การประยุกต์ใช้แนวคิดการอภิบาลผ่านความร่วมมือ ในการป้องกัน และปราบปรามการคอร์รัปชัน

Main Article Content

Sataporn Roengtam
Apichai Puntasen

Abstract

     คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (คณะกรรมการ ป.ป.ช.) เป็นองค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 ตลอดจนรัฐธรรมนูญ พุทธศักราช 2550 (ฉบับปัจจุบัน) มีภาระหน้าที่ในการตรวจสอบการใช้อานาจรัฐป้องกันและปราบปรามการทุจริตที่มีหน้าที่ในการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในวงราชการและการเมือง และมีกฎหมายกาหนดให้คณะกรรมการ ป.ป.ช. ต้องดูแลและดาเนินการต่อปัญหาการทุจริตทั้งในระดับชาติและท้องถิ่น ซึ่งครอบคลุมขอบข่ายงานที่กว้างขวางและมีปริมาณงานที่ค่อนข้างมาก


     นอกจากนี้ งานทางด้านปราบปรามและการตรวจสอบพฤติกรรมการทุจริต ยังมิได้มีเพียงคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติองค์กรเดียว แต่ยังมีองค์กรอิสระอื่นที่มีอานาจหน้าที่ในการตรวจสอบเรื่องดังกล่าวด้วย เช่น คณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน (ส.ต.ง.) คณะกรรมการ การเลือกตั้ง (ก.ก.ต.) ผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภา ศาลปกครอง คณะกรรมการสิทธิมนุษยชน แห่งชาติ ฯลฯ และองค์กรต่างๆ ในภาครัฐ เช่น สานักงานอัยการสูงสุด สานักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน กรมสอบสวนคดีพิเศษ สานักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน คณะกรรมการข้อมูลข่าวสาร หน่วยงานที่มีหน้าที่ตรวจสอบในกระทรวง/กรม เป็นต้น


     โดยในกระบวนการตรวจสอบและดาเนินการรวบรวมข้อมูลต่างๆ จาเป็นต้องได้รับความร่วมมือจากหน่วยงานทั้งภาครัฐ ภาคธุรกิจเอกชน และภาคประชาชน ซึ่งต้องใช้ทรัพยากรและเวลามาก เพื่อให้ได้ข้อมูลที่ถูกต้องและสามารถวินิจฉัยได้อย่างเที่ยงธรรม ซึ่งในช่วงที่ผ่านมา การดาเนินงานในส่วนที่เกี่ยวกับการปราบปราม การไต่สวน และการวินิจฉัยกรณีต่างๆ ที่ได้มีการร้องเรียนหรือตรวจสอบพบการทุจริต ยังไม่สามารถดาเนินการให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ


     สาเหตุสาคัญประการหนึ่ง คือ การจัดรูปแบบองค์กรดังกล่าวได้ถูกออกแบบมาให้เน้นการบริหารในลักษณะเชิงเดี่ยว คือ องค์กรถูกจัดตั้งขึ้นมาเพื่อดาเนินภารกิจตามที่ได้กาหนดไว้ในพระราชบัญญัติการจัดตั้งองค์กรนั้นๆ เป็นหลัก ในขณะที่ปัญหาที่ต้องแก้ไขจะต้องเชื่อมโยงสัมพันธ์กับหน่วยงานของทั้งภาครัฐทั้งในส่วนกลางและท้องถิ่น ภาคธุรกิจเอกชนและภาคประชาสังคมเป็นจานวนมาก การสร้างเครือข่ายความร่วมมือและการเชื่อมโยงข้อมูลระหว่างหน่วยงาน ทั้งภาครัฐ ภาคธุรกิจเอกชน และภาคประชาสังคม เพื่อหารูปแบบหรือแนวทางการดาเนินงานร่วมกันระหว่างคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติกับองค์กรต่างๆ ที่เกี่ยวข้องจึงมีความสาคัญ และจาเป็นอย่างยิ่ง เพื่อให้การดาเนินงานป้องกันและปราบปรามการทุจริตเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ

Article Details

How to Cite
roengtam, sataporn ., & puntasen, apichai . (2020). การประยุกต์ใช้แนวคิดการอภิบาลผ่านความร่วมมือ ในการป้องกัน และปราบปรามการคอร์รัปชัน. King Prajadhipok’s Institute Journal, 8(2). Retrieved from https://so06.tci-thaijo.org/index.php/kpi_journal/article/view/244516
Section
Original Articles

References

สถาบันส่งเสริมการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี. รายงานการศึกษาเบื้องต้นที่แสดงถึงผลการศึกษา รูปแบบการพัฒนาระบบราชการที่ดีของประเทศต่างๆ และแนวคิดทฤษฎีการบริหารจัดการ ภาครัฐใหม่ๆ ที่สอดรับกับบริบทของการพัฒนาระบบราชการไทย. ตุลาคม. 2550.

Independent Commission against Corruption. Annual Report 2007. Hong Kong.

Korea Independent Commission against Corruption. Annual Report. Seoul: 2006.

Transparency International. Annual Report Transparency International 1999. Susan Côté Freeman, Jeremy Pope (editors). Berlin: pws Print und Werbeservice Stuttgart. 1999.

Transparency International. Annual Report Transparency International 2006. Amber Poroznuk (editor). JM Stefko Printing House: Poznan. 2006.

Transparency International. Annual Report Transparency International 2004. Jana Kotalik, Taslima Ahmed and Amber Poroznuk (editors). Köllen Druck+Verlag GmbH: Berlin. 2004.

Unite Nation Office of Drug Control and Crime Prevention. Anti-Corruption Tool Kit. Version 3 revised. January. 2002.

http://www.pogo.org/p/government/go-050402-whistleblowerB.html#problems

http://www.pact.or.kr/english/