การเข้าถึงวิถีประชาธิปไตยแบบชาวบ้าน : ก้าวแรกสู่การพัฒนาการเมืองภาคประชาชน

Main Article Content

Piyapong Boossabong

Abstract

     ปัญหาใหญ่ของสังคมไทยตอนนี้ คือ การเกิดช่องว่างระหว่างการเมืองของรัฐซึ่งเป็นโครงสร้างส่วนบนกับการเมืองของประชาชนที่เป็นโครงสร้างส่วนล่าง หรือ ที่กล่าวในภาษาที่เป็นวิชาการก็คือการเกิดช่องว่างระหว่างปรัชญาแห่งรัฐ (State Philosophy) ที่กาหนดโดยการเมืองแบบตัวแทน (ทั้งเลือกตั้งและแต่งตั้ง) กับวัฒนธรรมทางการเมืองของประชาชน (Political Culture) ที่สร้างสมและเกาะเกี่ยวอยู่กับรากฐานทางวัฒนธรรม วิถีชิวิต ทุนทางสังคม และความเป็นมาทางประวัติศาสตร์ของชุมชนท้องถิ่น


     ภายใต้ช่องว่างดังกล่าว จึงไม่ผิดที่จะกล่าวว่ายิ่งรัฐมุ่งพัฒนาการเมืองแบบประชาธิปไตย โดยนาปรัชญาแห่งรัฐมาถ่ายโอนสู่ประชาชน เช่น การให้ความรู้เรื่องรัฐธรรมนูญ ระบอบและระบบการปกครองแบบประชาธิปไตย รวมถึง กลไกแบบที่ “นัก” ประชาธิปไตยพึงรู้ ยิ่งนาไปสู่การปะทะกันระหว่างประชาธิปไตยที่เป็นปรัชญาแห่งรัฐกับประชาธิปไตยที่เป็นวิถีที่สอดรับกับวัฒนธรรมทางการเมืองของประชาชนหรือประชาธิปไตยแบบ “ชาว” ประชาธิปไตยมากยิ่งขึ้นเท่านั้น


     จากข้างต้น โจทย์ที่ต้องหาคาตอบก็คือ จะลดช่องว่างที่นาไปสู่การปะทะกันดังกล่าวได้อย่างไร ซึ่งคาตอบหลวมๆที่คนไทยคุ้นชินกันดีก็คือ การสร้างดุลยภาพหรือสมดุลให้เกิดขึ้น ระหว่างประชาธิปไตยที่เป็นโครงสร้างส่วนบนกับประชาธิปไตยที่เป็นโครงสร้างส่วนล่าง นั่นคือ การหาทางสายกลางระหว่างประชาธิปไตยของภาครัฐกับประชาธิปไตยของภาคประชาชนนั่นเอง


     ทั้งนี้ ความท้าทายอยู่ที่การหาคาตอบต่อเนื่องที่ว่า จะสร้างดุลยภาพดังกล่าวนั้นให้เกิดขึ้นได้อย่างไร ซึ่งจุดเริ่มต้นก็คือ จาเป็นจะต้องทาความรู้จักวิถีประชาธิปไตยของประชาชนหรือชาวบ้านอย่างจริงจังเสียก่อน โดยต้องตระหนักว่า มิใช่ว่าสิ่งที่ “นัก” ประชาธิปไตยเสนอเท่านั้น ที่เป็นประชาธิปไตยที่แท้จริง นั่นคือ ต้องฟัง สิ่งที่ “ชาว” ประชาธิปไตยเสนอด้วย กล่าวคือ ต้องเข้าให้ถึงวิถีประชาธิปไตยแบบชาวบ้าน เพื่อเคลื่อนไปสู่การพัฒนาการเมือง โดยเฉพาะการเมืองภาคประชาชนที่ไปไกลกว่าการครอบงาความคิดด้วยประชาธิปไตยแบบจัดตั้ง แบบกลไก แบบมีแต่เปลือก และที่สาคัญคือ แบบที่ไปเดิมพันวิถีประชาธิปไตยที่เป็นทุนเดิมที่ภาคประชาชนมีอยู่ กระทั่ง ทาให้ต้องแลกว่าถ้าเอาประชาธิปไตยแบบรัฐ ก็ต้องเสียประชาธิปไตยแบบของตนเองไป เช่น ประชาธิปไตยเชิงสถาบัน กล่าวคือ ต้องเคารพผลการเลือกตั้ง และที่มาอันชอบธรรมของตัวแทน (Parliamentary Democracy) ปะทะอยู่เสมอกับวิถีประชาธิปไตยที่ว่าด้วยการต่อสู้เรียกร้องสิทธิที่ถูกทาให้หายไป แม้ว่าจะต้องทลายกฏเกณฑ์ที่มีอยู่ก็ตาม (Radical Democracy) ซึ่งเป็นเงื่อนไขความขัดแย้งที่เกิดขึ้นในสังคมไทยมายาวนาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งสถานการณ์ในปัจจุบันที่ความขัดแย้งไม่ใช่การต่อสู้ทางอุดมการณ์ที่ต่างขั้วกันเหมือนในอดีตแต่อย่างใด แต่เป็นความขัดแย้งของผู้ที่อ้างประชาธิปไตยเหมือนกัน ทว่า เป็นประชาธิปไตยที่ไม่เหมือนกัน และไม่ใช่ประชาธิปไตยแบบสองนครา หากแต่เป็นประชาธิปไตยแบบทวิภพ


