การเสริมสร้างธรรมาภิบาลและความโปร่งใส ในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
Main Article Content
Abstract
องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นไทย ในปัจจุบัน ทั้งในรูปแบบองค์การบริหารส่วนจังหวัด เทศบาล และองค์การบริหารส่วนตาบล ซึ่งเห็นว่า องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ทั้งหลาย ก็ยังได้ถูกจับตามองจากสังคมภายนอกว่า มีการทุจริตคอร์รัปชันเช่นกัน การถูกจับตามองและถูกวิพากษ์วิจารณ์ในทานองดังกล่าว ย่อมไม่เป็นผลดีต่อองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ทั้งอาจมีผลกระทบต่อความน่าเชื่อถือของ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและการกระจายอานาจสู่ท้องถิ่นทั้งในแง่ของงาน (ภารกิจ) งบประมาณ (เงิน) และบุคลากรของท้องถิ่นอยู่ไม่น้อยเช่นกัน ภายใต้การถ่ายโอนภารกิจและงบประมาณให้กับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเพื่อให้ดาเนินภารกิจ ซึ่งอาจกล่าวได้ว่าในการปฏิบัติงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น กาลังถูกท้าทายความสามารถในเชิงการบริหารจัดการให้มีความน่าเชื่อถือและความโปร่งใส
ข้อมูลการกล่าวหาและเรื่องร้องเรียนบุคลากรขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ซึ่งได้แก่ ผู้บริหารท้องถิ่น สมาชิกสภาท้องถิ่น พนักงานท้องถิ่น ถูกกล่าวหากระทาการทุจริตต่อคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริต (ป.ป.ช.) พ.ศ. 2543-2550 รวม 8 ปี สามารถเรียงการกล่าวหาตามลาดับ องค์การบริหารส่วนตาบล มี 3,235 เรื่อง ผู้ถูกกล่าวหา 5,778 ราย เทศบาลมี 1,705 เรื่อง ผู้ถูกกล่าวหา 2,766 ราย องค์การบริหารส่วนจังหวัด มี 283 เรื่อง ผู้ถูกกล่าวหา 441 ราย กรุงเทพมหานคร มี 273 เรื่อง ผู้ถูกกล่าวหา 442 ราย เมืองพัทยา 12 เรื่อง ผู้ถูกกล่าวหา 40 ราย (สานักงาน ป.ป.ช., 2550)
งานวิจัยเรื่องแนวทางการพัฒนาและเสริมสร้างกลไกทุจริตใน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ได้สะท้อนสภาพการทุจริตใน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เกิดจากการจัดซื้อจัดจ้าง และการญาติและพวกพ้องเป็นผู้รับเหมา ระบบการตรวจสอบไม่ทั่วถึง การขาดการประชาสัมพันธ์ข้อมูลข่าวสาร และขาดคุณธรรมและจริยธรรม เป็นต้น ซึ่งในงานวิจัยได้มีข้อเสนอให้มีการส่งเสริมกลไกภาครัฐและองค์กรอิสระให้มีประสิทธิภาพ กลไกใน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ต้องเปิดช่องทางให้กับประชาชน ที่สาคัญที่สุด กลไกการมีส่วนร่วมของภาคประชาสังคม (โกวิทย์ พวงงาม, 2550)
ดังนั้น การสร้างเสริมธรรมาภิบาลและความโปร่งใสใน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จึงเป็นเป้าหมายสาคัญยิ่ง เพื่อส่งเสริมให้ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น มีการบริหารจัดการที่ดี (GoodGovernance) โดยเฉพาะการมุ่งให้ประชาชนและภาคประชาสังคม เข้ามีส่วนร่วมในการเฝ้าระวังตรวจสอบการทุจริตคอร์รัปชันใน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น อย่างมีประสิทธิภาพ
Article Details
@ 2020 King Prajadhipok's Institute The Government Complex Commemorating All Right Reserved.
References
โกวิทย์ พวงงามและคณะ. 2550. แนวทางการพัฒนาและเสริมสร้างกลไกการป้องกันการทุจริตในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์มิสเตอร์ก็อบปี้.
โกวิทย์ พวงงามและคณะ. 2550. การส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนด้านการกระจายอำนาจสู่ท้องถิ่นตามรัฐธรรมนูญ. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์มิสเตอร์ก็อบปี้.
โกวิทย์ พวงงาม และคณะ. 2549. รายงานการศึกษา หลักเกณฑ์และมาตรฐานตัวชี้วัดองค์การ ปกครองส่วนท้องถิ่นด้านสตรีและครอบครัว. กรุงเทพฯ : Mister Copy.
โครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ. 2550. ประเทศไทย การประเมินสถานการณ์ทั่วไป. กรุงเทพฯ: คีน พับลิชชิ่ง.
เจมส์ แอล เครตัน. 2543. คู่มือการมีส่วนร่วมของประชาชนในการตัดสินใจของชุมชน แปลโดย วันชัย วัฒนศัพท์. กรุงเทพฯ : ศูนย์สันติวิธีเพื่อพัฒนาประชาธิปไตย.
ถวิลวดี บุรีกุล. 2548. การมีส่วนร่วม : แนวคิด ทฤษฎีและกระบวนการ. นนทบุรี : สถาบันพระปกเกล้า.
