ประชาธิปไตยแบบสังคมเครือข่ายและการศึกษาแบบปฏิรูปนิยม

Main Article Content

Waraporn Srisuphan

Abstract

     บทความนี้มีวัตถุประสงค์คือ (1) แสดงปัญหาของหลักคิดภายใต้อุดมการณ์แบบเสรีประชาธิปไตยในปัจจุบัน ซึ่งนาไปสู่การก่อเกิดอภิชนชั้นโลกและความเหลื่อมล้าทางสังคมที่รุนแรงขึ้นเรื่อยๆ พร้อมทั้งชี้ให้เห็นถึงวิถีทางการสื่อสารอุดมการณ์ดังกล่าวผ่านระบบการศึกษาที่ใช้ปรัชญาการศึกษาแบบพิพัฒนาการนิยม และผ่านการสื่อสารโดยตัวสินค้าและการโฆษณา (2) ทบทวนเนื้อหาสาระที่จะนาไปประกอบสร้างเป็นอุดมการณ์ใหม่ ประกอบด้วย หลักคิดแบบจิตนิยมของรัฐในอดีตที่เปลี่ยนแปลงมาตามช่วงเวลา หลักคิดของ คลิฟฟอร์ด เกียทซ์ เรื่องรัฐกับความแตกต่างหลากหลายในยุคโลกาภิวัตน์ และหลักคิดเรื่องการรื้อสร้างอัตลักษณ์ (3) นาเสนอหลักคิดใหม่คือ ‚ประชาธิปไตยแบบสังคมเครือข่าย‛ โดยเสนอให้ปฏิเสธ 4 แนวคิดต่อไปนี้คือ แนวคิดแบบวัตถุนิยม แนวคิด ‚ปัจเจกคือพลังของการพัฒนา‛ แนวคิดการลดทอนข้อจาแนกความหลากหลายของสังคม และแนวคิดที่เน้นประสิทธิภาพมากกว่าผลลัพท์ พร้อมกับเสนอให้สร้างวิถีการดาเนินชีวิตแบบกลุ่ม/เครือข่ายโดยใช้กระบวนการเรียนรู้แบบกลุ่มในการนิยามอัตลักษณ์ การสร้างระบบ/กลไกในการเชื่อมโยงเพื่อการปรับเปลี่ยนอัตลักษณ์ของกลุ่มให้เข้ากับการดูแลรักษาระบบลุ่มน้า และการพัฒนาระบบการทางานระหว่างรัฐกับกลุ่ม/เครือข่าย และ (4) นาเสนอให้ปรับเปลี่ยนการศึกษาจากแบบพิพัฒนาการนิยม ซึ่งเชื่อว่า ‚ปัจเจกคือพลังของการพัฒนา‛ และ ‚เน้นวิธีการมากกว่าสาระหรือเป้าหมาย‛ มาเป็นการศึกษาแบบปฏิรูปนิยม ที่เชื่อว่า ‚เครือข่ายคือพลังของการพัฒนา‛ และ ‚เน้นที่ตัวสาระหรือผลลัพท์ขั้นสุดท้าย‛ ทั้งนี้เพื่อให้เป็นพลังขับเคลื่อนอุดมการณ์ประชาธิปไตยแบบสังคมเครือข่ายนี้ต่อไป

Article Details

How to Cite
srisuphan, waraporn . (2020). ประชาธิปไตยแบบสังคมเครือข่ายและการศึกษาแบบปฏิรูปนิยม. King Prajadhipok’s Institute Journal, 8(3). Retrieved from https://so06.tci-thaijo.org/index.php/kpi_journal/article/view/244576
Section
Original Articles

References

กาญจนา แก้วเทพ และสมสุข หินวิมาน. (2553). สายธารแห่งนักคิดทฤษฎีเศรษฐศาสตร์การเมืองกับสื่อสารศึกษา. พิมพ์ครั้งที่ 2; กรุงเทพฯ: ภาพพิมพ์.

ไชยันต์ ไชยพร. (2551). ข้อวิพากษ์ทฤษฎีการเมืองกระแสหลักของ คลิฟฟอร์ด เกียทซ์. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์ Openbooks.

ไชยรัตน์ เจริญสินโอฬาร. (2551). รัฐศาสตร์แนววิพากษ์. พิมพ์ครั้งที่ 3 แก้ไขเพิ่มเติม; กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

เชตะวัน เตือประโคน. (2553, 18 ตุลาคม). ชาญวิทย์ เกษตรศิริ ปาฐกถา ‘สยามเป็นไทย’ มรดกจากลัทธิเชื้อ/ชาตินิยม สร้างความขัดแย้ง. มติชนรายวัน. (ปีที่ 33 ฉบับที่ 11909) หน้า 21.

บุญศักดิ์ แสงระวี. (2547). โลกทัศน์ปรัชญาวัตถุนิยมวิภาษ. กรุงเทพฯ: สุขภาพใจ.

พิพัฒน์ พสุธารชาติ. (2553). รัฐกับศาสนา บทความว่าด้วย อาณาจักร ศาสนจักร และเสรีภาพ. พิมพ์ครั้งที่ 3; กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์ศยาม.

วราพร ศรีสุพรรณ. (2542). การสร้างสรรค์ของเผ่าพันธุ์มนุษย์ก่อนการปฏิวัติอุตสาหกรรม. นครปฐม: คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล.

วราพร ศรีสุพรรณ. (2542). วิถีแห่งสังคมอุตสาหกรรมและการแสวงหาทางใหม่. นครปฐม: คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล.

วราพร ศรีสุพรรณ, ประกายรัตน์ สุขุมาลชาติ, สุมนา ตังคณะสิงห์, กัญญารัตน์ ปั้นทอง, ปกรณ์ ม่วงเจริญ, จำลอง บุญเรืองโรจน์ และคณะ. (2552). เครือข่ายสถานศึกษาเพื่อเสริมสร้างสุขภาวะและอนุรักษ์พื้นที่ต้นน้ำในลุ่มน้ำแควใหญ่ตอนล่างและลุ่มน้ำลาตะเพิน จ.กาญจนบุรี. วารสารสหศาสตร์ ปีที่ 9 (3), 110-142.

วรยุทธ ศรีวรกุล (2549). ‚ปรัชญาการศึกษา‛. ใน ชัชชัย คุ้มทวีพร, ปาริชาต สุวรรณบุบผา, ประสิทธิ์ ฤกษ์พิศุทธ์ และชาญณรงค์ บุญหนุน. (บรรณาธิการ). ปรัชญาในสังคมไทย. (145-169). กรุงเทพฯ: โครงการส่งเสริมการวิจัยปรัชญาและศาสนาสัญจร สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.).

สมบัติ จันทรวงศ์ แปล. (2552). ประวัติปรัชญาการเมือง เล่มที่ 3. กรุงเทพฯ: โครงการจัดพิมพ์คบไฟ.

สุภางค์ จันทวานิช. (2553). ทฤษฎีสังคมวิทยา. พิมพ์ครั้งที่ 3; กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

อนุช อาภาภิรม. (2553). อภิเศรษฐีและอภิชนชั้น. มติชนสุดสัปดาห์, ปีที่ 30 ฉบับที่ 1567, หน้า 41.

Stace, W.T. (2514). ปรัชญากรีก. (ปรีชา ช้างขวัญยืน, ผู้แปล). กรุงเทพฯ: สมาคมสังคมศาสตร์แห่งประเทศไทย.