ทฤษฎีเกมในรูปแบบความขัดแย้งในสังคมไทย

Main Article Content

Attakrit Patchimnan

Abstract

     การศึกษาวิชารัฐศาสตร์ในปัจจุบันโดยเฉพาะวิชา การเมืองและการปกครองเปรียบเทียบโดยเน้นการวิเคราะห์การปกครองภายใต้ระบอบประชาธิปไตยมีความสาคัญอย่างมากในการทาความเข้าใจถึงปัญหาที่นามาสู่ความแตกต่างในด้านการออกแบบนโยบายต่างๆรวมถึงการพัฒนาระบบเศรษฐกิจที่แตกต่างกันในกลุ่มประเทศต่างๆ Burkhart Ross E.; Michael S. Lewis-Beck (1998), Anne O. Krueger Root, Hilton L. (1994) และ Mesquita De Bueno Bruce (2000) ได้อธิบายระบบสถาบันทางการเมืองและระบบวัฒนธรรมการเมืองโดยทั่วไปที่เป็นตัวบ่งชี้ถึงความสัมพันธ์ของระบบพรรคการเมือง กลุ่มผลประโยชน์ การเลือกตั้ง และ ผลลัพธ์ของรูปแบบนโยบาย รวมถึง แนวคิดการบริหารประเทศในรูปแบบของระบบสถาบันภายใต้ระบอบประชาธิปไตย โดย Arend Lijphart (1999) ได้มุ่งเน้นที่จะศึกษาการดาเนินการนโยบายต่างๆที่สาคัญใน 36 ประเทศโดย การเปรียบเทียบระบบพรรคการเมือง กลุ่มผลประโยชน์ และ การเลือกตั้ง ภายใต้เงื่อนไข Westminster Model และ Consensus model ในการศึกษาการพัฒนาความสัมพันธ์ของFormal Institutions และ Informal Institutions ซึ่งความสัมพันธ์เหล่านี้จะนาไปสู่ความเข้าใจในหลักเกณฑ์และความแตกต่างของนโยบายต่างๆ นอกจากนั้นการวิจัย ของ Pier Carlo P (1997), North Douglass C., Barry R. Weingast (1989), และ Jess Benhabib and Adam Przeworski (2006) บ่งชี้ถึงความสาคัญของระบบพรรคการเมืองที่เป็นส่วนหนึ่งของสถาบันแบบทางการ(Formal Institutions)และมีความสัมพันธ์กับ วัฒนธรรม เชื้อชาติ และ ศาสนา หรือ สถาบันแบบไม่ทางการ(Informal Institutions) ได้อย่างเด่นชัด เนื่องมาจาก ความสัมพันธ์ดังกล่าวเป็นตัวบ่งชี้ถึงการขับเคลื่อนของระบบสถาบันโดยรวม (Institutions) ในการการพัฒนาระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตยผ่านกระบวนการที่ก่อให้เกิดการเจรจาในรูปแบบการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่าที่สุด (Bargaining on Transaction Costs)โดยเฉพาะมุมมองของกลุ่มประเทศกาลังพัฒนาและด้อยพัฒนา เนื่องมาจากการขับเคลื่อนการพัฒนาระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตยเป็นสัญญาณในการพัฒนาทางด้านเศรษฐกิจและสังคมอย่างยั่งยืน (Long-Term Economic Growth by Democratic Transition) เช่น ปัจจัยของระบบการเลือกตั้งและระบบพรรคการเมืองที่เอื้ออานวยให้กับพรรคการเมืองในการดาเนินนโยบายที่เกี่ยวข้องกับการปฏิรูประบบราชการแต่ในทางตรงกันข้ามความสัมพันธ์ที่เกิดขึ้นอาจนามาสู่ความถดถอยในการขับเคลื่อนนโยบายต่างๆ เช่น ปัญหาความขัดแย้งในทางการเมือง และ สังคม ที่เริ่มก่อตัวจากความบกพร่องของระบบพรรคการเมือง หรือ นโยบายต่างๆที่เอื้อผลประโยชน์ และในที่สุดทาให้เกิดความเสียหายแก่ประเทศชาติและกับความเชื่อมั่นในการลงทุนของต่างชาติ โดยเฉพาะผลจากการรัฐประหารที่ผ่านมาหลายครั้งในประเทศไทย


