การพัฒนาระบบบริหารการตรวจราชการของประเทศไทย

Main Article Content

Supot Saikaew

Abstract

     กระแสการพัฒนาแบบโลกาภิวัตน์ (globalization) ได้มีผลทาให้ระบบเศรษฐกิจแบบกลไกตลาด (market economy) การปกครองในระบอบประชาธิปไตยแบบมีส่วนร่วม (participatory democracy) และการจัดการปกครองการบริหาร (governance) ตามหลักนิติรัฐ ได้แพร่กระจายขยายตัว ได้รับการยอมรับและนามาใช้เป็นกรอบคิดหลักในระบบการผลิตและระบบการจัดการปกครองของประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก (ไชยรัตน์ เจริญสินโอฬาร, 2549. Thomas L. Friedman, 2005) และเป็นปัจจัยภายนอกที่ผลักดันให้ระบบบริหารจัดการของประเทศต่างๆ ต้องเร่งจัดให้มีการปฏิรูปหรือปรับปรุงอย่างขนานใหญ่ ดังจะเห็นได้จากข้อเรียกร้องในเชิงข้อกาหนดว่าด้วยการส่งเสริมสนับสนุนให้มีการพัฒนาการดาเนินงานตามหลักธรรมาภิบาล หรือการพัฒนาระบบบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี (good governance) ที่องค์การระหว่างประเทศ รวมทั้งรัฐบาลของประเทศต่างๆ ได้นามาใช้เป็นตัวแบบในการผลักดัน ปรับปรุง พัฒนาแนวทางการบริหารจัดการปกครองการบริหารของประเทศต่าง ๆ (OECD, 2005)


     ในส่วนของประเทศไทย การพัฒนาระบบบริหารจัดการขององค์กรภาครัฐให้เกิดผลอย่างเป็นรูปธรรม ถือเป็นนโยบายสาธารณะที่สาคัญ ดังจะเห็นได้จากบทบัญญัติในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยปีพ.ศ. 2540 และปีพ.ศ. 2550 เกี่ยวกับแนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ หรือการที่รัฐบาลหลายชุดที่ผ่านมาได้มีนโยบายที่ชัดเจนในการพัฒนาระบบบริหารจัดการภาครัฐ โดยจัดให้มีการปรับปรุงพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน และจัดตั้งคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการขึ้น เพื่อทาหน้าที่เป็นเจ้าภาพในการดาเนินงานพัฒนาระบบราชการ ให้ระบบราชการสามารถปรับตัวได้ทันต่อเหตุการณ์และทันต่อกระแสการเปลี่ยนแปลงของสังคมโลก


     นอกจากเหตุปัจจัยภายนอกข้างต้นแล้ว ระบบบริหารการตรวจราชการของประเทศไทยยังได้เผชิญกับปัญหาและความต้องการในการพัฒนาระบบบริหารการตรวจราชการอีกหลายประการ กล่าวคือ


     1. ปัญหาในการปฏิบัติหน้าที่ของผู้ตรวจราชการที่ผ่านมา การปฏิบัติหน้าที่ของผู้ตรวจราชการในประเทศไทยได้ประสบปัญหาหลายประการ อาทิ ปัญหาด้านเทคนิควิธีในการตรวจราชการที่ไม่เป็นไปตามมาตรฐานเดียวกัน ปัญหาด้านแนวทาง จุดเน้นของการตรวจราชการที่ไม่สอดรับกับบริบทของการบริหารราชการในช่วงปัจจุบัน ปัญหาเกี่ยวกับการประสานการตรวจราชการระหว่างส่วนราชการต่างสังกัดและระหว่างผู้ตรวจราชการแต่ละระดับ และปัญหาการแต่งตั้งให้ข้าราชการดารงตาแหน่งผู้ตรวจราชการที่เบี่ยงเบนไปจากหลักการ


     2. การเพิ่มขึ้นของกลไกการควบคุม ตรวจสอบการบริหาร การปฏิรูปการเมือง ผ่านการประกาศใช้รัฐธรรมนูญ ได้มีผลทาให้โครงสร้างกลไกสาหรับการควบคุม ตรวจสอบการบริหารราชการแผ่นดินมีโครงสร้าง กระบวนการที่ซับซ้อนมากขึ้น มีการกาหนดให้มีองค์กรอิสระเข้ามาทาหน้าที่ควบคุมตรวจสอบ การบริหารของส่วนราชการเพิ่มขึ้น รวมทั้งเพิ่มโอกาสและช่องทางให้ประชาชนและสื่อมวลชนสามารถทาหน้าที่ดังกล่าวได้มากขึ้น ภายใต้ข้อกาหนดของพรบ.ข้อมูลข่าวสารของทางราชการ ในขณะที่ก็ยังมีกลไกและเครื่องมือของฝ่ายบริหารสาหรับควบคุม ตรวจสอบการบริหารของส่วนราชการอีกบางส่วน ลักษณะของโครงสร้างและกลไกการควบคุม ตรวจสอบการบริหารราชการของส่วนราชการทั้งหมด


