้อแดง” กับรัฐบาลนายกอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ได้เริ่มขึ้นตั้งแต่เดือนพฤษภาคม 2551 ต่อเนื่องมาจนถึงเดือนพฤษภาคม 2553 และยังไม่มีแนวโน้มว่าจะหาทางออกกันได้อย่างไร ความขัดแย้งนี้ได้สร้างความแตกแยกให้กับคนในสังคมไทยอย่างที่ไม่เคยปรากฎมาก่อน สิ่งที่น่าเป็นห่วงและกังวลมากขึ้นคือ ความขัดแย้งได้กลายเป็นความรุนแรงและมีการพัฒนายกระดับของความรุนแรงเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยเห็นได้จากการมีผู้เสียชีวิตและได้รับบาดเจ็บจานวนมาก สิ่งเหล่านี้ส่งผลกระทบโดยตรงต่อการดารงชีวิต ความเป็นอยู่ของประชาชน และความมั่นคงทุกด้าน โดยเฉพาะอย่างยิ่งสถาบันหลักของชาติ
แม้ว่าคนส่วนใหญ่ในสังคมไทยจะส่งเสียงเรียกร้องให้ทั้งรัฐบาลและกลุ่มคนเสื้อแดงหันหน้ามาพูดคุยกันเพื่อยุติความขัดแย้งและความรุนแรงที่เกิดขึ้น แต่เสียงที่พูดออกมาว่าอย่างเช่น “อยากเห็นการเจรจา” “หันหน้ามาคุยกัน” โดยมุ่งหวังว่าทุกฝ่ายจะนาปัญหาที่แท้จริงมาสู่โต๊ะเจรจาในรอบที่ 3 และรอบต่อๆ ไป ก็ยังไม่มีท่าทีว่าจะเกิดขึ้นภายในเร็ววัน หรือเป็นเพราะว่าการเจรจา 2 ครั้งที่ผ่านมาไม่ใช่ทางออกของการแก้ปัญหาในขณะนี้ หรือเป็นเพราะการพบกัน 2 ครั้งที่ผ่านมาเมื่อวันที่ 28 และ 29 มีนาคม 2553 ไม่ได้เรียกว่าการเจรจาแต่เป็นการต่อรองเพื่อตอบสนองจุดยืนของตัวเองเท่านั้น หรือเป็นเพราะความรุนแรงและความเสียหายยังไม่มากพอที่ทุกฝ่ายจะหันหน้ามาเจรจาพูดคุยกัน และ หรือเป็นเพราะว่าเราเป็นเพียงประชาชนคนหนึ่งที่ไม่ได้มีส่วนได้ส่วนเสียกับความขัดแย้งที่เกิดขึ้นจึงไม่ควรเข้าไปเกี่ยวข้อง คาถามเหล่านี้ต้องการคาตอบ โดยเฉพาะคาตอบต่อคาถามที่ว่า “การเจรจาจะเป็นทางออกของความขัดแย้งในประเทศไทยได้จริงหรือไม่?”


     คำถามและคาตอบเหล่านี้เป็นสิ่งท้าท้ายกับคนในสังคมไทยทุกคนที่ต่างจับจ้องและเฝ้ามองดูสถานการณ์ความขัดแย้งและความรุนแรงกันอย่างใกล้ชิด โดยเฉพาะนักสันติวิธีที่พยายามเรียกร้องและต้องการพิสูจน์ว่าการพูดคุยกันเป็นวิธีการแก้ปัญหาที่ดีและยั่งยืนกว่าการใช้ความรุนแรง ซึ่งแนวคิดและวิธีการนั้นตรงข้ามกันอย่างสิ้นเชิง ดังนั้น เราในฐานะพลเมืองไทยคนหนึ่งคงต้องหันมาช่วยกันหาคาตอบเหล่านี้ และหากเห็นว่าการเจรจาไกล่เกลี่ยเป็นหนทางหนึ่งที่ดี พลเมืองคนไทยจะมีส่วนร่วมในการผลักดันให้เกิดการพูดคุยกันอย่างไรได้บ้าง ทั้งนี้เพื่อนาความสันติสุขสถาพรให้กลับคืนสู่สังคมไทยต่อไป

Article Details

How to Cite
permpoonwiwat , supanat . (2020). “เจรจา เจรจา เจรจา” ทางออกของความขัดแย้งในประเทศไทยจริงหรือไม่. King Prajadhipok’s Institute Journal, 8(1). Retrieved from https://so06.tci-thaijo.org/index.php/kpi_journal/article/view/244496
Section
Original Articles