สถาบันตุลาการไทย : ความท้าทายในการแสดงบทบาทอานาจหน้าที่ ในยุคปฏิรูปการเมือง กับความเชื่อมั่นของสังคม
Main Article Content
Abstract
เมื่อกล่าวถึงอานาจอธิปไตย (Sovereignty) คิดว่าคนส่วนใหญ่คงนึกถึงทฤษฎีแบ่งแยก (การใช้)อานาจอธิปไตย หรือ Separation of Power ของมองเตสกิเอ (Montesquieu) ซึ่งถูกอ้างอิงทั้งในการศึกษาอบรม รวมทั้งระบบการเมืองการปกครองของหลายประเทศ โดยเฉพาะประเทศเสรีประชาธิปไตยทั้งหลาย
การนาหลักการตามทฤษฎีแบ่งแยก(การใช้)อานาจอธิปไตยมาใช้นั้น มีการประยุกต์เพื่อให้สอดคล้องกับบริบทของแต่ละประเทศ แต่ละยุคแต่ละสมัย โดยเป็นที่ทราบกันดีว่าสหรัฐอเมริกานั้น มีการแบ่งแยก(การใช้)อานาจอธิปไตย แบ่งแยกองค์กรผู้ใช้อานาจอธิปไตยออกเป็น 3 ฝ่าย คือ ฝ่ายนิติบัญญัติ ฝ่ายบริหาร และฝ่ายตุลาการ ทั้งสามฝ่ายแบ่งแยกจากกันอย่างเด็ดขาด เรียกระบบการปกครองแบบนี้ว่าเป็น “ระบบประธานาธิบดี” ในขณะที่สหราชอาณาจักรนั้น อานาจอธิปไตยถูกแบ่งแยกออกเป็น 3 ฝ่าย เช่นเดียวกัน แต่มิได้แบ่งแยกองค์กรผู้ใช้อานาจออกจากกันอย่างเด็ดขาด โดยเฉพาะ อย่างยิ่งฝ่ายนิติบัญญัติและฝ่ายบริหารมีความสัมพันธ์เชื่อมโยงกัน กล่าวคือ รัฐบาลซึ่งเป็นองค์กรผู้ใช้อานาจบริหารนั้น มีที่มาจากรัฐสภา โดยที่รัฐสภามีอานาจให้ความเห็นชอบผู้ที่จะมาใช้อานาจบริหาร ดังนั้น ฝ่ายบริหารต้องมีความรับผิดชอบต่อฝ่ายนิติบัญญัติ การบริหารราชการแผ่นดินต้องได้รับความไว้วางใจจากฝ่ายนิติบัญญัติ นอกจากนี้ ยังมีมาตรการและกลไกเพื่อการตรวจสอบและถ่วงดุล (Check and balance) ซึ่งกันและกันด้วย เราเรียกระบบการปกครองนี้ว่า “ระบบรัฐสภา”
Article Details
@ 2020 King Prajadhipok's Institute The Government Complex Commemorating All Right Reserved.
References
พิเชษฐ เมาลานนท์, นิลุบล ชัยอิทธิพรวงศ์ และพรทิพย์ อภิสิทธิวาสนา. (2550). ตุลาการภิวัตน์ (คันฉ่องส่องตุลาการไทย) ฉบับ “ตุลาการตีความข้ามตัวบท & ตุลาการวางนโยบายสาธารณะ”. กรุงเทพฯ : มูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติ (มสช.).
บวรศักดิ์ อุวรรณโณ. (2546). ภาพรวมของรัฐธรรมนูญ และรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540. นนทบุรี : โรงพิมพ์คลังวิชา.
สถาบันพระปกเกล้า. (2544). รายงานผลการสำรวจความคิดเห็นของประชาชน. นนทบุรี : ผู้แต่ง.
สถาบันพระปกเกล้า. (2545). รายงานผลการสำรวจความคิดเห็นของประชาชน. นนทบุรี : ผู้แต่ง.
สถาบันพระปกเกล้า. (2546). รายงานผลการสำรวจความคิดเห็นของประชาชนต่อการทำงานของรัฐสภา รัฐบาล องค์กรอิสระ และประเด็นอื่นๆ พ.ศ.2546. นนทบุรี : ผู้แต่ง.
สถาบันพระปกเกล้า. (2547). รายงานผลการสำรวจความคิดเห็นของประชาชนต่อการทำงานของรัฐสภา รัฐบาล องค์กรอิสระ และประเด็นอื่นๆ พ.ศ. 2547. นนทบุรี : ผู้แต่ง.
สถาบันพระปกเกล้า. (2549). รายงานผลการสำรวจความคิดเห็นของประชาชนเกี่ยวกับความพึงพอใจต่อการบริการสาธารณะและการทำงานของหน่วยงานต่างๆ พ.ศ. 2549 (ทั่วราชอาณาจักร). นนทบุรี : ผู้แต่ง.
สถาบันพระปกเกล้า. (2551). รายงานผลการสำรวจความคิดเห็นของประชาชนเกี่ยวกับความพึงพอใจต่อการบริการสาธารณะและการทำงานของหน่วยงานต่างๆ พ.ศ. 2550. นนทบุรี : ผู้แต่ง.
สถาบันพระปกเกล้า. (2551). รายงานผลการสำรวจความคิดเห็นของประชาชนเกี่ยวกับความพึงพอใจต่อการบริการสาธารณะและการทำงานของหน่วยงานต่างๆ พ.ศ. 2551. นนทบุรี : ผู้แต่ง.
อิสสระ นิติทัณฑ์ประภาศ. (2540). เรียนรู้เรื่องศาลปกครองอย่างคนธรรมดา. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์วิญญูชน.
เกษียร เตชะพีระ. (17 มิถุนายน 2549). การเมืองและสังคมไทยร่วมสมัย ความเสี่ยงของตุลาการภิวัตน์ และย้อนรอยปฎิญญาฟินแลนด์.
นงนุช สิงหเดชะ. (17 กรกฎาคม 2551). อลังการตุลาการภิวัตน์.มติชน. น. 6.
บรรณาธิการ. (1 มิถุนายน 2549). ธีรยุทธ บุญมี ชู ตุลาการภิวัตน์ แก้วิกฤต-ปฏิรูปการเมือง. มติชนรายวัน, น.2
บรรณาธิการ. (19 สิงหาคม 2551). ว. วชิระเมธี ชี้ตุลาการภิวัตน์คือธรรมาธิปไตย. คม ชัด ลึก, น.1.
พิเชษฐ เมาลานนท์ และนิลุบล ชัยอิทธิพรวงศ์. (28 กุมภาพันธ์ 2551). “ตุลาการภิวัตน์” กับภูมิคุ้มกันคอร์รัปชั่น.
ไทย. (6 สิงหาคม 2551). ตุลาการภิวัตน์ใต้ระบอบพันธมิตร.
http://www.nidambe11.net/ekonomiz/2006q2/2006june01p3.htm
http://tnews.teenee.com/politic/3422.html
http://www.arayachon.org/article/20080806/582
http://www.newpoliticsparty.net/article/79-judicialization/106-2009-07-15-02-27-28
http://law.siamhrm.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=15
http://talk.mthai.com/topic/22098
http://www.thaijusticereform.com/index.php?option=com_frontpage&Itemid=1