การเลือกตั้งผู้แทนจากกลุ่มอาชีพจะแก้ปัญหาประชาธิปไตยแบบมีตัวแทนได้หรือไม่ : บทวิจารณ์ความเป็นไปได้ของข้อเสนอการเมืองใหม่

Main Article Content

Montri Chenvidyakarn

Abstract

     นับตั้งแต่ปฐมบทการพยายามสร้างประชาธิปไตยในประเทศไทย หลังการปฏิวัติสยาม พ.ศ.2475 เป็นต้นมาจนถึงปัจจุบัน “การปกครองโดยรัฐสภา” ได้รับการยอมรับว่าเป็นหลักการสาคัญของการปกครองประเทศ กล่าวคือ การเลือกตั้งผู้แทนบนพื้นฐานของการแบ่งเขตพื้นที่ภูมิศาสตร์ (geographical constituencies) เป็นวิธีการหลักที่ใช้มาตลอดจนบางครั้งการได้รับการเลือกตั้งกลายเป็นข้ออ้างความชอบธรรมของผู้แทนในการใช้อานาจทางการเมือง และการได้เป็นผู้แทนที่มาจากการเลือกตั้งเป็นข้อที่ใช้อ้างโดยรัฐบาลและผู้สนับสนุนในสภาผู้แทนราษฏรว่ามีความชอบธรรมสูงกว่าวุฒิสมาชิกที่มาจากการแต่งตั้ง หรือจากการสรรหา รวมไปถึงการกระทาที่ก้าวล่วงไปท้าทายอานาจศาลว่า ผู้พิพากษาไม่กี่คนที่มาจากการแต่งตั้งไม่น่าจะมีสิทธิในการตัดสินวินิจฉัยความผิดของนักการเมืองที่มาจากการเลือกตั้ง การปกครองในระบอบประชาธิปไตยแบบมีตัวแทนที่ใช้อยู่ในประเทศไทยจึงเป็นการปกครองที่เน้นความเป็นประชาธิปไตยแบบวิธี สบัญญัติ (procedural) มากกว่าเน้นเนื้อหา หลักการ และปรัชญาของอุดมการณ์ประชาธิปไตย เกิดสภาพการต่อสู้ทางการเมืองที่เน้นการเลือกตั้งว่าเป็นวิธีการได้มาซึ่งความชอบธรรมในการปกครองเพียงวิธีเดียว ซึ่งมิใช่เป็นปรากฏการณ์ที่เกิดเฉพาะในประเทศไทยเท่านั้น เพราะแม้แต่ประเทศที่มีการปกครองแบบอานาจนิยมหรือเผด็จการ ผู้นาของประเทศก็มักจะอ้างความชอบธรรมว่ามาจากการเลือกตั้ง เกิดเป็นความเชื่อที่นักวิชาการเรียกว่า electoralism ซึ่งเป็นความเข้าใจที่ไม่ถูกต้องนัก นักเขียนเรื่องประชาธิปไตยถือว่า electoralism เป็น fallacy อย่างหนึ่งแม้กระทั่งในบรรดาผู้ที่เชื่อว่า แท้จริงแล้วประชาธิปไตยเป็นเพียงวิธีการ (method) อย่างหนึ่งในการได้มาซึ่งอานาจอันชอบธรรมของผู้แสวงหาอานาจจากการลงสมัครรับเลือกตั้ง

Article Details

How to Cite
chenvidyakarn, montri . (2020). การเลือกตั้งผู้แทนจากกลุ่มอาชีพจะแก้ปัญหาประชาธิปไตยแบบมีตัวแทนได้หรือไม่ : บทวิจารณ์ความเป็นไปได้ของข้อเสนอการเมืองใหม่. King Prajadhipok’s Institute Journal, 6(3). Retrieved from https://so06.tci-thaijo.org/index.php/kpi_journal/article/view/244670
Section
Original Articles

References

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550.

Birch, A.H. (1964). Representative and Responsible Government : An Essay on the British Constitution (Toronto, University of Toronto Press.) โดยเฉพาะ Chapter 18 “Theories of Group Representation.” pp.105-113.

Bohman, James and Williams Rehg (eds). (1997). Deliberative Democracy : Essays on Reason and Politics. Cambridge ; Massachusetts, the MIT Press.

Davies, Peter and Dereck Lynch. (2002). The Routledge Companion to Fascism and the Far Right. London : Rout ledge.

Dryzek, John S. (1990). Discursive Democracy : Politics, Policy, and Political Science. Cambridge : Cambridge University Press.

Dryzek, John S. (2002). Deliberative Democracy and Beyond : Liberals, Critics, Contestations. Oxford : Oxford University Press.

Faulks, Keith. (2002). Political Sociology : A Critical Introduction. New York : New York University Press. pp.143-162.

Greenwood, Justin (2007), Interest Representation in the European Union, second edition. New York : Palgrave Macmillan.

Greger, A. James. (1979). Italian Fascism and Developmental Dictatorship. New Jersey : Princeton University Press.

Hirst, Paul. (1990). Representative Democracy and Its Limits. Cambridge : U.K. Polity Press. ดู Corporatism, หน้า 96, 118, 143-4, 146, 148, 270.

Hirst, Paul. (1994). Associative Democracy : New Forms of Economic and Social Governance. Cambridge, U.K. : Polity Press.

Huntington, Samuel P. (1991). The Third Wave : Democratization in the Late Twentieth Century. Norman : University of Oklahoma Press.

Goodin, Robert E, Reflective Democracy 2003. Oxford : Oxford University Press.

Macedo, Stephen (ed). 1999. Deliberative Politics : Essays on Democracy and Disagreement. New York : Oxford University Press.

Nolte, Ernst. (1963, 1965). Three Faces of Fascism : Action Francaise, Italian Fascism, National Socialism. New York : Mentor Book.

Pitkin, Hanna Fenichel. (1967). The Concept of Representation. Berkley : University of California Press. Chapter 4 “Standing For Descriptive Representation “, pp. 60-91.

Pennock, J. Roland. (1979). Democratic Political Theory. Princeton, New Jersey : Princeton University Press.

Fischer, Frank (2006). “Participatory Governance as Deliberative Empowerment,” American Review of Public Administration Vol.36, No.1, (arch 2000), 19-40.

Martin, Brian. (2001). “Democracy Without Election,” Social Anarchism, No.21, 1995-96. pp 18-51.

Linsey, Josan Royce. Functional Representation and Its Anarchist Origins (N.D.). Unpublished paper.

Tupone, Ferdinando, (2008). “From Neo-Corporatism to Neo-Neo Corporatism : Rethinking the Corporatist Approach” Discussion Paper. University of Bologna, Forli, (June 5-7, 2008).

Hongkong 2006 – Constitution and Administration/ http://www.yearbook.gov.hk/2006/en/01)06htm.3 pages.

Ludwig von Mises Institute (Alabama), “xxx111. Syndicalism and Corporatism” http://mises.org/humanaction/chap33sec4.asp 4 pages