ผลกระทบอันเกิดจากการเลือกตั้งนายกเทศมนตรีทางตรง : กรณีศึกษาเทศบาลเมืองมหาสารคาม

Main Article Content

Alongkorn Akkasaeng

Abstract

     ปัญหาความอ่อนแอของฝ่ายบริหารเป็นปัญหาที่เกิดขึ้นมาพร้อมๆ กับกาเนิดของเทศบาลไทย ความอ่อนแอดังกล่าวคือการที่มีการเปลี่ยนแปลงผู้บริหารบ่อยครั้ง เทศบาลบางแห่งมีการเปลี่ยนนายกเทศมนตรีเกือบจะทุกปี บางแห่งเป็นข้อตกลงระหว่างลูกผู้ชายว่าจะแบ่งกันเป็นนายกเทศมนตรีคนละครึ่งวาระ ปัญหาความไม่ต่อเนื่องดังกล่าวนามาซึ่งปัญหาหลายประการ เช่น ความไม่ต่อเนื่องของนโยบาย ความไม่ต่อเนื่องของทิศทางการพัฒนา การขาดภาวะผู้นาในองค์กร และแน่นอนที่สุดผลเสียตกอยู่กับประชาชนในเขตเทศบาล ความพยายามที่จะแก้ไขปัญหาดังกล่าวมีอยู่ตลอดเวลา เช่น การแก้ไขกฎหมายให้สมาชิกสภาเทศบาลไม่สามารถลงมติไม่ไว้วางใจคณะเทศมนตรีและให้นายกเทศมนตรีทาหน้าที่ประธานสภาเทศบาล2 หรือ การให้อานาจในการแต่งตั้งฝ่ายบริหารของเทศบาลเป็นอานาจของข้าหลวงประจาจังหวัดจากเดิมที่เป็นอานาจของสภาเทศบาล3 เป็นต้น ในที่สุดในทศวรรษที่ 2540 ซึ่งถือเป็นยุคทองของการกระจายอานาจในประเทศไทย มีการเปลี่ยนแปลงหลายประการเกิดขึ้นกับการกระจายอานาจและการปกครองท้องถิ่นของไทย ซึ่งอาจกล่าวได้ว่าการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวมีที่มาสาคัญจากบทบัญญัติในกฎหมายรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2540 ซึ่งเป็นกฎหมายรัฐธรรมนูญที่ให้ความสาคัญและมีบทบัญญัติถึงเรื่องการกระจายอานาจและการปกครองท้องถิ่นมากกว่ารัฐธรรมนูญทุกฉบับที่มีการบังคับใช้ก่อนหน้านั้น

Article Details

How to Cite
akkasaeng, alongkorn . (2020). ผลกระทบอันเกิดจากการเลือกตั้งนายกเทศมนตรีทางตรง : กรณีศึกษาเทศบาลเมืองมหาสารคาม. King Prajadhipok’s Institute Journal, 7(3). Retrieved from https://so06.tci-thaijo.org/index.php/kpi_journal/article/view/244636
Section
Original Articles