การมีส่วนร่วมของประชาชนชาวไทยในรอบทศวรรษที่ผ่านมา : สภาพปัญหาและความท้าทายในอนาคต
Main Article Content
Abstract
ในสังคมยุคโลกาภิวัตน์เช่นปัจจุบัน ทฤษฎีหรือหลักการปกครองที่เคยยึดถือและปฏิบัติมาแต่เดิมนั้น ไม่สามารถตอบสนองความต้องการหรือการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในสังคมได้ ทาให้นานาประเทศไม่เว้นแม้แต่ประเทศแม่แบบประชาธิปไตย ต่างก็ต้องปรับเปลี่ยนหรือมีพัฒนาการด้านการเมืองการปกครอง แม้แต่ประเทศที่ยึดหลักจารีตประเพณีอย่างเคร่งครัดเช่นสหราชอาณาจักร ซึ่งมีหลักการปกครองที่เรียกกันว่า “อานาจสูงสุดเป็นของรัฐสภา” (Parliamentary Supremacy) โดยที่ฝ่ายบริหารมาจากรัฐสภา และต้องรับผิดชอบต่อรัฐสภา เพราะเป็นผู้แทนของประชาชน ยังใช้ทฤษฎี Open Government Doctrine เป็นนโยบายที่เน้นปรับปรุงการบริหารงานภาครัฐให้มีความโปร่งใส โดยเปิดโอกาสให้ประชาชนสามารถเข้าถึงข้อมูลข่าวสารภาครัฐ และสามารถมีส่วนร่วมในกระบวนการตัดสินใจทางนโยบายโดยตรงได้
แม้ว่าประเทศไทยได้เปลี่ยนแปลงการปกครองมาเป็นระบอบประชาธิปไตย ครบ 77 ปีไปเมื่อวันที่ 24 มิถุนายน 2552 ที่ผ่านมานี้เอง ซึ่งตามทฤษฎีแล้วประชาชนเป็นเจ้าของอานาจสูงสุดที่เรียกว่าอานาจอธิปไตย (Sovereignty) แต่ในความเป็นจริงแล้ว ประชาชนมีอานาจและใช้อานาจดังกล่าว (ในทางรูปแบบ) โดยผ่านการใช้สิทธิเลือกตั้ง “ผู้แทน” ซึ่งใช้เวลาเพียงไม่กี่นาทีเท่านั้น แต่ในทางเนื้อหาแล้วคงเป็นประเด็นคาถามหลักของสังคมที่ต้องถามและตอบร่วมกันให้ได้ว่าประชาชนมีอานาจ (จริง)หรือไม่? และมากน้อยเพียงใด?
แต่ที่ไม่ต้องถามเพราะปรากฎชัดเจนแล้วนั่นก็คือประชาธิปไตยทางผู้แทน (Representative Democracy) ไม่สามารถตอบสนองความต้องการของประชาชนผู้เป็นเจ้าของอานาจ ไม่สามารถสร้างความอยู่ดีกินดี หรือความสงบสุขให้เกิดขึ้นในสังคมได้ หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือสัมฤทธิ์ผลในการบริหารราชการแผ่นดิน ยังไม่เกิดขึ้นจากการมี “ผู้แทนที่มาจากการเลือกตั้ง” แต่เพียงอย่างเดียว
“การมีส่วนร่วมของประชาชน”เป็นสิ่งที่สังคมไทยตื่นตัวและถูกนามาใช้กล่าวอ้างกันอย่างกว้างขวางเมื่อสิบกว่าปีนี้เอง เริ่มต้นจากการมีส่วนร่วมในการปฏิรูปการเมืองหลังเหตุการณ์เดือนพฤษภาคม 2535 ซึ่งต้องยอมรับว่าเป็นประวัติศาสตร์หน้าใหม่ของการเมืองการปกครองไทย ที่เปิดโอกาสให้ประชาชนมีบทบาทและได้เข้ามีส่วนร่วมในการกาหนดกฎหมายสูงสุดของประเทศ โดยที่เป็นการมี ส่วนร่วมทั้งอย่างเป็นทางการและไม่เป็นทางการ ดังที่เกิดเป็นปรากฏการณ์ธงเขียวเป็นแรงกดดันให้รัฐสภาต้องให้ความเห็นชอบร่างรัฐธรรมนูญฉบับที่สภาร่างรัฐธรรมนูญพิจารณายกร่างขึ้น