ถวิลวดี บุรีกุล (บก.). 2550. ทศธรรม : ตัวชี้วัดการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี. กรุงเทพฯ : สถาบันพระปกเกล้าฯ.
ถวิลวดี บุรีกุล. 2551. “การยกระดับการให้บริการสาธารณะโดยการมีส่วนร่วมของประชาชน” ใน เอกสารประกอบการสัมมนา เวทีท้องถิ่นไทยประจาปี 2551 วันที่ 1-2 สิงหาคม 2551 ณ ศูนย์การแสดงสินค้าและนิทรรศการนานาชาติ บางนา กทม.
นวลน้อย ตรีรัตน์. และคนอื่นๆ. 2546. การมีส่วนร่วมของประชาชนในการตรวจการดาเนินงานขององค์การบริหารส่วนตำบล : รายงานการวิจัย. ม.ป.ท. : ม.ป.พ.
นวลน้อย ตรีรัตน์. 2545. การตรวจสอบคอร์รัปชันโดยภาคประชาชน. นนทบุรี : สถาบันพระปกเกล้า.
บวรศักดิ์ อุวรรณโณ. 2542. การสร้างธรรมาภิบาลในสังคมไทย. กรุงเทพฯ : วิญูชน, 2542.
ปธาน สุวรรณมงคล. 2543. “สรุปผลการทดลองตามโครงการส่งเสริมการบริหารจัดการที่ดีโดยการกระจายอานาจส่วนท้องถิ่น : ข้อเสนอเพื่อการขยายผล. ” วันที่ 18-19 กันยายน 2543 ณ โรงแรมจุลดิศ เขาใหญ่รีสอร์ท.
ราชบัณฑิตยสถาน. 2538. พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2525. กรุงเทพฯ : ราชบัณฑิตยสถาน.
วิทยากร เชียงกุล. 2549. แนวทางปราบคอร์รัปชั่นอย่างได้ผล : เปรียบเทียบไทยกับประเทศอื่น. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์สายธาร.
วุฒิสาร ตันไชย. 2551. “การปกครองส่วนท้องถิ่น การเมืองภาคพลเมือง : ห้องเรียนการมีส่วนร่วมทางการเมืองของสังคมไทย” ใน วุฒิสาร ตันไชย (บก.). พิศรัฐธรรมนูญ. กรุงเทพฯ : สถาบันพระปกเกล้า, หน้า 201-231.
สังศิต พิริยะรังสรรค์. 2549. ทฤษฎีการคอร์รัปชั่น. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์ร่วมด้วยช่วยกัน.
สถาบันพระปกเกล้า. 2549. ทศธรรม : ตัวชี้วัดการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี. กรุงเทพฯ : บริษัทศูนย์การพิมพ์แก่นจันทร์ จากัด.
Hanski, Raija and Suksi, Markku (eds.). An Introduction to the International Protection of Human Rights : A textbook. 2nd ed.
Manser, H. Martin. 1991. Oxford Learner’s Pocket Dictionary. China : Oxford University Press.
Rigg, Jonathan. 2008. “An Early Foray into Participation in Thailand.” Paper presented at 10th International Conference on Thai Studies. Thammasat University. Bangkok. 9-11 January 2008.
UNDP Thailand. 2007. Human Development Report 2007. Bangkok : Keen Publishing.
คณะกรรมาธิการเศรษฐกิจและสังคมแห่งเอเชียแปซิฟิก (ESCAP). http://www.unescap.org/pdd/prs/ProjectActivities/Ongoing/gg/governance.asp วันที่ 9 กันยายน 2551.
โครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ (UNDP). http://mirror.undp.org/magnet/policy/chapter1.htm วันที่ 9 กันยายน 2551.
ธนาคารเพื่อการพัฒนาเอเชีย (ADB). http://www.adb.org/Documents/Policies/Governance/default.asp?p=policies
วันที่ 9 กันยายน 2551.
ธนาคารโลก (World Bank). http://web.worldbank.org/WBSITE/EXTERNAL/EXTABOUTUS/ORGANIZATION/EXTPRESIDENT2007/EXTPASTPRESIDENTS/EXTOFFICEPRESIDENT/0,,contentMDK:20883752~menuPK:64343258~pagePK:51174171~piPK:64258873~theSitePK:1014541,00.html วันที่ 9 กันยายน 2551.
“ยุทธศาสตร์การเสริมสร้างธรรมาภิบาล”. http://www.nesdb.go.th 16 มิถุนายน 2551.
อานันท์ ปันยารชุน. ปาฐกถา งานสัมมนาประจาปี 2549 ของสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาแห่งประเทศไทยเรื่อง สู่หนึ่งทศวรรษหลังวิกฤติเศรษฐกิจ:ได้เรียนรู้และปรับปรุงอะไรบ้าง. ใน http://www.bangkokbiznews.com/2006/special/tdri/tdri010.pdf วันที่ 20 กันยายน 2551
International Association for Public Participation. http://www.iap2.org.au/sitebuilder/resources/knowledge/asset/files/36/iap2spectrum.pdf วันที่ 9 กันยายน 2551.