ข้อเสนอใหม่ของการศึกษาบทบาทของทหารกับความขัดแย้งทางการเมือง

Main Article Content

Natchapat Ountrongchit

Abstract

     ในการทาความเข้าใจสถานการณ์ความแตกแยกและความขัดแย้งของบ้านเมืองที่เกิดขึ้นในปัจจุบันนี้ เมื่อพูดถึงคาว่า “ทหาร” จะต้องมีการผนวกกับคาวิเศษณ์เพื่อขยายฝ่ายข้างของทหารนั้น เช่น แตงโม มะเขือเทศ บูรพาพยัคฆ์ วงศ์เทวัญ ทหารพราน หน่วยรบพิเศษ ฯลฯ เพราะเมื่อพูดถึงทหาร เราเริ่มไม่แน่ใจว่ากาลังพูดถึงทหารฝ่ายไหน และปฏิเสธได้ยากว่า ความบานปลายของปัญหาความขัดแย้งในปัจจุบันนั้น ส่วนหนึ่งเป็นเพราะทหารมีหลายสาย เพราะเหตุการณ์การปะทะกันที่สี่แยกคอกวัว, การระเบิดในหลายจุดในกรุงเทพเป็นระยะๆ ตั้งแต่วันที่ 13 มีนาคม 2553 หรือการปะทะกันในวันที่ 10 และ 28 เมษายน พ.ศ. 2553 ระหว่างฝ่าย นปช. และฝ่ายรัฐบาล เป็นสิ่งที่ค่อนข้างพิสูจน์ได้ชัดเจนว่า ผู้ที่เจนจัดในการใช้อาวุธทาลายล้างสูงเช่นนี้น่าจะเป็นทหาร เพราะคนทั่วไปคงไม่ได้รับการอบรมมาเป็นพิเศษให้ใช้อาวุธเหล่านี้ เพื่อที่จะทาความเข้าใจเหล่ากลุ่มของทหาร


     ปรากฎการณ์แบ่งสีของทหารค่อนข้างเป็นเรื่องใหม่ในความเข้าใจของผู้เขียน ผู้เขียนจึงย้อนกลับไปวิเคราะห์ว่า ทหารแบ่งเป็นสายตั้งแต่เมื่อใด และในการศึกษาหาข้อมูลดังกล่าว ผู้เขียนได้ค้นพบข้อมูลอันน่าสนใจว่า แท้จริงแล้วทหารแบ่งเป็นสายมานานแล้ว และในระยะเวลาที่ผ่านมา ทหารได้มีการต่อสู้เชิงอานาจเพื่อแย่งชิงผลประโยชน์ในสถาบันทหารเอง ซึ่งสะท้อนกลับไปว่า ความเข้าใจของผู้เขียนจากการอ่านหนังสือหลายๆ เล่มว่า ทหารเป็นสถาบันการเมืองที่เข้มแข็ง มีเอกภาพ และมีบทบาทในการแทรกแซงการเมืองเพื่อคุ้มครองบ้านเมืองให้รอดพ้นจากความวุ่นวายนานับประการนั้นเป็นเพียงความเข้าใจหนึ่งซึ่งอาจจะไม่ถูกต้องตามความเป็นจริงนัก


