เศรษศาสตร์การเมืองว่าด้วยเรื่องประชาธิปไตยกับความขัดแย้งระหว่างชนชั้น: บทวิจารณ์หนังสือ Economic Origins of Dictatorship and Democracy

Main Article Content

Stithorn Thananithichot

Abstract

     ประชาธิปไตยถือเป็นหัวข้อที่มีการศึกษามากที่สุดหัวข้อหนึ่งในวงวิชาการด้านสังคมศาสตร์ โดยเฉพาะตั้งแต่ช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่สองเป็นต้นมา นักรัฐศาสตร์และนักเศรษฐศาสตร์การเมืองจานวนมากต่างให้ความสนใจกับการพัฒนาแนวคิดเพื่อตอบคาถาม เช่น กระบวนการสถาปนาระบอบประชาธิปไตยเริ่มเกิดขึ้นเมื่อไร? อย่างไร? และทาไมหลายประเทศจึงให้ความสาคัญกับกระบวนการนี้? จนกระทั่งเมื่อสงครามเย็นสิ้นสุดลงภายหลังการล่มสลายของสหภาพโซเวียตและการเกิดขึ้นของประเทศประชาธิปไตยใหม่ในทั่วทุกมุมโลก นักวิชาการจึงได้หันไปให้ความสาคัญกับคาถามเป็นต้นว่า ประชาธิปไตยคืออะไร? ทาอย่างไรประชาธิปไตยที่มีการสถาปนาขึ้นมาในประเทศต่างๆ จะมีความยั่งยืนและมีคุณภาพ? หนังสือ Economic Origins of Dictatorship and Democracy ถือเป็นอีกหนึ่งความพยายาม (ร่วมกัน) ของนักรัฐศาสตร์และนักเศรษฐศาสตร์การเมืองในการตอบคาถามเหล่านี้


     ทำไมบางประเทศจึงมีการปกครองระบอบประชาธิปไตยที่เข้มแข็ง สามารถจัดให้มีการเลือกตั้งที่ประชาชนมีอิสระในการตัดสินใจได้อย่างสม่าเสมอ รัฐบาลและนักการเมืองมีสานึกรับผิดชอบต่อประชาชน ในขณะที่บางประเทศกลับมีระบอบการปกครองในลักษณะตรงกันข้าม? ดารอน เอซโมกลู (Daron Acemoglu) ศาสตราจารย์ด้านเศรษฐศาสตร์แห่งสถาบันเทคโนโลยีแมสซาชูเสตส์ (Massachusetts Institute of Technology, MIT) และเจมส์ โรบินสัน (James Robinson) ศาสตราจารย์ด้านรัฐศาสตร์แห่งมหาวิทยาลัยฮาวาร์ด (Harvard University) อธิบายว่าประชาธิปไตยจะเกิดขึ้นได้หรือไม่ และประชาธิปไตยจะกลายเป็นระบอบการปกครองที่เข้มแข็งยั่งยืน (consolidate) หรือจะอ่อนแอล้มครืนเพียงแค่ช่วงสั้นๆ ล้วนเป็นผลมาจากความสัมพันธ์ของคนสองกลุ่ม กลุ่มหนึ่งคือ“ประชาชน” (citizens) ผู้มีแนวโน้มว่าจะสนับสนุนประชาธิปไตยเพราะเป็นระบอบการปกครองที่ให้ความสาคัญกับคนส่วนใหญ่มากกว่าการปกครองระบอบอื่นๆ อีกกลุ่มหนึ่งคือ “ชนชั้นนา” (elite) ผู้ต้องการรักษาอานาจในการกาหนดทิศทางและผลประโยชน์ของประเทศไว้กับตนเอง ระบอบการปกครองที่ไม่เป็นประชาธิปไตยหรือเป็นระบอบเผด็จการ (dictatorship) ในความหมายของเอซโมกลูและโรบินสันจึงเป็นระบอบการเมืองที่ปกครองโดยชนชั้นนา ในขณะที่ระบอบการปกครองที่เป็นประชาธิปไตยคือระบอบที่ปกครองโดยประชาชนเสียงข้างมากซึ่งประกอบขึ้นจากคนหลากหลายกลุ่ม/ชนชั้นในสังคม

Article Details

How to Cite
thananithichot, stithorn . (2020). เศรษศาสตร์การเมืองว่าด้วยเรื่องประชาธิปไตยกับความขัดแย้งระหว่างชนชั้น: บทวิจารณ์หนังสือ Economic Origins of Dictatorship and Democracy. King Prajadhipok’s Institute Journal, 8(1). Retrieved from https://so06.tci-thaijo.org/index.php/kpi_journal/article/view/244503
Section
Original Articles

References

Berman, Sheri. 1997. “Civil society and political institutionalization.” American Behavioral Scientist, 40 (5), pp. 62-74.

Diamond, Larry, and Leonardo Morlino. 2005. Assessing the quality of democracy. Baltimore: Johns Hopkins University Press, 2005.

Grugel, Jean. 2001. Democratization: A Critical Introduction. London: Palgrave Macmillan.

O’Donnell, Guillermo. 2004. “Human Development, Human Rights, and Democracy,” pp. 9-92. In The quality of democracy: theory and applications, Guillermo O'Donnell, Jorge Vargas Cullell, and Osvaldo M. Iazzetta (Eds.). Notre Dame, Indiana: University of Notre Dame Press.

O'Donnell, Guillermo, Philippe C. Schmitter and Laurence Whitehead. 1986. Transitions from authoritarian rule: Comparative perspectives. Baltimore: Johns Hopkins University Press.

Putnam, Robert. 2000. Bowling alone. New York: Simon and Schuster.

Roberts, Andrew. 2009. The quality of democracy in Eastern Europe: Public preferences and policy reforms. New York: Cambridge University Press.

Smith, Graham. 2009. Democratic innovations: Designing institutions for citizen participation. New York: Cambridge University Press.