กว่าจะถึงการออกเสียงประชามติ...ก็ยังไม่สายเกินไป

Main Article Content

Ruangroj Gomsueb

Abstract

     ประเด็นที่กาลังอยู่ในความสนใจของสาธารณชนขณะนี้ ถ้าไม่นับสถานการณ์บ้านเมืองว่าด้วย รัฐบาลขิงแก่จะแก้ปัญหาภาวะชะลอตัวของเศรษฐกิจที่ตกสะเก็ดได้อย่างไรในเวลาที่เหลืออยู่อีกไม่กี่เดือนเรื่องของกระบวนการยกร่างรัฐธรรมนูญ และการออกเสียงประชามติก็อยู่ในความสนใจและลุ้นระทึกพอๆ กันโดยเฉพาะเรื่องรัฐธรรมนูญนั้น กรรมาธิการยกร่างผู้ทาคลอดร่างรัฐธรรมนูญฉบับยากต่อการทาความเข้าใจ ซึ่งตั้งแต่นี้ต่อไปคงจะต้องทาหน้าที่อธิบายความสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญที่เหลืออีก ๗๕ คน ที่ไม่ได้เข้าร่วมเป็นกรรมาธิการยกร่างให้เข้าใจก่อนใครเพื่อน จากนั้นก็ประชาชน และบรรดา ๑๒ องค์กร ที่จะต้องมีโอกาสได้รับทราบ คาชี้แจงว่าร่างรัฐธรรมนูญที่จัดทาขึ้นใหม่นี้ มีความแตกต่างจากรัฐธรรมนูญปี ๒๕๔๐ ในเรื่องใดพร้อมด้วยเหตุผลที่มีการแก้ไขเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม เพื่อจะได้ร่วมเสนอความคิดเห็นซึ่งทั้งหมดนี้ เรียนตรงๆทาได้ไม่ง่ายเลย


     ด้วยเหตุที่รัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราว พ.ศ. ๒๕๔๙ ได้เขียนผูกมัดไว้ เมื่อยกร่างเสร็จแล้วแทนที่จะให้นาเข้าสู่การพิจารณาให้ความเห็นชอบของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ แล้วประกาศใช้บังคับดังที่เคยเป็นมา ก็นาไปให้ประชาชนให้ความเห็นชอบโดยการออกเสียงประชามติ ทั้งๆที่มีระยะเวลาเผยแพร่เพียงแค่ไม่เกินสามสิบวัน นับตั้งแต่วันที่มีการเผยแพร่


     มองในแง่ดี ประชาชนคนไทยจะมีโอกาสได้ใช้สิทธิประชาธิปไตยทางตรงเป็นครั้งแรกในชีวิต และเป็นการใช้สิทธิอย่างสาคัญ เพราะจะต้องตัดสินใจว่าจะให้ความเห็นชอบ หรือไม่ให้ความเห็นชอบกับร่างรัฐธรรมนูญ ซึ่งเป็นกฎหมายสูงสุดของประเทศ และมีบทบัญญัติที่เกี่ยวข้องกับชะตาชีวิต สิทธิเสรีภาพ กระบวนการคัดเลือกตัวแทนมาใช้อานาจเพื่อจัดสรรทรัพยากร และประโยชน์สุขอย่างยุติธรรมแก่คนในชาติ พร้อมทั้งกาหนดมาตรการกลไกที่จะควบคุมการใช้อานาจมิให้ย่อหย่อนขาดประสิทธิภาพ และเกิดการทุจริตคอรัปชั่นได้


 

Article Details

How to Cite
gomsueb, ruangroj . . (2020). กว่าจะถึงการออกเสียงประชามติ.ก็ยังไม่สายเกินไป. King Prajadhipok’s Institute Journal, 5(1). Retrieved from https://so06.tci-thaijo.org/index.php/kpi_journal/article/view/244678
Section
Original Articles

References

สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง.การออกเสียงประชามติครั้งแรกของประเทศไทย. 2550. อัดสาเนา.

สำนักงานคณะกรรมการเลือกตั้ง. “สรุปสาระสาคัญการอภิปรายการออกเสียงประชามติครั้งแรกของประเทศไทย”, วารสารการเลือกตั้ง. 2550, หจก.สหายบล็อกและการพิมพ์.

วัชรพงษ์ จำปาวัน. วิทยานิพนธ์ เรื่องการออกเสียงประชามติในประเทศไทย ใน “การออกเสียงประชามติครั้งแรกของประเทศไทย”, 2550. อัดสาเนา.

Patric Royer. คำบรรยายใน การลงประชามติในประเทศแคนาดาและประเทศอื่นๆ. จัดทำโดยสถาบันพระปกเกล้าและสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร.

http://www.electionguide.org