ถอดบทเรียนรัฐธรรมนูญ 2540 เพื่อร่างรัฐธรรมนูญ 2550

Main Article Content

Nukun Sanyathitiseree

Abstract

     รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 ซึ่งได้ชื่อว่าเป็นรัฐธรรมนูญที่ดีมากฉบับหนึ่งของโลก แต่ภายหลังการบังคับใช้ กระบวนการตามที่รัฐธรรมนูญ 2540 กาหนดได้นาพาประเทศไปสู่ทางตัน ไม่มีช่องทางแก้ไขปัญหาวิกฤตการณ์ทางการเมือง กลไกตามครรลองประชาธิปไตยที่กาหนดไว้ในรัฐธรรมนูญ 2540 ล้มเหลว จนกระทั่งเมื่อวันที่ 19 กันยายน 2549 การเมืองของไทยกลับหันหลังมาที่การแก้รัฐธรรมนูญอีกครั้ง โดยรัฐธรรมนูญ 2540 ได้ถูกยกเลิกโดยคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข (คปค.)


     นับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2475 ประเทศไทยมีการปฏิวัติ 1 ครั้ง การรัฐประหาร 11 ครั้ง และกบฏ 11 ครั้ง ในการปฏิวัติรัฐประหารดังกล่าวนั้น ได้ล้มล้างรัฐธรรมนูญ 8 ครั้ง โดยได้มีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญฉบับที่เคยใช้อยู่ 2 ครั้ง ทั้งนี้ โดยเฉลี่ยแล้ว มีการพยายามทาการปฏิวัติรัฐประหารในทุก 3 ปี และเกิดการปฏิวัติรัฐประหารในทุก 5 ปี และช่วงที่ว่างเว้นการปฏิวัติรัฐประหารที่ยาวนานที่สุด คือ ช่วงหลังเหตุการณ์พฤษภา 2535 จนถึง 19 กันยายน 2549 นอกจากนั้น ประเทศไทยยังเป็นประเทศที่ใช้รัฐธรรมนูญเปลืองมากที่สุด ซึ่งรัฐธรรมนูญที่เพิ่งถูก คปค. ยกเลิกไปนั้น เป็นฉบับที่ 16 ดังนั้น โดยเฉลี่ยแล้วประเทศไทยใช้รัฐธรรมนูญ 4 ปี ต่อ 1 ฉบับ


     ภายหลังการยกเลิกรัฐธรรมนูญ ฉบับที่ 16 แล้ว ก็ได้มีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2549 ซึ่งได้บัญญัติเกี่ยวกับการจัดทาร่างรัฐธรรมนูญใหม่ กระบวนการยกร่างรัฐธรรรมนูญ ทั้งในส่วนการได้มาซึ่งสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ กระบวนการทางานของสภาร่างรัฐธรรมนูญ การได้มาซึ่งคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ และกระบวนการร่างรัฐธรรมนูญ ที่นากระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชนมาใช้ เพื่อทาให้รัฐธรรมนูญดังกล่าวได้รับการยอมรับ


     การยกร่างรัฐธรรมนูญในประเทศไทยเกิดขึ้นบ่อยมาก เป็นการกลับไปสู่วงจรเดิม ๆ ที่ไม่สามารถหลุดพ้น เป็นระยะเวลานานถึง 75 ปี ทั้งนี้ กระบวนการจัดทาร่างรัฐธรรมนูญในบรรยายกาศทางการเมืองที่เป็นประชาธิปไตยหรือไม่เป็นประชาธิปไตย ก็จะมีผลต่อการให้ประชาชนชาวไทยส่วนใหญ่มีส่วนเกี่ยวข้องในการร่างรัฐธรรมนูญโดยแท้จริง หรือเป็นการร่วมกันร่างโดยกลุ่มอานาจระดับบน แต่การร่างรัฐธรรมนูญจะสาเร็จได้ ก็เมื่อประชาชนยอมรับร่วมกัน


     รัฐธรรมนูญ 2540 เป็นรัฐธรรมนูญที่ดีมาก และได้ชื่อ ‚รัฐธรรมนูญฉบับประชาชน‛ เป็นรัฐธรรมนูญที่มีประชาชนมีส่วนร่วมในการจัดทารัฐธรรมนูญมากที่สุด แล้วเกิดอะไรกับรัฐธรรมนูญฉบับนี้ ต้องร่วมกันพิจารณาว่า ในรัฐธรรมนูญ 2540 มีอะไรผิด และในการปฏิบัติตามรัฐธรรมนูญหรือการนารัฐธรรมนูญ 2540 มาใช้เกิดอะไรขึ้น ทาไม่ต้องถูกยกเลิก แล้วการจัดทาร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่นั้น จะมีกระบวนการที่ไม่ด้อยไปกว่าการร่างรัฐธรรมนูญ 2540 หรือไม่ โดยเฉพาะในส่วนของกระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชน และรัฐธรรมนูญใหม่จะแก้ไขปัญหาที่เกิดจากรัฐธรรมนูญ 2540 ได้หรือไม่


     ที่กล่าวมานั้น เป็นประเด็นสาคัญที่กระบวนการยกร่างรัฐธรรมนูญต้องพิจารณากันอย่างรอบคอบ และมองทุกอย่างอย่างรอบด้าน เพราะถ้าผิดพลาดอาจจะนาไปสู่การไม่ได้ใช้รัฐธรรมนูญ ฉบับที่ยกร่างโดยสภาร่างรัฐธรรมนูญ หรืออาจจะนาไปสู่การล้มล้างรัฐธรรมนูญทั้งฉบับ รวมทั้งนาไปสู่ปัญหาทางการเมืองที่ใช้ความรุนแรงอย่างกว้างขวางได้

Article Details

How to Cite
sanyathitiseree ื. . . (2020). ถอดบทเรียนรัฐธรรมนูญ 2540 เพื่อร่างรัฐธรรมนูญ 2550. King Prajadhipok’s Institute Journal, 5(1). Retrieved from https://so06.tci-thaijo.org/index.php/kpi_journal/article/view/244676
Section
Original Articles

References

เอกสารประกอบการประชุมวิชาการสถาบันพระปกเกล้า KPI Congress ครั้งที่ 8 ประจำปี 2549 วันที่ 3 – 5 พฤศจิกายน 2549

http://www.prachatai.com/05web/th/home/page2.php?mod=mod_ptcms&ContentID=5712&SystemModuleKey=HilightNews&SystemLanguage=Thai (2549)

http://www.prachatai.com/05web/th/home/page2.php?mod=mod_ptcms&ContentID=5713&SystemModuleKey=HilightNews&SystemLanguage=Thai (2549)