ด้วยเหตุดังกล่าว รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 จึงถูกเรียกในอีกชื่อหนึ่งว่า “รัฐธรรมนูญฉบับประชาชน” มีเจตนารมณ์ในการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของประชาชน ให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการปกครองและตรวจสอบการใช้อานาจรัฐเพิ่มขึ้น รวมทั้งปรับปรุงโครงสร้างทางการเมืองให้มีเสถียรภาพและประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ทั้งนี้ โดยกาหนดให้มีบทบัญญัติว่าด้วยเรื่องสิทธิเสรีภาพ และการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนค่อนข้างก้าวหน้าและกว้างขวาง
Article Details
@ 2020 King Prajadhipok's Institute The Government Complex Commemorating All Right Reserved.
References
กุลธน ธนาพงศธร. หลักการกาหนดนโยบายของรัฐ. กรุงเทพฯ: สาขาบริหารรัฐกิจ คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2519.
คนึงนิจ ศรีบัวเอี่ยม และคณะ. แนวทางการเสริมสร้างประชาธิปไตยแบบมีส่วนร่วมตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540 : ปัญหา อุปสรรค และทางออก. กรุงเทพฯ: ธรรมดาเพรส, 2545.
คณะกรรมาธิการการมีส่วนร่วมของประชาชน สภานิติบัญญัติแห่งชาติ. พิจารณาศึกษาเรื่องร่างพระราชบัญญัติการมีส่วนร่วมของประชาชน พ.ศ. .... กรุงเทพฯ: สำนักเลขาธิการวุฒิสภาปฎิบัติหน้าที่สำนักงานเลขาธิการสภานิติบัญญัติแห่งชาติ, ม.ป.ป.
เจมส์ แอล เครย์ตัน. คู่มือการมีส่วนร่วมของประชาชนการตัดสินใจที่ดีกว่าโดยให้ชุมชนมีส่วนร่วม. แปลโดย วันชัย วัฒนศัพท์ และคณะ. ขอนแก่น: ศิริภัณฑ์ ออฟเซ็ท, 2551.
เฉลิม เกิดโมลี. แนวทางการมีส่วนร่วมในกระบวนการนโยบาย. เอกสารประกอบการเสวนาวิพากษ์ ตัวแบบการมีส่วนร่วมของประชาชน, 2543.
เดชรัตน์ สุขกาเนิด. ขยาย “มาบตาพุด”: การเบียดเบียนที่ไม่สิ้นสุดในยุคเศรษฐกิจพอเพียง.
ประชาไท. ค้นวันที่ 3 มีนาคม 2552.จาก http://www.prachatai.com/05web/th/home/page2.phpmod=mod_ptcms&ID=6625&Key=HilightNews.
เดชรัต สุขกาเนิด และคณะ. อนาคตระยองเส้นทางสู่สังคมสุขภาพ. นนทบุรี: บริษัทคุณาไทย (วนิดาการพิมพ์), 2551.
ถวัลย์รัฐ วรเทพพุฒิพงษ์. การกาหนดและการวิเคราะห์นโยบายสาธารณะ : ทฤษฎีและการระยุกต์ใช้. กรุงเทพฯ : คณะรัฐประศาสนศาสตร์. สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2540.
ถวิลวดี บุรีกุล และคณะ. คู่มือการบริหารราชการแบบมีส่วนร่วมของหน่วยงานภาครัฐในระดับจังหวัด. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ, 2551.