     บทความนี้ จึงขอนาเสนอผลการวิจัยในเบื้องต้นที่เป็นการถอดกายภาค (Anatomy) ของประชาธิปไตยแบบชาวบ้าน เพื่อให้เป็นจุดเริ่มต้นของการพัฒนาการเมืองแบบล่างขึ้นบน (Bottom up) หรือ การเมืองของภาคประชาชน อันจะนาไปสู่การเชื่อมภพของการเมืองสองมิตินี้ได้ต่อไป โดยเลือกศึกษาประชาธิปไตยในเชิงวิถี (Way of life) ที่แทรกอยู่ในสังคมอีสาน ในฐานะที่เป็นภูมิภาคที่ประวัติศาสตร์การเมืองไทยปฏิเสธไม่ได้ว่าเป็นภูมิภาคที่การเมืองไทยมีส่วนไปออกแบบลักษณะเฉพาะของภูมิภาคนี้ และในขณะเดียวกัน ภูมิภาคนี้ก็มีส่วนในการออกแบบการเมืองไทยเช่นเดียวกัน

Article Details

How to Cite
boossabong, piyapong . (2020). การเข้าถึงวิถีประชาธิปไตยแบบชาวบ้าน : ก้าวแรกสู่การพัฒนาการเมืองภาคประชาชน. King Prajadhipok’s Institute Journal, 6(2). Retrieved from https://so06.tci-thaijo.org/index.php/kpi_journal/article/view/244662
Section
Original Articles

References

กมล สมวิเชียร. ประชาธิปไตยกับสังคมไทย. กรุงเทพฯ : ไทยวัฒนาพานิช, 2520.

คณะกรรมการจัดงานเชิดชูนักสู้เพื่อประชาธิปไตย. เส้นทางนักสู้ศรีสะเกษ: จากกบฏผู้มีบุญถึงกบฏคูซอดและกบฏประชาธิปไตย.ห้างหุ้นส่วนจากัดภาพพิมพ์, 2543.

ชาญวิทย์ เกษตรศิริ (รวบรวม). ประชาธิปไตยของชาวบ้าน. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์พิฆเณศ, 2516.

วรวุฒิ โรมรัตนพันธ์. ทุนทางสังคม. กรุงเทพฯ : โครงการสร้างเสริมการเรียนรู้เพื่อชุมชนเป็นสุข (สรส.), 2548.

พระเทพเวที. การสร้างสรรค์ประชาธิปไตย. กรงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, 2535.

สมชัย ภัทรธนานันท์. อีสานกับรัฐไทย การครอบงำ ความขัดแย้ง และการต่อต้าน. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์. 24(2) เมษายน-มิถุนายน 2548. หน้า 99-120.

สาลี รักสุทธี. ผญา: ปรัชญาการดำเนินชีวิตอันล้ำค่าของชาวอีสาน. กรุงเทพฯ: ธนธัชการพิมพ์, 2549.

Beetham, David. Defining and measuring democracy. London : Sage Publications, 1994.

Blaug, Ricardo. Democracy, real and ideal : Discourse ethics and radical politics. New York : State University of New York Pres, 1999.

Fukuyama. Trust: the social virtues and the creation of prosperity. London : Hamish Hamilton, c1995.

Guerin, Daniel. Anarchism: From Theory to Practice. Musgrave : Zabalaza book, n. d.

Held, David. Models of democracy. Cambridge : U.K. : Polity Press, 1997.

Ian Shapiro and Casiano Hacker-Cordon. Democracy's value. Cambridge : Cambridge University Press, 1999.

Jeamteerasakul, Somsak. The Communist Movement in Thailand. Ph.D.thesis, Department of Politics, Monash University, Australia, 1991.

Lin, Nam. Social Capital : A Theory of Social Structure and Action. Cambridge : Cambridge University Press, 2001.

Phatharathananunth, Somchai. Civil Society, Radical Democracy, and Democratisation in Thailand: An Isan Perspective. 7 th International Conference on Thai Studies Amsterdam, 4-8 July 1999.

Phatharathananunth, Somchai. Isan Political Tradition: Patron-clients VS. Socialism. In Ji Giles Ungpakorn. Radicalising Thaland: New Politcal Perspectives. Institute of Asian Studies Chulalongkorn University, 2003.

Putnam, Robert D. Bowling Alone: The Collapse and Revival of American Community. New York: Simon and Schuster, 2000.

Putnam, Robert D. editor. Democracies in Flux : The evolution of social capital in contemporary society. New York : Oxford University Press, 2002.