     3. การพัฒนาระบบบริหารจัดการภาครัฐที่ยังไม่ประสบผลสาเร็จอย่างเป็นรูปธรรม ได้มีผลทาให้ประเทศไทยต้องมีการผลักดันและดาเนินนโยบายปฏิรูประบบราชการให้เกิดประสิทธิผลอีกต่อไปอย่างต่อเนื่องและเข้มข้น โดยเฉพาะนโยบายการปรับเปลี่ยนองค์การภาคราชการให้เป็นองค์การสมรรถนะสูง (high performance public organization) ได้มีผลทาให้ทุกส่วนราชการต้องมีการปรับปรุงทบทวน ทิศทางการดาเนินงานอย่างทั่วถ้วน ทั้งในส่วนของโครงสร้างระบบงาน และกระบวนการในควบคุมตรวจสอบผลการดาเนินงาน ให้สอดรับกับวิธีปฏิบัติราชการตามกระบวนทัศน์การจัดการภาครัฐแนวใหม่ ระบบการตรวจราชการในฐานะที่เป็น ระบบย่อยในระบบบริหารของส่วนราชการ และเป็นเครื่องมือช่วยให้ผู้บริหารสามารถปฏิบัติภารกิจ หน้าที่ได้อย่างมีประสิทธิผล จึงจาเป็นต้องได้รับการทบทวนปรับปรุงให้สอดรับกับสถานการณ์แวดล้อมทางการบริหารของส่วนราชการ


     4. การควบคุม ตรวจสอบการบริหารจัดการที่มุ่งผลงานเชิงยุทธศาสตร์ ที่ให้ความสาคัญต่อความพร้อมรับผิด (accountability) ที่ครอบคลุม สมดุล ทั้งในส่วนของความพร้อมรับผิดในการปฏิบัติงานให้ถูกต้องตามระเบียบ กฎหมาย ความพร้อมรับผิดต่อผลสัมฤทธิ์ และความพร้อมรับผิดในการเสริมสร้างขีดสมรรถนะและศักยภาพทางการบริหาร มีผลทาให้ส่วนราชการต้องทบทวนปรับปรุงระบบการควบคุม และการตรวจราชการ ให้เป็นระบบที่มุ่งเน้นในเรื่องผลสัมฤทธิ์และการพัฒนาขีดสมรรถนะมากขึ้น


     จากเหตุปัจจัยผลักดันข้างต้น อันได้แก่ กระแสการพัฒนาแบบโลกาภิวัตน์ การสร้างเสริมธรรมาภิบาล การพัฒนาระบบบริหารจัดการภาครัฐแนวใหม่ และการมีปัญหาภายในของระบบการตรวจราชการ อันประกอบด้วย 1) ปัญหาในการปฏิบัติหน้าที่ของผู้ตรวจราชการ 2) ความซ้าซ้อนของกลไกควบคุม ตรวจสอบการบริหาร 3) การปฏิรูประบบบริหารภาครัฐที่ยังคงมีการดาเนินการโดยต่อเนื่อง 4) ความเคลื่อนไหวในการควบคุม ตรวจสอบการบริหารราชการแนวใหม่ จึงบ่งชี้ถึงความจาเป็นที่จะต้องเร่งจัดให้มีการแสวงหา พัฒนาองค์ความรู้ ตัวแบบ แนวทาง วิธีการที่เหมาะสมที่นาไปสู่การพัฒนาระบบบริหารการตรวจราชการของส่วนราชการ

Article Details

How to Cite
saikaew, supot . (2020). การพัฒนาระบบบริหารการตรวจราชการของประเทศไทย. King Prajadhipok’s Institute Journal, 7(3). Retrieved from https://so06.tci-thaijo.org/index.php/kpi_journal/article/view/244635
Section
Original Articles

References

ไชยรัตน์ เจริญสินโอฬาร, รัฐ-ชาติกับ(ความไร้)ระเบียบโลกชุดใหม่, กรุงเทพฯ สำนักพิมพ์วิภาษา, 2549.

Thomas L. Friedman, ใครว่าโลกกลม เล่ม 1-3 กรุงเทพฯ สานักพิมพ์ วีเลิร์น ,2550

OECD., Cutting Red Tape Comparing Administrative Burdens across Countries, OECD Publishing, www.sourceoecd.org/governance /9789264008212

Paul C. Light, Monitoring Government: Inspectors General and the Search for Accountability. Washington, D.C.: Brookings Institution, 1993.

Peters B. Guy and Savoie Donald G, (1995). Governance in a Changing Environment, Montreal & Kingston : Canadian Center for Management Development, 1995.

Richard L. Daft, Organization Theory and Design

Stephen A. Trodde, “The Objectives and Performance of Performance Auditing: A Perspective of a United States Inspector-General” in OECD, Performance Auditing and the Modernization of Government. Paris: OECD, 1996.

Stephen Goldsmith, William D. Eggers, Governing by Network : the new shape of the public sector, 2006.

Stephen J. Root, Beyond COSO: Internal Control to Enhance Corporate Governance. N.Y.: John Wiley, 1998.