ถวิลวดี บุรีกุล และเมธิศา พงษ์ศักดิ์ศรี. สนทนากลุ่ม : เทคโนโลยีเพื่อการมีส่วนร่วมและการเก็บข้อมูลเพื่อการวิจัย. กรุงเทพฯ: จรัญสนิทวงศ์การพิมพ์, 2548.
ทรงวุฒิ พัฒแก้ว. วิกฤติอุตสาหกรรมเหล็กหนักกว่าปี 40 รัฐ-เอกชน ย้าต้องเดินหน้าเหล็กต้นน้าในไทย. ค้นวันที่ 22 พฤษภาคม 2552. จาก http://gotoknow.org/industry/248846
ทศพร ศิริสัมพันธ์. ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับนโยบายสาธารณะ. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2539.
นิธิ เอียวศรีวงษ์. การเมืองหรือธุรกิจของโซ่ข้อกลาง. ค้นวันที่ 3 มีนาคม 2552. จาก http://www.nidambel.net/ekonomiz/2007q4/2007december07p7.htm
บวรศักดิ์ อุวรรณโณ และถวิลวดี บุรีกุล. ประชาธิปไตยแบบมีส่วนร่วม (Participatory Democracy). กรุงเทพฯ: สถาบันพระปกเกล้า, 2548.
บัณฑูร เศรษฐศิโรตม์. กระบวนการตัดสินใจทางการเมืองเรื่องสิ่งแวดล้อมในระยะเปลี่ยนผ่านของสังคมไทย. ในเอกสารประกอบการประชุมวิชาการสถาบันประปกเกล้า ครั้งที่ 10 ประจาปี 2551. กรุงเทพฯ: ส เจริญ การพิมพ์, 2551.
ประเวศ วะสี. กระบวนการนโยบายสาธารณะ (Public Policy Process). พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : มูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติ, 2549.
รังสรรค์ ธนะพรพันธุ์. ทางเลือกทางรอดในยุคโลกาภิวัตน์. ค้นวันที่ 22 พฤษภาคม 2552. จาก http://midnightuniv.org/miduniv2001/newpage7.html.
วุฒิชัย วชิรเมธี. การสร้างวัฒนธรรมธรรมาภิบาลสิ่งแวดล้อมในสังคมไทย. ในเอกประกอบการประชุมวิชาการสถาบันประปกเกล้า ครั้งที่ 10 ประจาปี 2551. กรุงเทพฯ: ส เจริญการพิมพ์, 2551.
ศุภชัย ยาวะประภาษ. นโยบายสาธารณะ. พิมพ์ครั้งที่ 6. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2548.
สมบัติ ธารงธัญวงศ์. นโยบายสาธารณะ : แนวความคิด การวิเคราะห์และกระบวนการ. กรุงเทพฯ : คณะรัฐประศาสนศาสตร์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2545.
สถาบันสิ่งแวดล้อมไทยและคณะ. คู่มือตัวชี้วัดธรรมาภิบาลสิ่งแวดล้อม ฉบับประชาชน. กรุงเทพฯ: สถาบันสิ่งแวดล้อมไทย, 2550.
สำนักกรรมาธิการ 2. รายงานของคณะกรรมาธิการการมีส่วนร่วมของประชาชน สภานิติบัญญัติแห่งชาติ พิจารณาศึกษาเรื่องร่างพระราชบัญญัติการมีส่วนร่วมของประชาชน พ.ศ. .... กรุงเทพฯ: สานักงานเลขาธิการวุฒิสภา, ม.ป.ป.
Anderson, James E. Public Policy Making. U.S.A.: Houghton Mifflin Company, 2000.
Easton, David. The political system. Newyork : Knopf, 1953.
Sharkansky ,Ira. Policy Analysis in Political Science. Chicago: Markham, 1970.
Peterson Steven A. Pubblic Policy. In. Encyclopedia of Public Administration and Public Po licy. Vol. 2. Newyork : Marcel Dekker, 2003. United nations. The Aarhus Convention: An Implementation Guide. Geneva: United Nations, 2000.