     ปัจจุบันปัญหาดังกล่าวนี้มีความเชื่อมโยงกันของปัจจัยในระบบสถาบันโดยรวม เช่น ความขัดแย้งพื้นฐานของกฎกติกาทางการเมืองที่เกิดจากความเชื่อมโยงกันระหว่างการขาดกฎหมายที่เข้มงวด และการแสวงหาผลประโยชน์จากนโยบายของพรรคการเมือง ซึ่งความขัดแย้งขั้นพื้นฐานในด้านกฎกติกาทางการเมืองเหล่านี้นามาสู่การขาดประสิทธิภาพ (Pareto Inefficiency) ในการใช้นโยบายทางด้านจุลภาคและ มหภาคต่างๆ ที่จะใช้ในการขับเคลื่อนในการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม ผลกระทบของความขัดแย้งนี้ ได้สะท้อนถึงการปกครองระบอบประชาธิปไตยแบบครึ่งใบ หรือ ระบอบประชาธิปไตยแบบไม่เต็มใบ อย่างชัดเจน โดยมีรัฐธรรมนูญเป็นแค่สัญลักษณ์ในรูปแบบ Consensus เท่านั้นและไม่ได้บ่งชี้ถึงความเป็นประชาธิปไตยแบบสมบูรณ์


     ดังนั้นบทความนี้มีวัตถุประสงค์ที่มุ่งเน้นการศึกษาจากทฤษฎีเกมในทางเศรษฐศาสตร์ และ รัฐศาสตร์ เพื่อที่จะหากรอบแนวคิด เงื่อนไข และความสัมพันธ์ของความขัดแย้งพื้นฐานที่เกิดขึ้นจากความสัมพันธ์เชิงลึกของระบบพรรคการเมือง หรือ Formal Institution และระบบอุปถัมภ์ หรือ Informal Institution เช่น ปัญหาความขัดแย้งทางการเมืองที่เกิดระหว่างผู้ที่สนับสนุนระบอบทักษิณ และกลุ่มที่ต่อต้านระบอบทักษิณโดยระบอบทักษิณก่อให้เกิดการเอื้อผลประโยชน์ให้แก่พวกพ้อง ดังนั้น ถ้าจะแก้ที่ปัญหาทางการเมืองทางวัฒนธรรมและการเปลี่ยนระบบการเลือกตั้งอาจไม่ ใช่สิ่งที่จะแก้ไขได้ง่ายในระยะสั้น เนื่องมาจากพฤติกรรมของพรรคการเมือง ข้าราชการประจา องค์กรอิสระ และ อาจรวมถึง ตุลาการ มีความเชื่อมโยงกับความสัมพันธ์กับ ทางด้านวัฒนธรรม ที่มีมานาน การหาวิธีการแก้ปัญหาในทางปฏิบัติเป็นประเด็นที่ควรนามาพิจารณา เนื่องมาจากปัญหาที่เกิดขึ้นไม่สามารถใช้แนวทางแก้ปัญหาโดยใช้ทฤษฎีโดยตรง แต่ต้องเอาแนวคิดทางทฤษฎีที่เกิดขึ้นใหม่มาคิดอย่างรอบคอบ หรือต้องคิดแนวทางใหม่ๆ ดังนั้นจึงมีความสาคัญอย่างยิ่งที่ต้องสร้างกฎกติกาที่เหมาะสมโดยสร้างกฎกติกาภายใต้การปฏิรูปมาตราต่างๆในรัฐธรรมนูญนิยมใหม่ที่มีการควบคุมปัญหาของพฤติกรรมในโครงสร้างทางวัฒนธรรมซึ่งเอื้อประโยชน์ โดยเฉพาะกลุ่ม พรรคการเมือง และ ข้าราชการประจาต่างๆ ที่นาไปสู่สังคมของการคอรัปชั่นเชิงนโยบายในรูปแบบที่ซับซ้อน (Rent-seeking Behaviors) อย่างชัดเจน ตัวอย่างเช่น การปฎิรูปรูปแบบของโครงสร้างทางวัฒนธรรมในเชิงอุปถัมภ์ ภายใต้สภาวะสินน้าใจที่เกิดขึ้นกับประเทศที่กาลังพัฒนาและด้อยพัฒนา โดยมีกรอบการคิดและนโยบายแบบที่มีเงื่อนไขอย่างถูกต้องและชัดเจน โดยบทความนี้ไม่มีจุดประสงค์ในการหาวิธีที่จะแก้ปัญหาในสังคมไทยแต่มีจุดประสงค์ที่จะเน้นการใช้กรอบและแนวทางทฤษฎีสมัยใหม่ในการวิเคราะห์ความขัดแย้งในรูปแบบของสมการและสร้างปัจจัยในการอธิบายความล้มเหลวของการเจรจาและข้อตกลงที่เกิดขึ้นโดย บทความแบ่งการอธิบายและการวิเคราะห์ดังนี้
     1) การอธิบายต้นเหตุปัญหาความขัดแย้งและกรอบการคิดทฤษฎีความพึงพอใจ
     2) การวิเคราะห์ปัจจัยหรือตัวแปรที่ก่อให้เกิดความขัดแย้งพื้นฐานของกฎกติกาทางการเมืองในรูปแบสมการ และ
     3) ความเข้าใจกรอบการคิดทฤษฎีเกมภายใต้ความขัดแย้งพื้นฐานในสังคมไทย