     ภายหลังการศึกษาเปรียบเทียบจากข้อมูลทางประวัติศาสตร์จากหนังสือหลายเล่ม ผู้เขียนพบว่าจริงๆ แล้วทหารไม่ได้มีเอกภาพอย่างที่คิด ด้วยเหตุนี้จึงนามาสู่การย้อนกลับไปพิเคราะห์ทฤษฎีที่กล่าวว่าทหารเป็นองค์กรการเมืองที่เป็นเอกภาพ มีความเป็นสถาบัน (ในขณะที่สถาบันการเมืองอื่นนั้นมีความเป็นสถาบันต่ากว่า) เพื่อนามาใช้อธิบายการต่อสู้ระหว่างสถาบันทหารกับสถาบันนอกระบบราชการนั้น เป็นคนละเรื่องเดียวกัน เพราะเมื่อศึกษาถึงการรัฐประหารและการกบฏหลายครั้งในเมืองไทย ที่ถึงแม้ว่า “ทหาร” จะเป็นผู้ทา แต่การก่อการเหล่านั้นมาจากทหารต่างกลุ่มกัน การต่อสู้ของทหารต่างกลุ่มกันในทางการเมืองนั้นน่าจะสะท้อนสภาพของสถาบันทหารได้ดีกว่าการมองว่า สถาบันทหารคือสถาบันหนึ่งที่มาแทรกแซงการเมือง (ในระบอบประชาธิปไตย) ดังเช่นงานศึกษาอื่นๆ ได้ว่าไว้ในการวิเคราะห์และอภิปรายผลจากการศึกษานี้ ผู้เขียนได้แบ่งแนวทางการอภิปรายไว้ 2 ส่วน โดยส่วนแรกเป็นข้อมูลทางประวัติศาสตร์ว่า ที่ผ่านมาทหารไทยได้ต่อสู้กันเชิงอานาจ และนาไปสู่การปฏิวัติรัฐประหารอย่างไรบ้าง ในส่วนที่สองเป็นส่วนการถกเถียงเชิงทฤษฎี เพื่อให้เห็นว่าที่มาที่ไปของแนวคิดทฤษฎีที่วิเคราะห์การเมืองไทยว่าเป็นอย่างไร และเพราะเหตุใดแนวคิดทฤษฎีเหล่านี้จึงถูกนามาอธิบายบทบาทของทหารในการเมืองไทยในลักษณะตัวร้ายที่คอยแทรกแซงการเมืองไทย

Article Details

How to Cite
ountrongchit, natchapat . (2020). ข้อเสนอใหม่ของการศึกษาบทบาทของทหารกับความขัดแย้งทางการเมือง. King Prajadhipok’s Institute Journal, 8(1). Retrieved from https://so06.tci-thaijo.org/index.php/kpi_journal/article/view/244502
Section
Original Articles

References

กนลา สุขพานิช-ขันปราบ และสุจิต บุญบงการ (2529). “ทหารกับการพัฒนาทางการเมืองไทย”. จุลสารวิชาการว่าด้วยทหารไทย, 1: 3.

ชัยอนันต์ สมุทวณิช (2525). ยังเติร์กกับทหารประชาธิปไตย การวิเคราะห์บทบาททหารในการเมืองไทย. กรุงเทพ: บรรณกิจ.

ปณิธาน วัฒนายากร (2549). บทบาทกองทัพในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้หลังการสิ้นสุดของสงครามเย็ฯ. โครงการอาณาบริเวณศึกษา 5 ภูมิภาค. กรุงเทพ: สานักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย.

ผาสุก พงษ์ไพจิตร และคริส เบเกอร์ (2539). เศรษฐกิจการเมืองไทยสมัยกรุงเทพ. เชียงใหม่: ซิลค์เวอร์ม.

มานะ รัตนโกเศศ, พล.ต. (2523) การใช้กำลังทหารเพื่อพัฒนาการเมืองในประเทศไทย. เอกสารวิจัยส่วนบุคคล วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร.

สุจิต บุญบงการ(2549), บทบาทกองทัพในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้หลังการสิ้นสุดของสงครามเย็น. โครงการอาณาบริเวณศึกษา 5 ภูมิภาค. กรุงเทพ: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย.

นรนิติ เศรษฐบุตร. (2543). กลุ่มราชครูในการเมืองไทย (ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

Anek Laothammathus. (1991). Business Associations and the New Political Economy. Singapore: Westview Press.

Fred Riggs. (1966). Thailand: The Modernization of a Bureaucratic Polity. By Fred W. Riggs. Honolulu: East-West Center Press.

S.E. Finer (1976). The Man on Horseback: the Role of the Military in Politics. 2nd Enlarged edition.

Samuel P. Huntington (1968). Political Order in Changing Societies. ew Haven and London: Yale University Press.

Samuel P. Huntington (1970). Authoritarian Politics in Modern Society: The Dynamics of Established One-Party Systems. New York: Basic Books. Inc.,.