รัฐกับการใช้อานาจรัฐในการควบคุมสังคม: วิเคราะห์รัฐบาลช่วงปี พ.ศ. 2544-2549

Main Article Content

Jak Punchoopet

Abstract

     หากหันหลังกลับไปเพ่งพินิจถึงเส้นทางการเมืองไทยในอดีตที่ผ่านมา ภาพของนักการเมืองที่โดดเด่นและทรงอิทธิพลต่อความเป็นไปของการเมืองไทยอย่างสูงคนหนึ่งก็คือ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ผู้ก้าวเข้าสู่อานาจทางการเมืองโดยการนาพาพรรคการเมืองของตนเข้ามาเป็นแกนนาในการจัดตั้งรัฐบาลได้สาเร็จนับแต่สมัยแรกของการลงสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในฐานะหัวหน้าพรรคการเมือง จากคะแนนเสียง “ข้างมาก” ในสภาผู้แทนราษรสู่คะแนนเสียง “ข้างมากยิ่งขึ้น” ด้วยการควบรวมพรรคการเมือง จนสามารถนาพารัฐนาวาอยู่ครบวาระ 4 ปี และตอกย้าความสาเร็จทางการเลือกตั้งด้วยการชนะการเลือกตั้งอย่างถล่มทลายในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรปี พ.ศ. 2548 และกลายเป็นรัฐบาลพรรคเดียวที่มีเสียงข้างมากแบบเด็ดขาดในสภาผู้แทนราษฎร จนพรรคร่วมฝ่ายค้านถูกลดบทบาทลงไปอย่างชนิดที่อาจกล่าวได้ว่าไร้ซึ่งอานาจในการถ่วงดุลและ/หรือตรวจสอบตามหลักการของประชาธิปไตย ส่วนการเมืองภาคประชาชนเองก็ตกอยู่ในสถานการณ์ที่ไม่แตกต่างกัน นั่นคือ ถูกลดบทบาทลงให้เป็นเพียงราษฎรที่มีหน้าที่ “รอรับ” และ “ปฏิบัติตาม” มากกว่าที่เป็นพลเมืองที่สามารถ “เรียกร้อง” และ “มีส่วนร่วม”


     จากความแหลมคมของการบริหารประเทศโดยรัฐบาลภายใต้การนาของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ที่ได้กล่าวมาโดยสังเขปข้างต้น นาไปสู่การเลือกหยิบเป็นกรณีเฉพาะเพื่อวิเคราะห์ถึง “รัฐกับการใช้อานาจรัฐเพื่อการควบคุมสังคม” ที่เกิดขึ้นในช่วงเวลาของรัฐบาลทักษิณ 1 ถึงทักษิณ 2 โดยในส่วนแรกจะเป็น “การกวาดเรียง” ข้อมูล ก่อนที่จะนาสู่ “การจัดวาง” ข้อมูลเหล่านั้นลงในส่วนสองและในส่วนสุดท้ายจะเป็น “การมองเรื่อง”ผ่านแว่นความสัมพันธ์ระหว่างอานาจ วาทกรรม และความรู้


     ด้วยเงื่อนไขของการกวาดเรียง การจัดวาง และการมองเรื่อง อันเป็นวิธีการของการนาเสนอ ผู้เขียนจึงมิอาจปฏิเสธหรือก้าวพ้นการลดทอน ละเลย และ/หรือรวบยอดข้อมูลในบางส่วนได้ ตรงกันข้าม ผู้เขียนขอแสดงการยอมรับอย่างถึงข้อจากัดที่กล่าวมาในทุกกรณี เพราะงานชิ้นนี้ มีเป้าหมายเพื่อเสนอการวิเคราะห์ในอีกส่วนเสี้ยวหนึ่งเพื่อให้เกิดการวิวาทในเชิงสร้างสรรค์มากกว่าที่จะเป็นการนาเสนอเพื่อโน้มน้าวหรือชี้นาไม่ว่าจะในฐานะอะไร


 

Article Details

How to Cite
punchoopet ่. . (2020). รัฐกับการใช้อานาจรัฐในการควบคุมสังคม: วิเคราะห์รัฐบาลช่วงปี พ.ศ. 2544-2549. King Prajadhipok’s Institute Journal, 7(1). Retrieved from https://so06.tci-thaijo.org/index.php/kpi_journal/article/view/244610
Section
Original Articles

References

กิตติศักดิ์ ปรกติ. (2547). “7 ปมปริศนาในยุคทักษิณานุวัตร”. รู้ทันทักษิณ . เจิมศักดิ์ ปิ่นทอง (บรรณาธิการ). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์ขอคิดด้วยคน.

