บทบัญญัติว่าด้วย “สภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ” ในรัฐธรรมนูญ

Main Article Content

Pannarai Kantaghit

Abstract

     “สภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ” เป็นนวัตกรรมใหม่ของสังคมไทยที่อนุวัติตาม บทบัญญัติว่าด้วยแนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐธรรมนูญฯ 2540 มาตรา 89 ที่มีสภาเศรษฐกิจและสังคม สาธารณรัฐฝรั่งเศส เป็นต้นแบบ1 โดยการนาหลักการในระบอบประชาธิปไตยโดยตรงมาใช้ร่วมกับหลักการในระบอบประชาธิปไตยแบบมีส่วนร่วม โดยในด้านนิติบัญญัติ ก็ให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการเข้าชื่อเสนอกฎหมาย ในด้านตุลาการหรือกระบวนการตรวจสอบการใช้อานาจรัฐ ก็ให้ประชาชนมีสิทธิ เข้าชื่อถอดถอนผู้ดารงตาแหน่งนักการเมืองและผู้บริหารระดับสูง เพื่อนาไปสู่การพิจารณาถอดถอนและนาไปสู่การดาเนินคดีของฝ่ายตุลาการ และในด้านบริหาร โดยเฉพาะการกาหนดนโยบายและการบริหารราชการของฝ่ายบริหาร ตลอดจนแนวทางการแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ ก็ให้ประชาชนโดยสภาที่ปรึกษาฯ มีหน้าที่ให้ความเห็นและข้อเสนอแนะในปัญหาเกี่ยวกับเศรษฐกิจและสังคม รวมทั้งให้ความเห็นเกี่ยวกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ก่อนพิจารณาประกาศใช้


     ต่อมาพระราชบัญญัติสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ พ.ศ. 2543 ได้บัญญัติเกี่ยวกับ องค์ประกอบ ที่มา อานาจหน้าที่ และการดาเนินงานของสภาที่ปรึกษาฯ โดยมาตรา 5 ได้บัญญัติให้ สภาที่ปรึกษาฯ ประกอบด้วยสมาชิกจานวน 99 คน ที่ได้รับเลือกจากบุคคลที่เป็นตัวแทนของกลุ่มในภาคเศรษฐกิจ และกลุ่มในภาคสังคม ฐานทรัพยากร และผู้ทรงคุณวุฒิ ตามบัญชีท้ายพระราชบัญญัติดังกล่าว และมาตรา 6 ได้กาหนดเกี่ยวกับการสรรหาสมาชิกสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติที่มีกระบวนการและขั้นตอนการได้มาที่ยุ่งยากและซับซ้อนมากที่สุด


 

Article Details

How to Cite
kantaghit, pannarai . (2020). บทบัญญัติว่าด้วย “สภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ” ในรัฐธรรมนูญ. King Prajadhipok’s Institute Journal, 5(1). Retrieved from https://so06.tci-thaijo.org/index.php/kpi_journal/article/view/244677
Section
Original Articles