การลอบสังหาร‛ ในการเมืองท้องถิ่นไทย: บทสารวจ ‘ตัวเลข’ ขั้นต้นในรอบทศวรรษ (พ.ศ.2543-พ.ศ.2552)

Main Article Content

Nuttakorn Vititanon

Abstract

     แม้นสังคมไทยจะยังไม่เคยผ่านประสบการณ์ ความรุนแรงทางการเมือง (Political Violence) ถึงขั้นลุกลามจนกลายเป็นสงครามกลางเมือง (Civil War) กระทั่งการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ (Genocide) อย่างที่เกิดขึ้นในประเทศอื่นๆ รวมถึงในประเทศเพื่อนบ้าน ทว่าสังคมไทยกลับเต็มไปด้วยการใช้ความรุนแรงทางการเมืองในลักษณะที่หลากหลาย และได้อุบัติขึ้นอย่างต่อเนื่อง ไม่ว่าจะเป็นความรุนแรงโดยรัฐ (State Violence), การก่อการจลาจล (Riot), การก่อการร้าย (Terrorism) รวมถึงการลอบสังหาร (Assassination)1 จนบางเรื่องผู้คนรู้สึกว่าปกติธรรมดาในชีวิตประจาวันไปแล้ว


     แต่หากกล่าวถึงภาพเล็กสุดเฉพาะกรณีการ ‘ฆ่า’ ด้วยหวังผลทางการเมือง สาหรับประวัติศาสตร์การเมืองไทยสมัยใหม่2 ภายหลังปี 2475 เป็นต้นมา ไม่เคยปรากฏว่ามีผู้นาสูงสุดในฝ่ายบริหารของประเทศ คือ ‚นายกรัฐมนตรี‛ แม้แต่คนเดียว (จากทั้งหมด 27 คน) ที่ต้องถึงแก่อสัญกรรมเนื่องจากถูกลอบสังหาร คงมีแต่เพียงความพยายามที่ล้มเหลวหลายๆ ครั้งเกิดขึ้นกับนายกรัฐมนตรีบางท่านเท่านั้น เช่น พลเอกเปรม ติณสูลานนท์, พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร เป็นต้น


   

Article Details

How to Cite
vititanon, nuttakorn . (2020). การลอบสังหาร‛ ในการเมืองท้องถิ่นไทย: บทสารวจ ‘ตัวเลข’ ขั้นต้นในรอบทศวรรษ (พ.ศ.2543-พ.ศ.2552). King Prajadhipok’s Institute Journal, 8(3). Retrieved from https://so06.tci-thaijo.org/index.php/kpi_journal/article/view/244568
Section
Original Articles