หนึ่งทศวรรษของการผลิตกระแสไฟฟ้าจากขยะชุมชน กรณีเตาเผาขยะชุมชน จังหวัดภูเก็ต
Main Article Content
Abstract
มิถุนายน 2542 เตาเผาขยะชุมชนขนาด 250 ตันต่อวันมูลค่า 788 ล้านบาทในขณะนั้น เริ่มให้บริการกาจัดขยะมูลฝอยชุมชนแก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 18 แห่งในจังหวัดภูเก็ต เตาเผาแบบตะกรับเคลื่อนที่ (Moving Grates) นี้มีอุณหภูมิเผาไหม้ในห้องเผา800-950oC และสามารถแปรความร้อนจากการเผาเป็นพลังงานไฟฟ้าขนาด 2.5 MWe (JICA, 2547) นับเป็นเตาเผาขยะชุมชนที่ผลิตกระแสไฟฟ้าที่ให้บริการกาจัดขยะชุมชนอย่างต่อเนื่องแห่งแรกของประเทศและยังคงเดินระบบให้บริการกาจัดขยะชุมชนพร้อมกับการผลิตกระแสไฟฟ้ามาจนถึงปัจจุบัน
ช่วงเวลาหนึ่งทศวรรษของการใช้เตาเผาเพื่อกาจัดขยะชุมชนแห่งนี้ยาวนานเพียงพอที่จะให้บทเรียนและประสบการณ์แก่สังคมไทยในด้านการเลือกและใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสม การวิเคราะห์ผลกระทบต่อสภาพแวดล้อมและคุณภาพชีวิต การวิเคราะห์ต้นทุน ค่าใช้จ่ายในการบารุงรักษา ตลอดจนโครงสร้างการบริหารจัดการและความร่วมมือขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น การมีส่วนร่วมของภาคเอกชน การทาสัญญาและการบริหารสัญญาเพื่อการลงทุนและการบริหารดาเนินการ เตาเผาขยะชุมชน จังหวัดภูเก็ตให้ประสบการณ์ทั้งด้านบวกที่ควรได้รับการพัฒนาขยายผลและด้านลบที่สังคมไทยควรได้ตระหนัก ศึกษาค้นคว้า ระมัดระวังและหลีกเลี่ยง ประสบการณ์ทั้งสองด้านนี้มีคุณค่าต่อการกาหนดทิศทางการจัดการขยะชุมชนของประเทศหากได้รับการรวบรวม ศึกษาและวิเคราะห์จากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง สถาบันการศึกษา นักวิชาการ ตลอดไปจนถึงภาคเอกชน
ท่ามกลางนโยบายส่งเสริมการผลิตพลังงานทดแทน ขยะชุมชนกลายเป็นเป้าหมายหนึ่งในการพัฒนาพลังงานทดแทน รัฐใช้มาตรการทางเศรษฐศาสตร์กาหนดส่วนเพิ่มราคารับซื้อกระแสไฟฟ้าที่ใช้ขยะชุมชนเป็นเชื้อเพลิง2 เพื่อเพิ่มรายได้ให้กับโครงการที่ใช้เทคโนโลยีกาจัดขยะชุมชนที่สามารถผลิตกระแสไฟฟ้าช่วยให้โครงการมีอัตราผลตอบแทนของสูงขึ้น ด้วยเหตุนี้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและภาคเอกชนจึงให้ความสนใจในการลงทุนก่อสร้างและบริหารดาเนินการโครงการกาจัดขยะชุมชนที่สามารถผลิตพลังงานได้โดยเฉพาะการใช้เทคโนโลยีเตาเผา
ประสบการณ์หนึ่งทศวรรษของเตาเผาจังหวัดภูเก็ตจะเป็นประโยชน์แก่รัฐเพื่อทบทวนนโยบายด้านการจัดการขยะชุมชนและการสนับสนุนด้วยมาตรการส่งเสริมพลังงานทดแทนซึ่งจะเป็นประโยชน์แก่ท้องถิ่นในการให้บริการสาธารณะด้านการจัดการขยะชุมชนที่มักประสบปัญหาในการจัดหาสถานที่ก่อสร้างระบบกาจัดหรือกาลังประสบปัญหาในการเจรจากับภาคเอกชนที่แสดงความจานงค์จะมีส่วนร่วมในการลงทุนในโครงการผลิตพลังงานทดแทนโดยใช้ขยะชุมชนเป็นเชื้อเพลิง
Article Details
@ 2020 King Prajadhipok's Institute The Government Complex Commemorating All Right Reserved.
References
กรมควบคุมมลพิษ, The Dangerous Dioxin, 2542, Available: March, 2009. http://www.pcd.go.th/info_serv/en_haz_dioxin.html
การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค, ประกาศวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2550 เรื่องการกาหนดส่วนเพิ่มราคารับซื้อไฟฟ้าสาหรับผู้ผลิตไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียน, 2550.
คณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน, มติคณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงานการประชุมครั้งที่ 3/2549 (ครั้งที่ 17) วันที่ 20 พฤศจิกายน 2549, เรื่องการกำหนดส่วนเพิ่มราคารับซื้อไฟฟ้า สำหรับผู้ผลิตไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียน, 2549.
สุนีย์ มัลลิกะมาลย์และคณะ, โครงการวิจัยการจัดการขยะชุมชนอย่างมีประสิทธิภาพ : รูปแบบและมาตรการทางสังคม เศรษฐศาสตร์ การจัดการและกฏหมายเพื่อแก้ไขปัญหาขยะชุมชน, 2543.
สำนักงานการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ภาคใต้, Available: http://www.tourismthailand.org/phuket/
สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม, โครงการปรับปรุงและเพิ่มประสิทธิภาพศูนย์กาจัดขยะมูลฝอยรวมเทศบาลนครภูเก็ต, 2549
สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม,รายงานสถานการณ์คุณภาพสิ่งแวดล้อม พ.ศ. 2549, 2550.
สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา, โครงการศึกษาความเป็นไปได้ในการใช้ขยะชุมชนเพื่อผลิตกระแสไฟฟ้า, 2550.
องค์กรเพื่อความร่วมมือระหว่างประเทศแห่งประเทศญี่ปุ่น(JICA), โครงการศึกษาเพื่อปรับปรุงการจัดการขยะมูลฝอย จังหวัดภูเก็ต, 2547.
Euiyoung Yoon, Presentation “MSW Management-Tokyo and Seoul”, 2002.
Jussi-Pekka Aittola, Organochloro Compounds in the Stack Emission, 1995.
Tchobanoglous, Theisen, Vigil, Integrated Solid Waste Management, 1993.
The World Commission on Environment and Development, OUR COMMON FUTURE, 1987.
Thomas C.Kinnaman and Don Fullerton, The Economics of Residential Solid Waste Management, 1999.
U.S. Environmental Protection Agency, “Decision-Makers Guide to Solid Waste Management”, November 1989.
World Bank, Thailand Environment Monitor 2003, 2003.
World Bank, World Bank Guidance Report: Municipal Solid Waste Incineration, 1999.
Yoshifumi Fujii, Successful Source Separation in Asian Cities: Lessons from Japan’s Experience and an Action Research in Thailand, 2008.