Article Details

How to Cite
patchimnan, attakrit . (2020). ทฤษฎีเกมในรูปแบบความขัดแย้งในสังคมไทย. King Prajadhipok’s Institute Journal, 8(1). Retrieved from https://so06.tci-thaijo.org/index.php/kpi_journal/article/view/244497
Section
Original Articles

References

Anne O. Krueger,”Why Trade Liberalization is good for Growth”, The Economic Journal, Vol. 108, No. 450. (Sep., 1998), pp. 1513-1522.

Arend Lijphart, Patterns of Democracy: Government Forms and Performance in Thirty-six Countries. New Haven: Yale University Press, 1999.

Burkhart Ross E.; Michael S. Lewis-Beck, Comparative Democracy: The Economic Development Thesis, The American Political Science Review, Vol. 88, No. 4, (Dec., 1994), pp. 903-910.

Burton A. Abrams and Kenneth A. Lewis, “A Median-Voter Model of Economic Regulation”, Public Choice, Vol. 52, No. 2 (1987), pp. 125-142.

James D. Morrow (1994) Game Theory for Political Scientists, Princeton University Press, pp. 1-365.

Jess Benhabib and Adam Przeworski, “The Political Economy of Redistribution under Democracy”, Economic Theory, Vol. 29, No. 2, Symposium in Honor of Mukul Majumdar (Oct., 2006), pp. 271-290.

North, Douglass C. and Barry R. Weingast, " Constitutions and Commitments: The Evolution of Institutions Governing Public Choice in Seventeenth-Century England ," The Journal of Economic History, 49:4 (December 1989) pp. 803-832.

Pier Carlo P., (1997), Regional Agreement as club: The European Case, The Political Economy of Regionalism, Columbia University Press, New York, pp. 107- 133.

Root, Hilton L., Mesquita De Bueno Bruce (2000), Governing for Prosperity: When Bad Economics is Good Politics, Yale University Press/ New Haven and London, pp. 1-16.