เกษียร เตชะพีระ. (2547). บุชกับทักษิณ. กรุงเทพฯ: โครงการจัดพิมพ์คบไฟ.

คมเดือน เจิดจรัสฟ้า. (2538). ทักษิณ ชินวัตร นักสู้ผู้มีวิสัยทัศน์กว้างไกล. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์สร้อยทอง.

ตรีพล เจาะจิตต์. (2545). 1 ปี รัฐบาลทักษิณ คิดใหม่ ทำใหม่ คำมั่นสัญญา 15 ประการกับประชาชน. กรุงเทพฯ: พี. เอ. ลีฟวิ่ง จำกัด.

ธงชัย วินิจจะกูล. (2534). การศึกษาประวัติศาสตร์แบบวงศาวิทยา (genealogy). รายงาน โครงการวิจัยเสริมหลักสูตร คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

บูฆอรี ยีหมะ. (2547). นโยบายหาเสียงแนวประชานิยมกับอำนาจทางเศรษฐกิจ : การศึกษาเชิงเศรษฐกิจการเมืองเกี่ยวกับความสำเร็จในการเลือกตั้งของพรรคไทยรักไทย. วิทยานิพนธ์ปริญญารัฐศาสตรดุษฎีบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ประเสริฐ ลิ่มประเสริฐ.(รวบรวม). (มปป.). รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540.

ผาสุก พงษ์ไพจิตร. (2547). “ประชาธิปไตย ประชาสิทธิ ประชาธรรม”. รู้ทันทักษิณ. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์ขอคิดด้วยคน.

วรเจตน์ ภาคีรัตน์. (2547). “โครงสร้างและกลไกในรัฐธรรมนูญกับอานาจนายกฯ ทักษิณ”. รู้ทันทักษิณ 2. เจิมศักดิ์ ปิ่นทอง (บรรณาธิการ). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์ขอคิดด้วยคน.

สมคิด เลิศไพฑูรย์. (2547). “รัฐบาลทักษิณกับการ (ไม่) ปฏิบัติตามเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญ”. รู้ทันทักษิณ . เจิมศักดิ์ ปิ่นทอง (บรรณาธิการ). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์ขอคิดด้วยคน.

สรกล อดุลยานนท์. (2547). ทักษิณ ชินวัตร อัศวินคลื่นลูกที่สาม. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มติชน.

สุรัสวดี อินทร์ชัย. (2545). ปัญหาความเป็นเอกภาพของพรรคไทยรักไทย. วิทยานิพนธ์ปริญญารัฐศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

ไสว บุญมา. (2546). ประชานิยม : หายนะจากอาเจนตินาถึงไทย. กรุงเทพฯ: บริษัท เนชั่นบุ๊คส์ อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด.

กรุงเทพธุรกิจ. ฉบับประจำวันที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2547: 25.

คมชัดลึก. ฉบับประจำวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2548: 3.

ไทยโพสต์. ฉบับประจำวันที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2548: 2.

ไทยโพสต์. ฉบับประจำวันที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2547: 2.

แนวหน้า. ฉบับประจำวันที่ 13 มีนาคม พ.ศ. 2548: 5.

ผู้จัดการรายวัน. ฉบับประจำวันที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2546: 15.

มติชน. ฉบับประจำวันที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2542.

วัฏจักร. ฉบับประจ.วันที่ 9 เมษายน พ.ศ. 2547. 8

The City Journal. ฉบับประจำวันที่ 16-30 กันยายน พ.ศ. 2548: 9.

Foucault, Michel. (1970). The Order of Things. New York: Vintage Books.

Foucault, Michel. (1980). Power/Knowledge: Selected Interviews and Other Writing 1972-1977. Gordon, Colin (ed.) New York: Pantheon.

Lukes, Steven. (1980). Power: A Redical View. London: The Macmillan Press.