เคลื่อนย้ายแรงงานเสรีในอาเซียน : ผลกระทบอย่างไรต่อไทย
Main Article Content
Abstract
อาเซียนเป็นชื่อเรียกย่อของสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (Association of Southeast Asian Nations : ASEAN) ก่อตั้งเมื่อวันที่ 18 สิงหาคม 2510 ปัจจุบันมีประเทศสมาชิกทั้งสิ้น 10 ประเทศ ได้แก่ ประเทศไทย สาธารณรัฐอินโดนีเซีย สหพันธรัฐมาเลเซีย สาธารณรัฐฟิลิปปินส์ สาธารณรัฐสิงคโปร์ บรูไนดารุสซาลาม สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว สหภาพพม่า และราชอาณาจักรกัมพูชา โดยมีวัตถุประสงค์สาคัญเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม ส่งเสริมสันติภาพและความมั่นคง ตลอดจนเสริมสร้างความเจริญรุ่งเรืองทางเศรษฐกิจ ให้ประชาชนในอาเซียนมีความเป็นอยู่และคุณภาพชีวิตที่ดี ทั้งนี้ ความร่วมมือทางเศรษฐกิจที่สาคัญคือ การจัดตั้งเขตการค้าเสรี (ASEAN Free Trade Area: AFTA) ในปี พ.ศ.2535 เพื่อให้การค้าในกลุ่มอาเซียนเป็นไปโดยเสรี ด้วยการลดอากรนาเข้าให้ต่าที่สุดหรือเหลือศูนย์ ขจัดปัญหาและอุปสรรคทางการค้า ยกเลิกข้อจากัดการนาเข้าที่เป็นมาตรการที่ไม่ใช่ภาษีและมีการขยายเขตของความร่วมมือไปสู่ด้านการขนส่ง การสื่อสาร สาธารณูปโภค บริการและทรัพย์สินทางปัญญา เขตการค้าเสรีอาเซียนดังกล่าวได้ส่งผลให้สินค้าในกลุ่มประเทศสมาชิก ซึ่งครอบคลุมตั้งแต่กลุ่มสินค้าเกษตร อุตสาหกรรม และอุปโภคบริโภค ถูกลดภาษีลงเป็น 0 % ถึง 8,300 รายการ
Article Details
@ 2020 King Prajadhipok's Institute The Government Complex Commemorating All Right Reserved.
References
กองวิจัยตลาดแรงงาน ฝ่ายวิเคราะห์ตลาดแรงงาน. เงื่อนไขเกี่ยวกับการเคลื่อนย้ายแรงงานเสรีในประชาคมอาเซียน, กรุงเทพฯ : กรมการจัดหางานกระทรวงแรงงาน, 2553.
ตีรณ พงศ์มฆพัฒน์, จุฑา มนัสไพบูลย์, สถิตพงศ์ ธนวิริยะกุล, ไพฑูรย์ ไกรพรศักดิ์. โครงการวิจัยผลกระทบของการเปิดการค้าเสรีต่อแรงงานไทยกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน กระทรวงแรงงาน, 2544.
ธนาคารแห่งประเทศไทย 2552.
พรเทพ เบญญาอภิกุล. GATS ความตกลงว่าด้วยการค้าบริการโครงการ WTO Watch (จับกระแสองค์การการค้าโลก). สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.), 2548.
รายงานการวิจัยเรื่อง"แรงงานต่างด้าวเข้าเมืองผิดกฎหมายกับปัญหาความมั่นคงแห่งชาติ ปัญหาสาธารณสุข สังคมและเศรษฐกิจ". วุฒิสภา, 2546.
วิไลลักษณ์ ถิรนุทธิ. “เปิดเสรีแรงงานต่างด้าว –ปัญหาที่รอการแก้ไข”. สถาบันระหว่างประเทศเพื่อการค้าและการพัฒนา, 2550.
ส่วนความร่วมมืออาเซียน. สำนักเศรษฐกิจการเกษตรระหว่างประเทศ. 15 ตุลาคม 2550.
อภิญญา เลื่อนฉวี. กฎหมายการค้าระหว่างประเทศ. กรุงเทพ : วิญญชน, 2552.
Kwan S.Kim. “Global Integration, Capital and Labor: A North-South Comparative Perspective”. Economic Liberalization and Labor Markets, USA: Greenwood Press, 1988.
Parviz Dabir-Alai, Mehmet Odekon. “Political Economy, Liberalization and Labor's Absorption”. EconomicLiberalization and Labor Markets, USA: Greenwood Press, 1988.